ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

กสทช.-องค์กรวิชาชีพสื่อ ยกระดับกำกับดูแลสื่อร่วมกัน

สังคม
13 ก.พ. 63
18:04
735
Logo Thai PBS
กสทช.-องค์กรวิชาชีพสื่อ ยกระดับกำกับดูแลสื่อร่วมกัน
กสทช. และองค์กรวิชาชีพสื่อ ยกระดับแนวทางการกำกับดูแลสื่อร่วมกัน หากนำเสนอเกินมาตรฐานจริยธรรมสื่อให้เป็นหน้าที่ กสทช. ลงโทษตามกฎหมาย

วันนี้ (13 ก.พ.2563) ตัวแทน 6 องค์กรวิชาชีพสื่อ ประกอบด้วยสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย, สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย, สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ, สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และสหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย ประชุมร่วมกับนายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

ที่ประชุมมีความเห็นและข้อเสนอแนะร่วมกันว่า ทั้งสองฝ่าย คือ กสทช. และองค์กรวิชาชีพสื่อ จะส่งเสริมยกระดับแนวทางการกำกับดูแลร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาช่องว่างในการกำกับดูแลสื่อในภาวะวิกฤตฉุกเฉิน โดยจะมีการวางกรอบแนวทางการปฏิบัติของสื่อมวลชน และในระหว่างที่กรอบแนวทางการปฏิบัติยังไม่แล้วเสร็จ จะสื่อสารประสานงานร่วมกันระหว่าง กสทช. และองค์กรวิชาชีพสื่อในกรณีที่การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนเกินกว่าการควบคุมส่งเสริมด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณ ก็ต้องเป็นบทบาทหน้าที่ของ กสทช. ในการดำเนินการตามระเบียบข้อบังคับประกาศต่าง ๆ ของ กสทช. จากเบาไปหาหนัก

ขณะที่นายพีระวัฒน์ โชติธรรมโม นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ในฐานะตัวแทน 6 องค์กรวิชาชีพสื่อ กล่าวสรุปภายหลังการประชุมหารือร่วมกันว่า ผลการประชุมวันนี้ได้ข้อสรุปว่าจะมีการกำกับดูแลร่วมกัน ระหว่างองค์กรวิชาชีพสื่อ และกสทช. โดยทั้ง 6 องค์กรวิชาชีพสื่อ จะทำงานร่วมกันในเชิงมาตรฐานด้านจริยธรรมการกำกับดูแลกันเอง ในสถานการณ์วิกฤตฉุกเฉินและสื่อเข้าไปทำหน้าที่ในการนำเสนอข่าว ต่อไปองค์กรวิชาชีพสื่อจะต้องมีการสื่อสารด้วยกันเพื่อประเมินสถานการณ์ร่วมกันถึงบทบาทหน้าที่การทำข่าวและการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน หากสถานการณ์ยกระดับความเสี่ยงในเหตุการณ์และการนำเสนอข่าวและภาพข่าวที่ละเมิดจริยธรรมจรรยาบรรณในวิชาชีพสื่อมวลชน องค์กรวิชาชีพสื่อจะติดต่อประสานไปตามช่องทางต่าง ๆ เพื่อส่งข้อความถึงสมาชิกทั้งหมด รวมทั้งผู้อำนวยการฝ่ายข่าว บรรณาธิการบริหาร บรรณาธิการ โปรดิวเซอร์ข่าวและรายการข่าวให้ระมัดระวังในการนำเสนอข่าวไม่ละเมิดจริยธรรม ต่อจากนั้นองค์กรวิชาชีพสื่อจะส่งเรื่องต่อให้ทาง กสทช. ว่า องค์กรวิชาชีพสื่อได้ทำอะไรไปแล้วกับกรณีนั้น ณ เวลานั้น และต่อไปเป็นหน้าที่ของ กสทช. ในฐานะองค์กรกำกับดูแลที่จะมีมาตรการกลไกขั้นตอนต่าง ๆ ตามกฎหมาย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง