แม้ไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์ในปี 2568 แต่นายรพี สุจริตกุล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แสดงความเป็นห่วงมนุษย์เงินเดือนว่าเสี่ยงจะมีชีวิตในวัยเกษียณอย่างยากลำบาก
หลังผลการศึกษาพบว่า เงินออมวัยเกษียณสำหรับมนุษย์เงินเดือน ควรมีไม่น้อยกว่า 2.1-3.3 ล้านบาท สำหรับการใช้ชีวิตอยู่อย่างปกติ แต่ยอดสมาชิกในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งระบบ กลับมีเพียงประมาณ 3 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 21.5 ของแรงงานในระบบจากจำนวนนายจ้างกว่า 17,000 บริษัท หรือร้อยละ 2.8 ของนิติบุคคลทั้งหมด
นอกจากนี้ พนักงานบริษัทเหล่านี้ไม่ได้ใส่ใจการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แต่ปล่อยให้คณะกรรมการบริหารกองทุนบริษัทเป็นผู้ตัดสินใจแทน ซี่งมักลงทุนอย่างระมัดระวัง จนขาดการคำนึงถึงผลตอบแทนที่เหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจ โดยมีสัดส่วนการลงทุนในตลาดตราสารหนี้ ซึ่งให้ผลตอบแทนต่ำ คิดเป็นร้อยละ 84-85 แต่สัดส่วนการลงทุนในตลาดทุนเพียงร้อยละ 16-17 เท่านั้น
ส่วนการบังคับใช้พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญ (กบช.) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในปี 2561 โดยกำหนดให้ผู้ประกอบการทุกแห่งต้องจัดตั้งกองทุนสำรองเลึ้ยงชีพ จึงเตรียมร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและสมาคมจัดการกองทุน เดินสายให้ความรู้ทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างตามบริษัทต่างๆ เพื่อสร้างควาทตื่นตัวในการวางแผนเงินออมในวัยเกษียณ