นางสาวกัณวีร์ กนิษฐพงศ์ ผู้จัดการศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หากจำกัดการใช้ความเร็วบนท้องถนนได้ จะทำให้สถิติอุบัติเหตุทางถนนลดลง แต่ปัจจุบันเครื่องตรวจจับความเร็วในไทยยังมีไม่เพียงพอทำให้การบังคับใช้กฎหมายไม่มีประสิทธิภาพ ขณะที่เครื่องตรวจจับความเร็ว ที่ใช้จับกุมผู้กระทำผิดจำเป็นต้องถ่ายภาพได้ด้วย เพื่อนำมาใช้เป็นหลักฐานการดำเนินคดี และลดข้อโต้แย้งกับผู้ขับขี่
นอกจากนี้ ภาคีป้องกันอุบัติเหตุยังเสนอให้รัฐบาลเดินหน้าจัดซื้อเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพราคาเหมาะสม พร้อมประสานหน่วยงานกลางร่วมตรวจสอบการจัดซื้อให้โปร่งใส
ปัจจุบันมีเครื่องตรวจจับความเร็วอยู่หลายประเภท เช่น กล้องตรวจจับความเร็วแบบประจำที่ ข้อดี คือ ตรวจจับความเร็วได้ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน กล้องตรวจจับความเร็วแบบเคลื่อนที่มีข้อดี คือ สามารถเปลี่ยนจุดได้ ทำให้ผู้ขับขี่เกิดความกังวลว่าจะถูกจับและกล้องตรวจจับความเร็วแบบวัดความเร็วเฉลี่ย ทำให้ผู้ขับขี่ไม่สามารถขับรถเร็วได้ตลอดระยะทางที่มีการติดตั้งกล้องไว้
ที่ผ่านมาการจัดซื้อเครื่องตรวจจับความเร็วของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย แต่กระทรวงทหาดไทยได้ชะลอการจัดซื้อจัดจ้างออกไป หลังเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่าซื้อเครื่องในราคาที่แพงเกินจริง