ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ไทยเตรียมพิจารณาจุดยืนต่อ CPTPP

เศรษฐกิจ
16 ส.ค. 63
21:48
793
Logo Thai PBS
ไทยเตรียมพิจารณาจุดยืนต่อ CPTPP
กรมวิชาการเกษตร เตรียมแก้กฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชของไทยให้เป็นไปตาม UPOV ภายในปี 2564 ส่วนทางกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ จะรอผลสรุป CPTPP จากทางกรรมาธิการฯ ในเดือนกันยายนนี้ ก่อนเสนอ สภาฯ และ ครม.พิจารณาตัดสินใจ

วันนี้ (16 ส.ค.2563) นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า หลังจากที่ไทยไม่ทันเข้าร่วมแสดงเจตจำนงขอเข้าป็นสมาชิกความตกลงครอบคลุม และก้าวหน้า เพื่อหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ CPTPP ในการประชุมประเทศสมาชิก เมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เนื่องจากกรรมาธิการขอขยายเวลาทำงานออกไป เพราะมีรายละเอียดที่ต้องพิจารณามาก เช่น ประเด็นอนุสัญญา UPOV 1991 สิทธิบัตรยา ขณะนี้อยู่ระหว่างการรอผลสรุปการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญ ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกันยายน ก่อนเสนอให้สภาผู้แทนราษฎร และ ครม.พิจารณาว่าไทยควรเข้าร่วมหรือไม่

 

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม

ก่อนหน้านี้ รายงานเบื้องต้นของคณะกรรมาธิการฯ ชี้ให้เห็นปัญหาหากไทยเข้าร่วม CPTPP เช่น ประเด็นอนุสัญญา UPOV1991 สิทธิบัตรยา การเปิดเสรีสินค้า บริการ และการศึกษาที่ผ่านมาไม่ครอบคลุมทุกมิติ เช่น พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สิทธิพิเศษทางศุลกากร และการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ จึงต้องใช้เวลาพิจารณาอย่างรอบคอบ

นักปรับปรุงพันธุ์ชี้ร่วม UPOV 1991 มีประโยชน์

ขณะที่ ศ.โสระยา ร่วมรังษี ผู้อำนวยการศูนย์บริการการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผล กล่าวว่า การเข้าร่วม UPOV 1991 มีประโยชน์ หากต้องการเปิดตลาดสินค้าเกษตรที่เกี่ยวข้องกับพันธุ์พืชใหม่ สู่ตลาดต่างประเทศ เพราะจะทำให้พันธุ์พืชไทยได้รับการคุ้มครองไปประเทศสมาชิก UPOV 1991 กว่า 100 ประเทศ

 

ศ.โสระยา ร่วมรังษี

ศ.โสระยา ร่วมรังษี

ศ.โสระยา ร่วมรังษี

ปัจจุบัน การคุ้มครองพันธุ์พืช อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช 2542 ของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งเป็นการคุ้มครองการขึ้น ทะเบียนพันธุ์พืชภายในประเทศเท่านั้น

 

นางกุญช์ชญา สวัสดี

นางกุญช์ชญา สวัสดี

นางกุญช์ชญา สวัสดี

ขณะที่นางกุญช์ชญา สวัสดี เกษตรกร มีความกังวลว่าหากเข้าร่วมแล้วจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้น

คาใจ! กรมวิชาการเกษตรเตรียมแก้กฎหมาย

เฟซบุ๊ก FTA Watch ระบุ แม้ว่าขณะนี้รัฐบาลได้ตั้งกรรมาธิการ เพื่อศึกษาผลกระทบ แต่กรมวิชาการเกษตรกลับเตรียมแก้กฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช 2542 ของไทย ให้เป็นไปตาม UPOV1991 ภายในปี 2564 ทั้งที่กรมการข้าว กรมส่งเสริมการเกษตร กรมปศุสัตว์ และสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ หรือ BEDO ไม่เห็นด้วย และไม่พร้อมกับการเข้าร่วมอนุสัญญาฉบับดังกล่าว ซึ่งจะลดทอนสิทธิเกษตรกร และขยายอำนาจสิทธิผูกขาดพันธุ์พืช แก่บรรษัทขนาดใหญ่ พร้อมตั้งคำถามถึงคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรว่ารู้เห็นเรื่องนี้หรือไม่

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง