ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สิงคโปร์อำลา "เซ็นโตซาเมอร์ไลอ้อน"

ต่างประเทศ
16 ต.ค. 62
22:58
11,095
Logo Thai PBS
สิงคโปร์อำลา "เซ็นโตซาเมอร์ไลอ้อน"
เซ็นโตซาเมอร์ไลอ้อน เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมถึงวันที่ 20 ต.ค.นี้ ก่อนปิดถาวรและเตรียมทุบทำลาย เพื่อสร้างทางเดินเชื่อมภายในเกาะเซ็นโตซา

วันที่ 20 ต.ค.นี้ เป็นวันสุดท้ายที่เซ็นโตซาเมอร์ไลอ้อน หรือรูปปั้นสิงโตทะเลบนเกาะเซ็นโตซา จะเปิดให้นักท่องเที่ยวและชาวสิงคโปร์เข้าไปถ่ายรูปและชมพิพิธภัณฑ์ ก่อนปิดถาวรและเตรียมทุบทำลายปลายปีนี้ เพื่อสร้างโครงการทางเดินเชื่อมระหว่างรีสอร์ท เวิลด์ เซ็นโตซา ไปยังตอนใต้ของเกาะ

เซ็นโตซาเมอร์ไลอ้อน เป็น 1 ใน 7 รูปปั้นเมอร์ไลอ้อน ที่ได้รับการอนุมัติจากการท่องเที่ยวสิงคโปร์ และเป็นรูปปั้นจำลองที่ใหญ่และสูงที่สุดในสิงคโปร์ มีความสูงถึง 37 เมตร หรือเท่ากับตึก 12 ชั้น ซึ่งรูปปั้นเซ็นโตซาเมอร์ไลอ้อนสร้างเมื่อปี พ.ศ.2538 โดยศิลปินชาวออสเตรเลีย James Martin และจะมีอายุ 24 ปีในวันที่ถูกทุบทิ้ง

ไบรอัน ชาวฟิลิปินส์ที่ทำงานในสิงคโปร์มากว่า 10 ปี ระบุว่า การรื้อเซ็นโตซาเมอร์ไลอ้อนออก เหมือนทำลายสัญลักษณ์สำคัญ

ไบรอัน ชาวฟิลิปปินส์ในสิงคโปร์

ไบรอัน ชาวฟิลิปปินส์ในสิงคโปร์

ไบรอัน ชาวฟิลิปปินส์ในสิงคโปร์

การรื้อเซ็นโตซาเมอร์ไลอ้อนออก เหมือนนำสัญลักษณ์สำคัญของสิงคโปร์ออก ถ้าเป็นไปได้อยากให้เคลื่อนย้ายไปที่อื่นมากกว่า
ชาวอินโดนีเซียในสิงคโปร์

ชาวอินโดนีเซียในสิงคโปร์

ชาวอินโดนีเซียในสิงคโปร์

 

ชาวอินโดนีเซียที่ทำงานในสิงคโปร์ ระบุว่า

รู้สึกเสียใจ ที่ต้องสูญเสียสัญลักษณ์สำคัญของเกาะเซ็นโตซา

นักท่องเที่ยวชาวไทยหลายคนเดินทางไปเยือนเซ็นโตซาเมอร์ไลออน เพื่อถ่ายรูปเป็นที่ระลึก

เดอะสเตรตส์ไทมส์ สื่อสิงคโปร์ อ้างคำให้สัมภาษณ์ของผู้บริหารระดับสูง Sentosa Development Corporation ระบุว่า ด้วยขนาดที่ใหญ่ของเซ็นโตซาเมอร์ไลอ้อน จึงไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปที่อื่น แต่กำลังพิจารณาจัดอนุสรณ์รำลึก

 

มีแคมเปญออนไลน์บน change.org เรียกร้องให้พิจารณายกเลิกการทุบทำลายเซ็นโตซาเมอร์ไลอ้อน ขณะนี้มีผู้ร่วมลงทะเบียนแล้วมากกว่า 6,000 คน

ที่มา “สิงโตทะเล” หรือเมอร์ไลอ้อน

เมอร์ไลอ้อน สัตว์ในเทพนิยาย สัญลักษณ์ประจำชาติสิงคโปร์ หัวเป็นสิงโต หางเป็นปลา มีที่มาจากตำนานการค้นพบเกาะสิงคโปร์ว่า เจ้าชาย ซาง นิลา อุตมะ แห่งอาณาจักรศรีวิชัย ตั้งชื่อเกาะแห่งนี้ว่า “สิงคปุระ” หรือเมืองสิงโต ตามสัตว์ตัวแรกที่พบบนเกาะ

ส่วนหางที่เป็นปลา สื่อถึงสิงคโปร์ในฐานะหมู่บ้านชาวประมง แต่หากย้อนไปดูประวัติศาสตร์พบว่าสิงคโปร์เป็นเมืองท่าสำคัญของการค้าขายทางเรือมานาน

อเล็ก ฟราเซอร์ บรูนเนอร์ นักสัตววิทยาชาวอังกฤษ ออกแบบเมอร์ไลอ้อนในปี พ.ศ.2507 เพื่อเป็นตราสัญลักษณ์ของคณะกรรมการการท่องเที่ยวสิงคโปร์

ตามหาเมอร์ไลอ้อน 7 ตัวในสิงคโปร์

ทั่วสิงคโปร์ มีรูปปั้นเมอร์ไลอ้อน 7 ตัว ที่ได้รับการรับรองโดยคณะกรรมการการท่องเที่ยวสิงคโปร์

เมอร์ไลอ้อน 7 ตัว ในสิงคโปร์

เมอร์ไลอ้อน 7 ตัว ในสิงคโปร์

เมอร์ไลอ้อน 7 ตัว ในสิงคโปร์

 

รูปปั้นเมอร์ไลอ้อนต้นแบบ 2 ตัวแรก คือสิงโตทะเลพ่นน้ำแม่ลูก โดยเมอร์ไลอ้อนตัวแม่ เดิมตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำสิงคโปร์ ก่อนย้ายมาที่สวนเมอร์ไลอ้อน ห่างจากที่ตั้งเดิมราว 100 เมตร ปั้นและก่อสร้างโดยช่างฝีมือชาวสิงคโปร์

อีก 5 ตัวที่เหลือเป็นรูปปั้นเมอร์ไลอ้อนจำลอง ได้แก่ เซ็นโตซาเมอร์ไลอ้อน บนเกาะเซ็นโตซา, เมาท์เฟเบอร์เมอร์ไลอ้อน, เมอร์ไลอ้อนที่การท่องเที่ยวสิงคโปร์ และเมอร์ไลอ้อนฝาแฝดที่อังโมกิโอ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง