วันนี้(25 ก.ย.2562) กรณีที่ตำรวจนำหมายจับศาลอาญาธนบุรี ไปยังคอนโดมิเนียมเพื่อควบคุมตัวนายรัชเดช ช วงศ์ทะบุตร หรือน้ำอุ่น ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรี ใน 3 ข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย พาไปเพื่อกระทำอนาจาร และกระทำอนาจาร หลังตำรวจมีพยานหลักฐาน ว่าน้ำอุ่น เกี่ยวข้องกับคดีการเสียชีวิตของ น.ส.ธิติมา นรพันธ์พิพัฒน์ หรือ ลันลาเบล เนื่องจากอยู่กับ ลัลลาเบล เป็นคนสุดท้าย
แต่ปรากฎว่าในโซเชียลได้ตั้งคำถามว่าการจับกุมน้ำอุ่น เกิดขึ้นที่ปั้มน้ำมันแห่งหนึ่งทั้งมีการนำหมายจับไปที่คอนโดมิเนียมและทำไมน้ำอุ่น ถึงออกจากที่พักไปกับพ่อแม่ได้
อ่านข่าว : บุกจับ "น้ำอุ่น" เจอ 3 ข้อหาหนัก ปม "ลัลลาเบล" ตาย
ไทยพีบีเอสออนไลน์ ตรวจสอบจากรายงานการค้นหาตัวบุคคลในที่รโหฐานในเวลากลางคืนของเจ้าพนักงานตำรวจ ของร.ต.อ.พงษ์เทพ ทรัพย์ศรี ระบุว่า ไว้ว่า ข้อกฎหมายอาญา มาตรา 92 ที่ว่าห้ามมิให้ค้นห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นหรือคำสั่งของศาล เว้นแต่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้น และในกรณีดังต่อไปนี้
(1) เมื่อมีเสียงร้องให้ช่วยมาจากข้างในที่รโหฐาน หรือมีเสียงหรือพฤติการณ์อื่นใดอันแสดงได้ว่ามีเหตุร้ายเกิดขึ้นในที่รโหฐานนั้น
(2) เมื่อปรากฏความผิดซึ่งหน้ากำลังกระทำลงในที่รโหฐาน
(3) เมื่อบุคคลที่ได้กระทำความผิดซึ่งหน้า ขณะที่ถูกไล่จับหนีเข้าไปหรือมีเหตุอันแน่นแฟ้นควรสงสัยว่า ได้เข้าไปซุกซ่อนตัวอยู่ในที่รโหฐานนั้น
(4) เมื่อมีพยานหลักฐานตามสมควรว่าสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิดหรือได้ใช้หรือมีไว้เพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรืออาจเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์การกระทำความผิดได้ซ่อนหรืออยู่ในนั้น ประกอบทั้งต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายหรือทำลายเสียก่อน
(5) เมื่อที่รโหฐานนั้นผู้จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้าน และการจับนั้นมีหมายจับหรือจับตามมาตรา 78 ในบางกรณีเจ้าพนักงานจะเข้าทำการจับกุมบุคคลตามหมายจับ โดยบุคคลตามหมายจับนั้น มีฐานะเป็นเพียงผู้อาศัยในที่รโหฐาน หรือภายในบ้านเท่านั้น กรณีนี้เจ้าพนักงานจะสามารถเข้าทำการจับกุมบุคคลตามหมายจับได้ ก็ต่อเมื่อเจ้าบ้านให้ความยินยอม หรือเป็นกรณีที่มีการกระทำความผิดซึ่งหน้า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 92(2)
นอกจากนี้แนวคำพิพากษาศาลฎีกาก็ไม่มีเหตุผลที่ชัดเจน เช่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่6403/2545 วิจฉัยว่า ในวันที่ 31 มี.ค.2542 เจ้าพนักงานตำรวงตรวงค้นตั้งแต่เวลา 18.02 น. เป็นเวลากลางวัน โดยมิได้ระบุหตุผลไว้ว่า ศาลใช้หลักกณฑ์ใดในการพิจารณาว่าเวลานั้นพระอาทิตย์ขึ้นหรือตกอันเป็นกลางวันหรือกลางคืนหรือมืดหรือสว่างแต่อย่างใดข้อเท็จจริงในทางวิทยาศาสตร์
ปรากฏว่า ในประเทศไทยมีระยะเวลารับแสงหรือเวถากลางวันกับเวลากลางคืนแตกต่างกันไม่มากนัก กล่าวคือ ปลาขเดือนมี.ค.-ก.ย.มีช่วงเวลา กลางวันยาวกว่ากลางคืน ดวงอาทิตข์ขึ้นก่อน 06.00 น. และตกหลัง 18.00 น. ส่วนปลายเดือนก.ย.- มี.ค. มีช่วงเวลากลางวันสั้นกว่ากลางคืน ดวงอาทิตย์ขึ้นหลัง 18.00 น. และตกก่อน 18.00 น มีระยะเวลาที่รับพลังงานจากดวงอาทิดย์น้อยกว่า 12 ชั่วโมง แต่ไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง
ซึ่งในคำพิพากษาศาลฎีกาเรื่องดังกล่าวเหตุการณ์เกิดในวันที่ 31 มี.ค.2542 เวลา 18.02 น อยู่ในช่งวลาที่กลางวันยาวกว่ากลางคืน ดวงอาทิตย์ขึ้นก่อน 06.00 น. และตกหลัง 18.00 น. ดังนั้นในความเห็นของผู้เขียนศาลฎีกาอ้างใช้ช่วงระยะเวลารับแสงอาทิตย์มาวิจฉัยก็เป็นได้ แต่อย่างไรก็ตาม ไม่มีเหตุผลดังกล่วในคำวินิจฉัยชวนให้วิเคราะห์ต่อไปว่า ควรบัญญัติช่วงเวลาให้ชัดเจนไว้ในกฎหมายเลยหรือไม่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ตำรวจเปิดไทม์ไลน์ 15.00- 19.00 น. "เวลาตาย" ลัลลาเบล