<"">
กระแสการเคลื่อนไหว ต่อต้าน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ขยายวงไปกว้างขวาง หลากหลายอาขีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเคลื่อนไหวผ่านโซเชียล มีเดีย จนมีผู้ติดตามจำนวนมาก เรียกว่ามีบทบาทในการชี้นำความคิดของคนในสังคม
ล่าสุด ดร. เดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้อำนวยการ ของมูลนิธิสุขภาวะ เสนอแนวคิดผ่านสื่อออนไลน์ ถึงวิกฤติการเมืองไทยไว้อย่างน่าสนใจ
"เมื่อถึงจุดหนึ่งที่ความไว้วางใจของประชาชนต่อรัฐบาลลดน้อยลง ก้หนีไม่พ้นการยุบสภา ซึ่งแนวทางดังกล่าวเป็นการหาทางออกตามระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะกรณีการผ่านกฎหมาย ที่เมื่อผ่านชั้นการพิจารณาของ ส.ส. เข้าสู่ ชั้นการพิจารณาของ ส.ว. และถูกคว่ำกฎหมายก็ควรที่จะยุบสภา ซึ่งหากเป็นต่างประเทศไม่จำเป็นต้องมีการชุมนุมก็จะยุบสภาแล้ว ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเสียงข้างมาในสภาฯนั้นขัดกระบวนการอื่น ๆ อย่างสิ้นเชิง ในต่างประเทศจึงมีการยุบสภาเพื่อให้กระบวนการที่ได้มาซึ่งเสียงข้างมากทั้งในสภาและรัฐบาลได้คืนการตัดสินใจกลับไปยังประชาชน " ดร.เดชรัต ระบุ
ขณะเดียวกัน ดร.เดชรัต ยังแสดงความคิดเห็นถึงกรณีแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ได้ลาออกจากเป็น ส.ส.ทั้ง 9 คนนั้น มองว่ามันเป็นสิทธิ ซึ่งไม่ถือว่าผิด แต่ยังกังวลท่าทีการเคลื่อนไหวเนื่องจากยังไม่มีความชัดเจน ว่าต้องเรียนเรียกร้อง คัดค้าน ร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม หรือ การขับไล่รัฐบาล หากเป็นการขับไล่รัฐบาลก็อาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งที่เพิ่มขึ้น