"คุณคิดว่าการเคลื่อนไหวทางสังคมที่สำคัญที่สุดในรุ่นของคุณคือเรื่องใด" เป็นคำถามสั้นๆ ที่ต้องคิดหนัก เพราะขึ้นอยู่กับมุมมองทางสังคมของผู้ตอบด้วย แต่สำหรับ "มารีญา พูนเลิศลาภ" ตัวแทนของประเทศไทย ที่ตอบถึงการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมผู้สูงวัย ควรขับเคลื่อนด้วยเยาวชนคนรุ่นใหม่
หลังจากนั้นเพียงไม่กี่นาที สังคมโซเชียลก็เลือกจะตอบคำถามแทนในหลากหลายแง่มุม แต่สิ่งที่น่าสนใจคือการอธิบายถึงความหมายของคำว่า "Social Movement"
โดยศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธร ให้คำจำกัดความการเคลื่อนไหวทางสังคมว่า เป็นการรวมกลุ่มของคนที่มีเป้าหมายเดียวกัน ที่อยากเปลี่ยนแปลงสังคมไม่ว่าจะเป็นประเด็นการเมือง สิ่งแวดล้อม พลังหญิง หรือกลุ่มเพศทางเลือก และยังเน้นย้ำว่า Social Movement จะเกิดขึ้นได้ในสังคมเสรีนิยม ประชาธิปไตย ที่ให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ ซึ่งประเด็นนี้ยังทำให้เกิดกระทู้บนเว็บบอร์ดจำนวนมาก ที่วิเคราะห์คำตอบของนางงามตัวแทนประเทศไทย
หากพูดถึง Social Movement ที่เห็นภาพชัดเจน ตัวอย่างคือ โครงการก้าวคนละก้าว โปรเจควิ่งของ "ตูน บอดี้สแลม" ที่รณรงค์เรื่องระบบสาธารณสุขของไทย จนในปี 2559 ได้เกิดเป็น "บางสะพานโมเดล" จากการวิ่งระดมทุนหารายได้ช่วยโรงพยาบาล ขณะที่ปี 2560 ตั้งเป้าใหญ่กว่าเดิม ด้วยการวิ่งจากใต้จรดเหนือ ด้วยระยะทาง 2,000 กิโลเมตร ระดมทุนหารายได้ช่วยเหลือโรงพยาบาลศูนย์ 11 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งผลตอบรับรายวันทำให้เห็นพลังของการรณรงค์ที่เกิดขึ้นรายทาง
หลายปีหลังมานี้ การตั้งคำถามบนเวทีมิสยูนิเวิร์สยังสะท้อนถึงกองประกวดที่ให้ความสำคัญในเชิงสังคม โดยเวทีนางงามระดับโลกดูจะวางจุดยืนไว้ไกลกว่านั้นด้วยการวัดทัศนคติ ไอคิวของสาวงาม และไลฟ์สไตล์เพื่อสังคมที่เข้มข้น โดยเฉพาะการเข้าใจถึงกระแสความเป็นไปของโลกที่สามารถวัดกึ๋นกันในนาทีสุดท้าย
อ่านข่าวเพิ่มเติม
วิเคราะห์กระแสเวทีขาอ่อนโลก หลังการประกวดนางงามจักรวาลครั้งที่ 66
"มารีญา" กับตำแหน่ง 5 คนสุดท้ายเวทีมิสยูนิเวิร์ส
"มารีญา"ขอโทษคนไทยที่ทำให้ผิดหวัง
"แอฟริกาใต้" คว้ามงกุฎมิสยูนิเวิร์สคนที่ 66
สาวงามเอเชีย-อาเซียน ขั้วอำนาจใหม่วงการขาอ่อนโลก
สื่อเก่า vs สื่อใหม่ บทบาทที่เปลี่ยนไปของการรายงานข่าวนางงาม
ชวนคนไทยโหวต "มารีญา" เข้ารอบ Semifinal เวทีมิสยูนิเวิร์ส 2017
ชุดประจำชาติไทย "เมขลาล่อแก้ว" เรียกเสียงชื่นชมบนเวทีมิสยูนิเวิร์ส