ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"มิ่งขวัญ" ตำหนิรัฐบาลบริหารศก.ล้มเหลว-เล็งเงินกู้มาโปะ

การเมือง
30 พ.ค. 63
16:20
1,944
Logo Thai PBS
"มิ่งขวัญ" ตำหนิรัฐบาลบริหารศก.ล้มเหลว-เล็งเงินกู้มาโปะ
"มิ่งขวัญ" ตำหนิรัฐบาลล้มเหลวบริหารงานเศรษฐกิจ ชี้ 2 เดือนถังแตกใช้เงินงบกลาง 5 แสนล้านบาท หมดเกลี้ยง ขาดการวางแผนรับมือ COVID-19 จนต้องขอกู้เงิน 1.99 ล้านล้านบาท ปรามอย่าเอามาโปะกัน แนะตั้งบุคคลภายนอกตรวจสอบการใช้เงิน

วันนี้ (30 พ.ค.2563) นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ส.ส.พรรคเศรษฐกิจใหม่ อภิปรายระหว่างการประชุมสภาสมัยสามัญ วันที่ 4 เกี่ยวกับการพิจารณา พ.ร.ก.กู้เงินฯ เพื่อแก้ปัญหาเยียวยาผลกระทบของการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID-19 โดยระบุว่า ขณะนี้ผ่านการอภิปรายมาแล้ว 4 วัน อยากตั้งคำถามว่าที่ผ่านมาในหลายรัฐบาล และคนประเทศไทย เคยผ่านการะบาดของโรคมาแล้วหลายครั้ง ทั้งโรคซาร์ส และโรคไข้หวัดนก แต่ก็ผ่านมาได้ แต่ทำไมการรับมือกับโรค COVID-19 ถ้าภาษาวัยรุ่นต้องถามว่าคนไทยมาถึงจุดนี้อย่างไร จุดที่ขอกู้เงินสูงที่สุดประวัติศาสตร์ 1.99 ล้านล้านบาท

เพราะนับแต่ช่วงปลายปี 2562 การเรื่องของไวรัสที่ระบาดในเมืองอู่ฮั่น ของจีน และรัฐบาลได้ออกมายอมรับว่ามีการระบาดของโรคนี้ และจากนั้นโรคระบาดทั่วโลก ส่วนประเทศไทยยังไม่ได้รับมืออะไร และเริ่มมีปัญหาขึ้นเมื่อองค์การอนามัยโลก ประกาศให้เป็นโรคติดต่อรุนแรง ทำให้เริ่มมีปัญหาเกิดขึ้น เกิดการทุจริตทำให้เกิดการขาดแคลนหน้ากากอนามัยคนต้องไปต่อคิวยาวเพื่อหาซื้อหน้ากากอนามัย

รัฐบาลเพิ่งตั้งศูนย์ศบค.ขึ้นมา และยังมีหลายเรื่องที่คนไทยยังจำไว้ว่าการบริหารงานแบบนี้ทำให้ต้องเกิดการกู้เงิน 1.99 ล้านล้านบาท ต้องจดจำเรื่องการงดวันสงกรานต์ของไทย จากนั้นมีการประกาศปิดห้าง ปิดกิจการ ทำให้ผู้คนแตกตื่นโกลาหล คนดิ้นรนออกนอกกทม.ในวันที่ 27 มี.ค.ที่ผ่านมา

คำสั่งที่บอกว่าสงกรานต์ไม่ใช่วันหยุดสงกรานต์ จึงเท่ากับศูนย์ และกิจการทุกกิจการถูกปิด ความสับสนอลหม่านเกิดขึ้น ถ้าจะตั้งคำถามว่ารัฐบาลไม่ทำงานเป็นทีมหรือ ผู้ว่าฯกทม. โฆษกรัฐบาล

ติงบริหารเศรษฐกิจล้มเหลว-ดึงเงินกู้มาโปะ

นายมิ่งขวัญ กล่าวว่า รัฐบาลแก้ปัญหาแบบวันต่อวัน วิสัยทัศน์ผู้บริหารไม่ชัดเจน โดยผลกระทบจากพ.รก.ฉุกเฉินฯ ทำให้เกิดการแจกอาหารน้ำดื่ม ตู้ปันสุข เพราะคนไทยมีน้ำใจ เป็นสิ่งที่ดี แต่คำถามว่าจะอยู่อย่างไรถ้าไม่มีเงิน  รัฐบาลจึงเริ่มมาตรการแจกเงิน 5,000 บาทต่อคน 3 เดือน แต่ตั้งข้อสังเกตว่าปี งบประมาณ 63 เราใช้งบประมาณ 3.2 ล้านล้านบาท แต่รายได้ที่จัดเก็บ 2.7 ล้านล้านบาท และงบขาดดุล 4.6 ล้านบาท ซึ่งถ้าจำไม่ผิดทีมเศรษฐิจเคยให้ข่าวเศรษฐกิจจะโตบวก 3-4 แต่ไม่ได้เห็นแน่นอน เพราะทั้งโลกก็ติดลบ ถือเป็นอะไรที่ซ้ำเติมเพราะไทยบริหารเศรษฐกิจก็มีปัญหา มาเจอโรคระบาด และเศรษฐกิจโลกไม่ดีอีก

เพราะแค่ 2 เดือน งบกลาง 5 แสนล้านบาทหมดแล้วเพราะเพิ่งอนุมัติงบปี 63 มาเพราะงบกลางต้องไว้ใช้ในยามฉุกเฉินแต่มาบอกว่าเงินหมดแล้ว และผมขอตำหนิท่านรุนแรง ฝีมือบริหารด้านเศรษฐกิจห่วยแตก 

นายมิ่งขวัญ ระบุว่า แต่มาขอเงินกู้เงิน 1 ล้านล้านบาท แต่นำไปใช้กับทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข  4.5 หมื่นล้านบาท แต่อีก 9.5 แสนล้านบาทนำไปอะไร ถ้าบอกว่าเอาแจกประชาชน อยากฟ้องให้ประชาชนจับตา ถ้าส.ส.จะนั่งในห้องนี้ ไม่ว่าจะอยู่ฝ่ายค้านหรือรัฐบาล ไม่มีสีเสื้อ มีสภาฯไว้ตรวจสอบ รู้สึกสงสารพี่น้องประชาชน ตั้งแต่เกิดมาไม่เจอคนไปนั่งต่อคิวเข้าแถวยาวหลายกิโลเมตรเพื่อขอปันส่วนอาหาร และหาคิวข้าวกลางวันหลายๆที่ เพราะฉะนั้น 9.5 แสนล้านบาท ถ้าคิดแบบไม่ใช้สมอง 1 แสนล้าน ให้กระทรวงสาธารณสุข ส่วนอีก 9 แสนล้านบาทที่เหลือ อย่ามุบมิบโมเม

บริหารล้มเหลวตรงอื่นแล้วอย่าเอาตรงนี้มาโปะ ถ้าจะแจกให้แจกให้เห็น เป็นรัฐบาลประวัติศาสตร์แจกเงินแล้วโดนด่า บอกว่าเป็นการแจกเงินแบบ Manual ดังนั้นขอให้มีการตั้งกมธ.มาจากบุคคลภายนอก และเชี่ยวชาญขึ้นมาตรวจสอบ และต้องมีถึง 3 ชั้น 

นายมิ่งขวัญ อีกว่า ส่วนที่รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ อ้างเรื่องการส่งออกทุเรียน มังคุด ลิ้นจี่ว่าได้ราคาดี เคยเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ มาแล้ว แต่ขอบอกว่าทุเรศมาก ทำไมไม่ทำให้ปีนี้คนไทยได้กินมังคุด ทุเรียน ลิ้นจี่ดีๆ ราคาถูก เพราะเมื่อส่งออกไม่ได้ แต่กลับไปขายในห้างแพงๆเหมือนเดิม ดังนั้นคนกลางเสียสละสักปีไม่ได้หรือ คนไทยไม่ได้กินผลไม้ดีๆ มาเป็น 10 ปีแล้ว ขอใช้คำวัยรุ่นว่า จะสะเดิร์ฟเอาผลประโยชน์ตรงนี้ไปทำไม

สิ่งที่เป็นห่วงคือการเกิดปรากฏการณ์มหัศจรรย์คนบางคนไม่มีเงิน แต่ 4-5 ปี รวยเป็นแสนล้าน รัฐบาลนี้มีอะไรแปลก เคยอภิปรายว่าเศรษฐกิจโตไม่กี่เปอร์เซ็นต์ แต่ปรากฎว่าเจ้าสัวกลุ่มหนึ่งโตมหาศาล ครั้งนี้ตึงน่าจะกลัวไว้ก่อน

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประธานวิปรัฐบาลคาด โหวต 3 พ.ร.ก.กู้เงิน บ่าย 2 พรุ่งนี้

"องอาจ" เสนอ 5 ข้อตรวจสอบ พ.ร.ก.กู้เงิน ให้โปร่งใส

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง