ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

7 องค์เอกชนเผยถกเวทีกลางจุดเริ่มเสนอ "ทางเลือก" แก้วิกฤตประเทศ-ไม่ใช่ตัวกลาง

เศรษฐกิจ
13 ธ.ค. 56
07:26
91
Logo Thai PBS
7 องค์เอกชนเผยถกเวทีกลางจุดเริ่มเสนอ "ทางเลือก" แก้วิกฤตประเทศ-ไม่ใช่ตัวกลาง

7 องค์กรภาคเอกชนหารือทางออกประเทศ ชี้ถกเพื่อเสนอทางเลือก ไม่ใช่ทางออก ย้ำเป็นเวทีกลาง ไม่ใช่ตัวกลางประสานคู่ขัดแย้ง

วันนี้ (13 ธ.ค.) การประชุมหารือหาทางออกประเทศไทยครั้งแรกของ 7 องค์กรภาคเอกชน ได้แก่ สภาหอการค้าไทย, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, สมาคมธนาคารไทย, สมาคมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, สมาคมตลาดทุน และสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย นายวิชัย อัศรัสกร รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวย้ำถึงการหารือในครั้งนี้ ไม่ใช่การประชุมเพื่อหาทางออกให้แก่ประเทศ แต่เป็นการประชุมเพื่อเสนอทางเลือกเท่านั้น โดยนำเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาจากประสบการณ์ความขัดแย้งในการทำธุรกิจมาแลกเปลี่ยน ซึ่งยอมรับว่าเป็น "เวทีกลาง" ไม่ใช่ "ตัวกลาง" ซึ่งต้องการให้ประชาชนยอมรับ และพร้อมนำทางเลือกเพื่อช่วยลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้น 

 
  
ทั้งนี้ ภาคธุรกิจ พร้อมพูดคุยกับทุกการเมืองอื่น ๆ หรือภาคส่วนอื่น ๆ เช่น กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งขาติ (นปช.) ด้วยเช่นเดียวกันกับการหารือกับกลุ่มกปปส. เมื่อวานนี้ (12 ธ.ค.)  อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ อาจจะมีการพูดคุยอีกครั้ง เนื่องจากการหารือเพียงครั้งเดียวยังไม่สามารถสรุปทางออก หรือทางเลือกได้ในครั้งเดียว เพราะต้องการให้ผลสรุปออกมาอย่างสมดุล และมีควมสมบูรณ์มากที่สุด รวมถึงต้องไม่ใช่การชี้นำสังคม อีกทั้ง ภาคธุรกิจไม่ต้องให้ประเทศก้าวไปสู่สภาวะไร้ความหวัง จึงต้องรีบช่วยกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
 
ด้านศ.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ในฐานะผู้ดำเนินการเสวนาในครั้งนี้ ระบุว่า สิ่งที่เห็นการหารือครั้งนี้ คือ ความพยายามของภาคเอกชนทั้ง 7 สถาบัน ที่ต้องการสร้างเวทีกลาง ที่ไม่ใช่ตัวกลาง ซึ่งสังคมนั้นจำเป็นต้องมี โดยการเสนอทางเลือกของการแก้ปัญหาของกลุ่มธุรกิจนั้นน่าสนใจ เนื่องจากเป็นการนำแนวการแก้ไขจากที่ความขัดแย้งของธุรกิจใช้ 

    

 
ขณะเดียวกัน สิ่งที่เห็นว่าควรต้องมีเพิ่มในการแก้ปัญหาครั้งนี้ ศ.ชัยวัฒน์ กล่าวว่า การพัฒนาการฟังนั้นสมควรได้รับการพัฒนา เนื่องจากจะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในการแก้ปัญหา เหมือนกับการเอาใจเขามาใส่ใจเรา ขณะเดียวกัน สิ่งที่ต้องถกเถียงกันต่อ คือ ประเด็นของกำหนดกติกาขึ้นมาใหม่ ทั้งที่มาของอำนาจ และการใช้อำนาจ ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย ก่อนจะนำไปสู่การแก้ไข
 
 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง