ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

คลังประชุมปฏิรูปภาษีนัดแรก 30 ส.ค.นี้

เศรษฐกิจ
26 ส.ค. 62
17:29
1,342
Logo Thai PBS
คลังประชุมปฏิรูปภาษีนัดแรก 30 ส.ค.นี้
รมว.กระทรวงการคลัง ตั้ง"ปลัดกระทรวงการคลัง" ประธานคณะทำงานศึกษาลดภาษีบุคคลธรรมดา 10% ประชุมนัดแรก ศุกร์นี้ ขณะที่ อธิบดีกรมสรรพากร ตั้งข้อสังเกต การลดภาษีอาจเพิ่มความเหลื่อมล้ำ หากไม่ปฏิรูปโครงสร้้างภาษีทั้งระบบ

สื่อข่าวรายงานว่าวันนี้ (26 ส.ค.2562) นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ประชุมมอบนโยบายต่อกรมจัดเก็บรายได้ครั้งแรก

 

โดยนายอุตตม  กล่าวว่า ได้มอบหมายปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานคณะทำงานศึกษาแนวทางปฏิรูปโครงสร้างภาษี รวมทั้งศึกษาความเป็นไปได้ ในการผลักดันนโยบายภาษี ตามที่พรรคพลังประชารัฐเคยหาเสียงไว้ ทั้ง การลดบุคคลธรรมดา ร้อยละ 10  การลดภาษีผู้ค้าออนไลน์ 2 ปี และยกเว้นการจัดเก็บภาษีผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ 5 ปี ซึ่งจะประชุมนัดแรก ในวันศุกร์ที่ 30 สิงหาคมนี้

เวลาหาเสียงเลือกตั้ง เราไม่ได้พูดทั้งหมดหมดว่าจะลดภาษี บุคคล 10% อย่างไร ต้องไปดูเป็นรายตัวด้วย แต่มีพูดเหมือนกันนะว่า ต้องปฏิรูปโครงสร้างภาษี

นายอุตตม กล่่าวอีกว่า รัฐบาล จำเป็นต้องปฏิรูปโครงสร้างภาษี เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ แต่ขอเวลาศึกษาแนวทางดำเนินการ ผลกระทบ หากผลักดันนโยบายหาเสียงทั้งหมด และต้องตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ประเทศด้วย

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาส อธิบดีกรมสรรพากร ยืนยันว่า การลดภาษีบุคคลธรรมดา ร้อยละ 10 ทันที จะกระทบการจัดเก็บรายได้ และเสถียรภาพทางการคลัง เพราะรายได้จากภาษีบุคคลธรรมดา คิดเป็นร้อยละ 17 ของรายได้ทั้งหมด หรือประมาณ 4 แสนล้านบาท

พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า การลดภาษีบุคคลธรรมดา จะต้องดำเนินการอย่างระมัดระวัง เพราะทุกวันนี้ รายได้จากภาษีบุคคลธรรมดา ส​่วนใหญ่มาจาก คนรวยสุดของประเทศ ร้อยละ 3 คิดเป็นร้อยละ 72 ของผู้เสียภาษีบุคคลธรรมดาทั้งหมด ขณะที่ ยอดผู้เสียภาษีบุคคลธรรมดาจริงๆ มีประมาณ 4 ล้านคน จากจำนวนผู้ยื่นแบบเสียภาษี 10.7 ล้านคน

หากลดภาษีบุคคลตามนโยบายหาเสียง อาจเพิ่มความเหลื่อมล้ำรายได้มากขึ้น เพราะมนุษย์เงินเดือน ชนชั้นกลางส่วนใหญ่ ได้รับสิทธิลดหย่อนค่าใช้จ่าย จนไม่เสียภาษีอยู่แล้ว 

แต่ตามนโยบายที่รัฐมนตรีว่าากระทรวงการคลังระบุนั้น จึงต้องมองมิติการหารายได้จากกรมจัดเก็บภาษีอื่นประกอบด้วย เพื่อให้เห็นภาพโครงสร้างและผลกระทบที่ชัดเจนมากขึ้น

 

นายเอกนิติ ยังกล่าวถึงการผลักดันการเก็บภาษี การเก็บภาษีแพลทฟอร์มออนไลน์ ต่างประเทศ เช่น เฟสบุ็ค / ยูทูป / กูเกิล หรือ อี บิซเนสว่า อยู่ระหว่างเตรียมชี้อจงรายละเอียดรายมาตราต่อคณะกรรมการกฤษฎีกา คาดว่า จะเข้าสภาฯ ทันปีนี้ และบังคับใช้ปีหน้า

ส่งผลให้ แพลทฟอร์ทต่างประเทศ ต้องจดทะเบียนและเสัยภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้กับไทย แต่กฎหมายฉบับนี้ อาจไม่เพียงพอต่อการจัดเก็บภาษีแพลทฟอร์ม หรือ ธุรกิจออนไลน์ขนาดกลางและขนาดเล็ก

จึงเตรียมร่างกฎหมาย รองรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลสากล หรือ Exchange force information ซึ่งเป็นระเบียบมาตรฐานสากลของ โออีซีดี ตามโมเดลที่ 20 ประเทศใช้ดำเนินการเก็บรายได้ธุรกรรมออนไลน์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มบนแพลทฟอร์มออนไลน์

รวมทั้ง ศึกษาการเก็บภาษีบริการดิจิทัล หรือ Digital tax service ของฝรั่งเศส ซึ่งได้บังคับใช้เพื่อเก็บภาษีนิติบุคคล ร้อยละ3 ต่อธุรกรรม ก่อนนำมาวิเคราะห์ความเหมาะสม หากประยุกต์ใช้ในไทยได้หรือไม่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง