กองทุนประกันสังคม มีปัญหาเรื่อง แรงงานน้อยลง ส่งเงินเข้าระบบน้อยลง กองทุนเผชิญความเสี่ยงไปต่อไม่ได้ อาจจะล้มละลายในอีก 30 ปี ส่วนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่มีกฎหมายตราออกมาส่งเสริมการออมของแรงงาน ก็ยังมีผลตอบแทนต่ำเตี้ยเรี่ยดิน คำถามก็คือ ? แล้วรัฐจะบริหารเงิน "สลากเกษียณ" ตรงนี้ให้มั่นคง คืนได้ ไม่ล้ม อย่างไร ?
ในช่วงที่ผ่านมา รายการเศรษฐกิจติดบ้านได้จัดงานเสวนาขึ้นในหัวข้อ “แนะกลยุทธ์สู่ความมั่งคั่งฉบับมนุษย์เงินเดือน” โดยมีวิทยากรผู้มากประสบการณ์ทางด้านเศรษฐศาสตร์และแวดวงการเงิน ประเด็นแรกที่เราพูดคุยกัน คือเรื่อง “การบริหารการเงินอย่างไรให้พอใช้ในวัยเกษียณ” หลายคนอาจจะรู้สึกว่าเงินที่ใช้ในแต่ละเดือนยังไม่พอเลย แล้วจะเก็บออมได้อย่างไร ?
หากพูดถึงเงินออมในผู้สูงอายุ ไม่ใช่ว่าทุกคนจะมีเงินในส่วนนี้ หลายคนได้เงินก้อนในวัยเกษียณ แต่หากไม่รู้จักการบริหารจัดการเงินที่ดี หรือไม่มีเงินออมอื่น ๆ อาจเกิดปัญหาขึ้นมาได้ หลายคนตระหนักเรื่องเงินออมเมื่ออายุมากแล้ว ทางภาครัฐจึงมีกลไกเข้ามาตอบโจทย์ คือ กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) แล้วกองทุนนี้จะช่วยเหลือผู้สูงอายุได้อย่างไร ?
บางคนรายได้ไม่สอดคล้องกับรายจ่าย จนเกิดกระแสในโลกโซเชียลว่า รายได้ไม่ถึงสองหมื่นบาท จะอยู่รอดในกรุงเทพฯ เมืองที่มีค่าครองชีพสูงเป็นอันดับสองของอาเซียนได้อย่างไร ติดตามชมประเด็นรู้เท่ารู้ทัน ในช่วง "วันใหม่ ไทยพีบีเอส" วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์นี้ ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live