บันทึกความเข้าใจไทย-กพช. 2543
โดย เสริมสุข กษิติประดิษฐ์
บันทึกความเข้าใจไทยกัมพูชาปี 2543 เป็นหนึ่งในเอกสารที่ทีมทนายความไทยใช้ทำความเข้าใจกับองค์คณะผู้พิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ต่อคำร้องของกัมพูชา ที่ขอให้ศาลใช้แนวเขตแดนตามแผนที่ฝรั่งเศสเป็นเส้นเขตแดนบริเวณปราสาทพระวิหาร ซึ่งคำร้องกัมพูชาขัดแย้งกับข้อความในบันทึกความเข้าใจที่ทั้งกัมพูชาและไทยยอมรับว่ายังมีปัญหาในเรื่องเขตแดนรอบปราสาทพระวิหาร ซึ่งท้ังสองฝ่ายต้องร่วมกันแก้ไขผ่านกลไกในบันทึกความเข้าใจ (MOU)
ในตอนหนึ่งของการชี้แจง กับองค์คณะผู้พิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ช่วงปลายเดือนพฤษภาคม ปี 2554 นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทุตไทยประจำกรุงเฮก ได้กล่าวถึงบันทึกความเข้าใจไทยกัมพูชา ปี 2543 หรือ MOU 43 ว่า เป็นเอกสารที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับว่ามีปัญหาเขตแดนบริเวณรอบปราสาท ที่ต้องร่วมกันแก้ไข
ระหว่างร่วมอภิปรายการตีความคดีปราสาทพระวิหาร ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ช่วงเดือนที่ผ่านมานายวีรชัย เปิดเผยได้นำรายละเอียดในเอมโอยู ทำความเข้าใจกับองค์คณะผู้พิพากษาศาล ต่อคำร้องกัมพูชาขอให้ศาลใช้แผนที่ฝรั่งเศส เป็นเส้นเขตแดนบริเวณปราสาท ซึ่งจะทำให้พื้นที่4.6ตารางกิโลเมตรของไทย ที่อยู่รอบบริเวณปราสาท ตกเป็นของกัมพูชา
วีรชัย พลาศรัย เอกอัคราชทุตไทย ประจำกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ กล่าวว่า ไทยใช้ เอ็มโอยู 43 เป็นหลักฐานอย่างนั้น เพื่อมุ่งแก้ปัญหาขัดแย้งตลอดพื้นที่ชายแดน รวมถึงบริเวณปราสาทพระวิหาร หลังกัมพูชาสร้างวัดและสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำอธิปไตยไทย ในช่วงก่อนหน้าปี 2543 กรรมาธิการเขตแดนร่วม หรือ JBC เป็นกลไกในเอมโอยูใช้สำรวจทำหลักเขต โดยใช้ทั้งแผนที่ของฝรั่งเศส และสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ปีคริสตศักราช 1904 ให้ยึดแนวสันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดน ประกอบการสำรวจทำหลักเขต อดีตผู้ประสานงานทนายความในคดีปราสาทพระวิหารเห็นว่า รัฐบาลควรพิจารณายกเลิกเอมโอยู 43 เนื่องจากกังวลว่า การยอมให้ใช้แผนที่ฝรั่งเศสจะทำให้เกิดความเสียหาย
นายณัฏฐวุฒิ โพธิสาโร รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า คาดว่าระหว่างการแถลงด้วยวาจาในสัปดาห์หน้า ทีมทนายความไทยจะอธิบายให้ศาลเห็นถึงข้อตกลงที่มีร่วมกันใช้กลไกเอมโอยูแก้ปัญหเขตแดน หวังหักล้างคำร้องกัมพูชาให้ศาลกำหนดเส้นเขตแดน ตามที่กัมพูชาเสนอให้ตีความ