ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ผู้ประกอบการรับมือแรงงานขาดแคลน-ค่าแรงพุ่ง

เศรษฐกิจ
17 ก.ย. 60
19:12
920
Logo Thai PBS
ผู้ประกอบการรับมือแรงงานขาดแคลน-ค่าแรงพุ่ง
แม้ที่ผ่านมารัฐบาลจะมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำจากวันละ 300 เป็น 310 บาท แต่คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยก็เสนอให้ปรับค่าแรงเป็นวันละ 600-700 บาท ผู้ประกอบการระบุว่าจะกระทบธุรกิจอย่างรุนแรง และเชื่อว่าจะไม่สามารถแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานได้

โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ บนพื้นที่ 14 ไร่ ถนนพระราม 4 ที่รวมเอาอาคารสำนักงาน ร้านค้า รวมไปถึงโรงแรมไว้ด้วยกัน โครงการแห่งนี้ต้องอาศัยแรงงานก่อสร้างถึง 1,200 คน จากปัจจุบันที่มีคนงานกว่า 500 คน

นายสถาพร งามเดโช ผู้จัดการโครงการก่อสร้างสามย่าน มิตรทาวน์ ระบุว่า ปัญหาขาดแคลนแรงงาน ทำให้จำเป็นต้องพึ่งพาแรงงานต่างด้าว ทั้งจาก กัมพูชา และ พม่า โดยบริษัท จ่ายค่าจ้างตามกฎหมายกำหนด แต่หากเป็นแรงงานมีฝีมือก็จะได้รับการปรับเพิ่มตามความเหมาะสม

ส่วนกรณีที่คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยและแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรียกร้องให้มีการปรับค่าแรงขั้นต่ำจากวันละ 310 บาท เป็นวันละ 600-700 บาทนั้น จะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจอย่างรุนแรง

ต่างจากความเห็นของ นายสิทธิพงษ์ สิทธิพัฒนา ผู้ใช้แรงงาน ที่ระบุว่า แม้ได้รับค่าจ้างวันละ 350 บาทสูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำ แต่เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายก็ไม่เหลือเก็บ จึงต้องการให้มีการปรับเพิ่ม

ขณะที่ ผู้บริหารโครงการสามย่าน มิตรทาวน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาของผู้ประกอบการขณะนี้คือขาดแคลนแรงงานและอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นจึงต้องเตรียมแผนรองรับ

ผลสำรวจของธนาคารโลก ระบุว่า ธุรกิจในประเทศไทยประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานเป็นอันดับ 1 เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในประชาคมอาเซียน ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาโครงสร้างการ จึงต้องวางแผนผลิตแรงงานให้ตรงกับความต้องการ ทิศทางการพัฒนาของประเทศ และ การพิจารณาค่าจ้างให้สอดคล้องกับความสามารถแรงงาน

หม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน ระบุว่า ในเดือนนี้จะมีการสัมมนาคณะอนุกรรมการค่าจ้างแต่ละจังหวัด ซึ่งจะมีผู้แทนนายจ้าง ลูกจ้าง ผู้เชี่ยวชาญ ร่วมกันกำหนดสูตรการคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำก่อนจะมีการปรับอัตราค่าจ้างในเดือน ต.ค.นี้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง