ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ชาวแพร่พร้อมต่อต้านการก่อสร้างเขื่อนแม่น้ำยม

Logo Thai PBS
ชาวแพร่พร้อมต่อต้านการก่อสร้างเขื่อนแม่น้ำยม

ชาวบ้านในตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ยังคงเคลื่อนไหว ต่อต้านการก่อสร้างเขื่อนแม่น้ำยม และเขื่อนแม่น้ำยมตอนบน เพราะเชื่อว่ารัฐบาลยังไม่มีข้อมูลในการสร้างเขื่อนที่ชัดเจน และเสนอให้มีการพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำใน 77 ลุ่มน้ำแทน ขณะที่ กรมชลประทานเดินหน้าปฐมนิเทศโครงการ และจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น เพื่อกำหนดขอบเขต แนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสุขภาพในพื้นที่แล้ว

การปฐมนิเทศโครงการและเวทีรับฟังความคิดเห็นในการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โครงการศึกษาความเหมาะสมวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเขื่อนแม่น้ำยม และเขื่อนแม่น้ำยมตอนบน จังหวัดแพร่ ที่จังหวัดสุโขทัยในวันนี้ ก่อนจะมีการจัดขึ้นอีก 2 ครั้ง ในจังหวัดพะเยา และ แพร่ ในวันที่ 10 และ 14 พฤษภาคม ถือเป็นความเคลื่อนไหวล่าสุด หลัง ประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย หรือ กบอ. ประกาศจะสร้างเขื่อนทั้ง 2 แห่ง ทดแทนเขื่อนแก่งเสื้อเต้น ที่ถูกต่อต้านมากว่า 20 ปี 

 
การเดินหน้าก่อสร้างเขื่อนยมบนและ เขื่อนยมล่าง สร้างความมั่นใจกับชาวบ้านในพื้นที่ลุ่มน้ำยม ตอนล่าง ว่า พวกเขาจะไม่ต้องประสบกับ ภัยแล้ง และ น้ำท่วม เหมือนเช่นที่ผ่านมา
 
<"">
 
<"">

แต่สำหรับกลุ่มชาวบ้านตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน พวกเขายังคงเคลื่อนไหวต่อต้าน ล่าสุดได้ให้ข้อมูลแก่ กรรมาธิการศึกษาตรวจสอบทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา และกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา โดยยืนยันว่า ข้อมูลภาครัฐ ไม่ชัดเจน พร้อมยืนยันให้มีการพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำใน 77 ลุ่มน้ำแทนการสร้างเขื่อน
 
แม่น้ำยมเป็นแม่น้ำเพียงสายน้ำเดียวของประเทศ ที่ไม่มีเขือนใหญ่ขวางกั้น ที่ผ่านมา ภาครัฐเสนอให้มีการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น บริเวณเหนือจุดบรรจบแม่น้ำยม และแม่น้ำงาว ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ยม เพื่อการชลประทาน แต่ถูกต่อต้านโดยบอกว่าจะทำให้น้ำท่วมชุมชน และ ป่าสักทองพืนสุดท้ายของไทย
 
สำหรับ เขื่อนแม่น้ำยมตอนบน จะตั้งอยู่ห่างจากจุดสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นไปทางทิศเหนือ 25 กิโลเมตร และ เขื่อนแม่น้ำยมล่าง ห่างจากจุดสร้างแก่งเสือเต้น ไปทางทิศใต้ 12 กิโลเมตร / แม้เขื่อนยมบนและล่างจะส่งผลกระทบน้อยกว่าเขื่อนแก่งเสือเต้น แต่การเก็บกักน้ำจะลดลงถึงร้อยละ 50 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง