ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

จำกัดคนดูแล "มาเรียม" ให้ปรับตัว-อยู่รอดในธรรมชาติ

สังคม
21 มิ.ย. 62
17:38
2,267
Logo Thai PBS
จำกัดคนดูแล "มาเรียม" ให้ปรับตัว-อยู่รอดในธรรมชาติ
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน ปรับแผนจำกัดจำนวนคนดูแลมาเรียมเพื่อเตรียมพร้อมก่อนหย่านม โดยให้ปรับพฤติกรรมและเอาตัวรอดได้ในธรรมชาติ

วันนี้ (21 มิ.ย.2562) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทีมสัตวแพทย์และอาสาสมัครต้องทำงานอย่างหนักในการอนุบาลพะยูนมาเรียม บริเวณอ่าวดูหยง ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง โดยเข้าเวรกันรายสัปดาห์ ตั้งแต่เวลา 06.00-19.00 น. เพื่อตรวจสุขภาพ ป้อนนม และป้อนหญ้าให้กับมาเรียม ซึ่งการทำงานมีปัจจัยเสี่ยงทั้งการถูกพิษแมงกะพรุนกล่อง หินบาด รวมทั้งต้องระวังปลากระเบน

นายก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน เปิดเผยว่า ทีมสัตวแพทย์ประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายากและอาสาสมัคร ต้องทำงานทั้งช่วงน้ำขึ้น-น้ำลง และช่วงน้ำทะเลหนุนสูง หรือเกิดคลื่นลม

ภาพ : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)

ภาพ : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)

ภาพ : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)

 

ส่วนกรณีที่หลายฝ่ายเป็นห่วงว่าเมื่อมาเรียมเติบโตมากับคนจะอยู่ในธรรมชาติได้หรือไม่นั้น หลังจากนี้จะใช้มาตรการจำกัดจำนวนคนที่ดูแลและสัมผัสใกล้ชิดพะยูนให้น้อยที่สุด เพื่อเตรียมความพร้อมให้สามารถช่วยเหลือตัวเองและเอาตัวรอดได้ในวันที่ต้องหย่านมและแยกจากคน เชื่อว่ามาเรียมจะค่อย ๆ ปรับตัวได้ แม้จะไม่เป็นไปตามธรรมชาติทั้งหมด อีกทั้งมาเรียม เป็นพะยูนเพศเมีย ในอนาคตอาจจะพบพะยูนเพศผู้ และสามารถเข้าฝูงได้ง่ายกว่าพะยูนตัวผู้ ซึ่งจะถูกกีดกันหรือถูกตัวผู้ด้วยกันไล่กัด เพราะแย่งตัวเมียกัน

ขณะที่ปัญหาการเกยตื้นที่ก่อนหน้านี้เกิดขึ้นติดต่อกัน 4 คืน ล่าสุดเมื่อคืนที่ผ่านมา (20 มิ.ย.) มาเรียมสามารถว่ายน้ำอยู่ได้โดยไม่เกยตื้น เจ้าหน้าที่จึงไม่ได้เข้าไปจับ เพียงแต่เฝ้าระวังไม่ให้ตัวไปครูดกับโขดหิน

 

ภาพ : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)

ภาพ : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)

ภาพ : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)

 

ออกระเบียบ 6 ข้อ ป้องกันรบกวนมาเรียม

ก่อนหน้านี้ นักวิชาการและกรมอุทยานฯ ทช.ได้ออกกฎระเบียบในการปฏิบัติงาน และการเข้ามาดูมาเรียมอย่างเคร่งครัด เพราะบางครั้งมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเป็นหมู่คณะ 10-20 คน พบว่าส่งเสียงดังและอาจจะกระทบกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และตัวมาเรียมเอง 

1. จำกัดจำนวนคนที่เข้ามาหามาเรียมไม่เกิน 4 คนต่อครั้ง (รวมเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานอยู่แล้ว)
2. ห้ามใช้แฟลชในการถ่ายภาพน้องมาเรียม เนื่องจากอาจทำให้สัตว์เกิดความเครียดได้
3. การถ่ายภาพมาเรียมไม่อนุญาตให้ถ่ายในท่าทางที่ผิดธรรมชาติของพะยูน หรือให้เจ้าหน้าที่อุ้มขึ้นมาเหนือน้ำเพื่อถ่ายภาพ
4. ปฏิบัติตามที่สัตวแพทย์ในพื้นที่ในช่วงเวลานั้น ๆ แนะนำเท่านั้น
5. ผู้ที่สัตวแพทย์อนุญาตให้ลงปฏิบัติงานพร้อมกัน ต้องลงน้ำด้วยความสงบไม่ส่งเสียงดัง และไม่เดินเข้าทางด้านหน้าของมาเรียม
6. การซักถามเจ้าหน้าที่ ขอความร่วมมือให้ดำเนินการในช่วงเวลานอกเหนือจากการปฏิบัติงาน เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนเจ้าหน้าที่ขณะปฏิบัติงาน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เกาะลิบง จ.ตรัง บ้านใหม่พะยูน "มาเรียม" 

"มาเรียม" ตำราเล่มใหม่ "คนเลี้ยงพะยูน" 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง