ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"แรงงาน" จ่อปรับเพิ่ม 39 อาชีพสงวนห้ามแรงงานข้ามชาติ

สังคม
13 ก.ค. 60
13:38
594
Logo Thai PBS
"แรงงาน" จ่อปรับเพิ่ม 39 อาชีพสงวนห้ามแรงงานข้ามชาติ
ผู้ประกอบการ สะท้อนข้อกังวลต่ออนุบัญญัติอาชีพสงวนที่ห้ามแรงงานข้ามชาติทำ 39 อาชีพ ต่อปลัดกระทรวงแรงงาน คาดเตรียมปรับแก้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน พร้อมทำความเข้าใจเลื่อนบังคับใช้ 4 มาตราของกฎหมายแรงงานต่างด้าวฉบับใหม่ออกไป 6 เดือน

วานนี้ (12ก.ค.2560) ม.ล.ปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน เชิญผู้ประกอบการกลุ่มต่างๆ มาพบปะเพื่อชี้แจง รับฟังข้อคิดเห็นและตอบข้อซักถามเกี่ยวกับแนวปฏิบัติ กรณีได้รับผลกระทบจาก พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ประกอบการและสมาคมต่างๆ กังวลต่ออนุบัญญัติอาชีพสงวนที่ห้ามต่างด้าวทำ 39 อาชีพที่สะท้อนมายังกระทรวงแรงงาน ซึ่งปลัดกระทรวงแรงงานระบุว่า ขณะนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างเร่งดำเนินการปรับปรุงเพื่อให้เกิดความชัดเจนภายใน 120 วัน ก่อนจะประชาสัมพันธ์ให้ทราบอีกครั้ง

โดยการตีความกรณี งานประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย ก็มีการตีความรวมไปถึงธุรกิจเสื้อผ้าสำเร็จรูป (การ์เมนต์) ซึ่งอาจจะต้องมีการมาทำให้คำต่างๆ นั้นชัดเจนขึ้น โดยอาจห้ามเฉพาะเรื่องของประดิษฐ์เสื้อผ้าชุดไทยในเชิงอนุรักษ์หรือไม่ ส่วนกรณีอาชีพกรรมกร ที่ปลดล็อกอนุญาตให้ต่างด้าวสามารถทำได้ ก็มีการตีความว่าต้องเป็นเรื่องแบกหามอย่างเดียว ห้ามแตะงานฝีมือเช่น ช่างอิฐ ฉาบ เชื่อม เป็นต้น ในข้อเท็จจริงก็สามารถทำได้

 

ส่วนเรื่องแนวปฏิบัติในการขึ้นทะเบียนแรงงานข้ามชาติหลังจากมีประกาศกระทรวงแรงงานที่ออกมารองรับมาตรา 44 จะมีการแบ่งต่างด้าวออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มผิดนายจ้าง สามารถมาแจ้งปรับเปลี่ยนนายจ้างได้เลยที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดในพื้นที่ที่ทำงาน

2.กลุ่มมีพาสปอร์ต มีวีซ่า แต่ยังไม่ขอใบอนุญาตการทำงานภายใน 15 วัน ก็สามารถขอใบอนุญาตทำงานได้เลย

3.กลุ่มนายจ้างขอโควตาเพื่อนำเข้าตาม MOU ก็ดำเนินการตามปกติได้

4.กลุ่มแรงงานผิดกฎหมาย ไม่มีเอกสารอะไรเลย หรือมีบางส่วนแต่ไม่ถูกต้อง ซึ่งมีมากที่สุดและเป็นกลุ่มใหญ่ จะให้มายื่นเอกสารที่ศูนย์เฉพาะกิจรับแจ้งการทำงานต่างด้าว ระหว่างวันที่ 24 ก.ค. - 7 ส.ค. เพื่อมาพิสูจน์ความเป็นนายจ้างลูกจ้าง และออกเอกสารรับรองให้ไปทำเอกสารรับรองบุคคล (ซีไอ) และเข้าสู่ระบบการขออนุญาตทำงานตามปกติ คือขอวีซ่า การตรวจสุขภาพ และใบอนุญาตทำงาน ซึ่งใช้ระยะเวลาไม่นานและค่าใช้จ่ายไม่มาก ก็เข้าสู่ระบบได้อย่างถูกต้อง เชื่อว่าจะสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้มาก

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง