เนื่องจากกระบวนการจัดการข้าวในโรงสีแบ่ง 2 ส่วน ซึ่งนายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี ระบุว่ากระบวนการอบ หรือรมข้าว มีการใช้สารเคมีซึ่งถือเป็นช่วงอันตราย หากมีสัตว์อยู่ในโรงสีช่วงนั้นก็เป็นไปได้ที่จะพบสัตว์ตาย แต่เมื่อทิ้งไว้ระยะหนึ่งสารจะระเหยไป ดังนั้นความปลอดภัยที่สำคัญ คือการตรวจสอบว่ามีปริมาณสารตกค้างมากน้อยเพียงใด
กระแสข่าวต่างๆ ทำให้ประชาชนไม่เชื่อข้อมูลจากภาครัฐ ซึ่งผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี แนะนำว่านอกจากต้องมีกระบวนการตรวจสอบที่เปิดเผย โปร่งใสแล้ว หน่วยงานรัฐ หรือเอกชนอาจต้องให้บุคคลที่สามได้ร่วมด้วย และต้องทำอย่างกว้างขวางครอบคลุมกลุ่มตัวอย่างข้าวสารที่มีการบริโภค
ส่วนการตรวจสอบของมูลนิธิชีววิถี ยอมรับว่าทำไม่ครอบคลุมถึงกลุ่มตัวอย่างข้าวที่เป็นตลาดล่าง ขณะที่ข้าวถุงที่ส่งตรวจคาดว่าจะได้ผลสรุปครบทุกตัวอย่างไม่เกินสัปดาห์นี้ โดยตั้งประเด็นตรวจสอบ 3 เรื่อง คือ สารเคมีตกค้างจากกระบวนการผลิต ตรวจสอบการตกค้างของเมททริลโบรไมล์ ตรวจสอบเชื้ออะฟาท๊อกซิน ซึ่งตัวอย่างทั้งหมดส่งตรวจในห้องปฏิบัติการณ์ของเอกชน และภายใต้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล