ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

โครงการรถไฟความเร็วสูง "โอกาส"หรือ"ความเสี่ยง"

เศรษฐกิจ
19 เม.ย. 56
14:55
520
Logo Thai PBS
โครงการรถไฟความเร็วสูง "โอกาส"หรือ"ความเสี่ยง"

โครงการรถไฟความเร็วสูงเป็นหนึ่งในแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลที่จะใช้เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แต่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสม แม้รัฐบาลจะเห็นว่าคุ้มค่าและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ แต่นักวิชาการบางส่วน มองว่า อาจเป็นภาระหนี้ในอนาคต เพราะขาดศึกษาอย่างรอบคอบ และการเชื่อมต่อโครงข่ายอย่างเป็นระบบ

รถไฟขบวนปกติของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่วิ่งให้บริการที่ระดับความเร็วเฉลี่ย 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขณะที่รถไฟของหลายๆ ประเทศวิ่งด้วยความประมาณ 100 - 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ภายใต้แผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 7 ปี ของรัฐบาล เม็ดเงิน 2 ล้านล้านบาท จึงเน้นไปที่การพัฒนาระบบราง ทั้งรถไฟรางคู่และรถไฟความเร็วสูง แต่ก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากถึงความเหมาะสม ทั้งความคุ้มทุน และใครคือกลุ่มผู้โดยสาร ซึ่งทุกวันนี้ผู้ใช้บริการรถไฟยังคงเป็นผู้ที่มีรายได้น้อยถึงปานกลาง
 

<"">
 
<"">

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. กล่าวว่า โครงการลงทุนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 4 สายทาง จะใช้เงินลงทุน 783,229 ล้านบาท ทั้งการจ้างที่ปรึกษา เวนคืนที่ดิน ก่อสร้างและจัดหาระบบ

สำหรับค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงนั้น สนข.คิดอัตราค่าโดยสารตามแผนแม่บทที่ได้ศึกษาไว้ปี 2553 อยู่ที่ 2.50 บาท ต่อกิโลเมตร ถูกกว่าราคาที่ประเทศญี่ปุ่น และจีนศึกษาไว้เท่ากับว่า
ราคาตั๋ว กรุงเทพ-เชียงใหม่ ระยะทาง 745 กิโลเมตร ค่าโดยสารอยู่ที่ 1,862 บาท หรือ กรุงเทพ-หัวหิน ระยะทาง 225 กิโลเมตร ค่าโดยสารประมาณ 563 บาท

นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยหรือทีดีอาร์ไอ เห็นว่าการลงทุนรถไฟความเร็วสูงจะคุ้มค่าต้องมีระยะทางไม่สั้นหรือยาวเกินไป และเชื่อมต่อระหว่างเมืองเศรษฐกิจที่มีความจำเป็น
 
<"">
 
<"">

ขณะที่ รศ.ต่อตระกูล ยมนาค ประธานกลุ่มวิศวกรเพื่อชาติ เห็นว่า การลงทุนรถไฟความเร็วสูงอาจไม่คุ้มค่า แต่ควรลงทุนพัฒนาระบบรถไฟปัจจุบันให้ดีก่อน เช่น ทำรางคู่ทั่วประเทศเพื่อเพิ่มความเร็วของรถไฟที่ยังมีปัญหาล่าช้าจะเกิดประโยชน์มากกว่า

ทั้งนักวิชาการทีดีอาร์ไอ และนักวิชาการอิสระ ต่างมีความเห็นสอดคล้องกันว่า หากประเทศไทยจะลงทุนรถไฟความเร็วสูง จะต้องวางแผนเป็นระบบ และต้องเชื่อมประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อความคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ เพื่อไม่ให้ซ้ำรอย เหมือนอย่างโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ ที่ลงทุนกว่า 30,000 ล้านบาทแต่ขาดทุนต่อเนื่อง เป็นตัวอย่างของการขาดการวางแผนอย่างเป็นระบบจนกลายเป็นภาระของประเทศ


ข่าวที่เกี่ยวข้อง