วันนี้ (17 ต.ค.2563) ไทยพีบีเอส สัมภาษณ์ผศ.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทางออกชุมนุมการเมืองว่า ในฐานะคนที่ผ่านการชุมนุมในปี 2535 มองว่ามาตรการสลายการชุมนุมที่แยกปทุมวัน ไม่จำเป็นต้องทำขนาดนั้นเพราะการชุมนุมไม่ได้มีอาวุธ และถ้ากีดขวางจราจร ก็ว่าไปตามข้อมูลแต่การเอาน้ำที่ผสมสี และทุกคนมีการแสบตา เป็นเรื่องไม่จำเป็น และจากนี้ไปจะมีแฟลชม็อบเกิดขึ้น
ผศ.ปริญญา กล่าวอีกว่า ผลที่เกิดขึ้นถ้ามองการแบบจะช่วยรัฐบาล เชื่อว่าวิธีการที่ทำจะมีการต่อต้านมากขึ้น เพราะคนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับความรุนแรง และคนที่ไม่เคยเห็นด้วยกับนักเรียน นักศึกษาก็เห็นว่าเหตุการณ์เมื่อวานนี้ทำเกินกว่าเหตุ
ผศ.ปริญญา กล่าวอีกว่า เดิมข้อเรียกร้องมี 3 หยุดคุกคามประชาชน ยุบสภา และแก้รัฐรรมนูญ แต่ตอนนี้มาถึงข้อ 4 ใฝห้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีลาออก การที่รัฐทำแบบนี้ จะยิ่งมีผลกระทบกลับมาที่รัฐบาล เพราะคนไม่พอใจมีมากขึ้น
การมีคนชุมนุมมากขึ้นไม่ใช่ใคร แต่เป็นเพราะรัฐบาลเอง
ผศ.ปริญญา กล่าวอีกว่า วันนี้ประเมินสถานการณ์ไม่แย่เท่าเมื่อวาน และรัฐบาลควรใช้ท่าทีนี้ หมายความว่ารัฐบาลต้องไม่ใช้ความรุนแรง การไปบอกว่าชุมนุม เพราะมีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินร้ายแรง มันเป็นประกาศของรัฐบาล คือทำแบบนี้ต่อต้านรัฐบาลผิด แต่ความผิดเพราะไม่ใช่ตัวบทกฎหมาย แต่เพราะรัฐบาลบอกว่าห้ามไม่ให่ชุมนุมจะมาบอกว่าถูกจับแล้วต้องสลายการชุมนุม ฟังไม่ขึ้น
คำถามหากหากรัฐบาลถามว่ากฎหมายไม่ใช่กฎหมาย ซึ่ง 2 วันไม่ยอมปฏิบัติตาม จึงต้องบังคับใช้กฎหมาย ผศ.ปริญญา ระบุว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฏฎหมายสูงสุด และรับรองเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบ เจ้าของประเทศมีสิทธิในการแสดงออก ถ้าอยู่ในขอบเขตและปราศจากอาวุธ รัฐบาลจะไปสลายการชุมนุมไม่ได้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเพราะรัฐบาลอ้างการประกาศ พ.ร.ก.ร้ายแรงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเรื่องนี้กฎหมายรัฐธรรมนูญสูงสุด
ผมก็สงสัยว่าถ้าจะอ้างการกีดขวางการจราจร ผมถามว่าใครมาปิดถนนก่อน และเรื่องนี้ความรุนแรงไม่เกิด จะโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้ และเท่าที่ได้ยินข่าวว่าจะไม่ปะทะกับเจ้าหน้าที่ และเป็นสัญญาณที่ดีที่ฝ่ายผู้ชุมนุมก็พยายามเลี่ยง เพราะมาตรการที่ไม่จำเป็นต้องใช้
อ่านข่าวเพิ่ม กระชับพื้นที่ “แยกปทุมวัน” ตำรวจ-ผู้ชุมนุมชุลมุน
แนะทางออกแก้ต้นเหตุ-เจรจา ห้ามปราบ
หากถามว่ามาทุกวันจะทำให้เกิดมาตรการที่เข้มข้นอีกหรือไม่ ผศ.ปริญญา กล่าวว่า การชุมนุมหมือนแค่อาการของโรค และปราบไม่ได้ เพราะยิ่งปราบยิ่งถูกต่อต้าน และคิดว่าเราไม่ควรต้องสูญเสียเลือดเนื้อชีวิตดีนอีก
สิทธิการชุมนุมโดยสงบเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ตามรัฐธรรมนูญ ความหมายคือใหญ่กว่าประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินร้ายแรง ถ้าเขาอยู่ในขอบเขต ทางออกคือการเจรจรา และไม่ควรใช้ความรุนแรง และต้องจากเบา ไม่ควรปราบจะได้ไม่ลุกลาม
การแก้ที่ต้นเหตุคือเรื่องการสืบทอดอำนาจและรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ให้ศสช.มาเป็นรัฐบาลต่อ และสว.ที่คสช.ถูกเลือกเข้ามา
ส่วนสถานการณ์เฉพาะหน้าที่มีการชุมนุมทุกวันมีความเสี่ยงหรือไม่ ผศ.ปริญญา กล่าวว่า ความเสี่ยงคือการจับแกนนำ และตอนนี้ที่มีบางคนศาลให้ประกันตัว ซึ่งบทเรียนในอดีตช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ หลังพล.ต.จำลอง ศรีเมืองถูกจับ คิดว่าจะยุติการชุมนุมได้เพราะไม่มีแกนนำ แต่ปรากฎว่าไม่ใช่แบบนั้น ซึ่งตอนนั้นคนมาชุมนุมเป็นคนวัยทำงานที่เลิกงานมาชุมนุม และกลางวันคนจะน้อย ตอนสลายวันที่ 18 พ.ค.2535 และปราบและสุดท้ายพล.อ.สุจินดา คราประยูร ก็ต้องลาออก
เสนอถ้าไม่อยากให้ลุกลาม ต้องยอมรับการชุมนุมสงบ อย่าปราบแต่ให้เจรจา และเงื่อนไขสำคัญ ถ้าเขาไม่รุนแรงอย่าไปทำ เช่นการฉีดน้ำสีฟ้าผสมสารเคมีใส่ผู้ชุมนุม ถ้ารัฐบาลยังไม่ยอมแก้ ก็ขอให้เจรจากัน
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ผู้ชุมนุม "อนุสาวรีย์ฯ" เดินไปรวมตัวที่ "ห้าแยกลาดพร้าว
ความเคลื่อนไหวก่อนชุมนุม 17 ตุลา
คณะราษฎรเดินหน้าชุมนุมต่อวันที่ 4-สรุปบาดเจ็บ 7 คน
กอร.ฉ.สั่งห้ามใช้รถไฟฟ้า- ใครถูกจับให้ส่งไปขังในค่ายทหารชลบุรี