ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

หมอแล็บแพนด้า เฉลย "Swab" แบบไหนถูกวิธีหาเชื้อ COVID-19

สังคม
18 ธ.ค. 63
15:57
64,321
Logo Thai PBS
หมอแล็บแพนด้า เฉลย "Swab" แบบไหนถูกวิธีหาเชื้อ COVID-19
หมอแล็บแพนด้า นักเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ระบุวิธีการ swab เข้าจมูก ต้องแหย่ลึกๆเพื่อให้ได้เชื้อที่ผนังโพรงจมูก เพื่อซึมซับสารคัดหลั่งป้องกันผลตรวจเป็นลบ พร้อมเฉลยหญิงเจ้าของแพกุ้ง มีค่า Ct เท่ากับ 9 แปลค่าว่าเชื้อแรง

วันนี้ (18 ธ.ค.2563) ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน หรือหมอแล็บแพนด้า นักเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก หมอแล็บแพนด้า ระบุว่า มีน้องคนหนึ่งไปตรวจ COVID-19 พอตรวจเสร็จก็เข้าไปโพสต์ในไลน์กลุ่ม ในเชิงต่อว่าบุคลากรทางการแพทย์ว่า “แหย่เข้าไปลึกมาก ไม่มีจรรยาบรรณทางการแพทย์เลย” โอ้ยยย อีหยังวะ 555555

หมอแล็บแพนด้า ระบุว่า เดี๋ยวจะเล่าให้ฟัง อันนี้แทนที่จะได้รับคำด่า ควรต้องปรบมือให้ด้วยซ้ำไปครับ แสดงว่าบุคลากรคนนั้นเก็บตัวอย่างตรวจ COVID-19 ได้อย่างถูกวิธีแล้ว เวลาที่เราไปตรวจ COVID-19 แล้วเค้าเสียบแท่ง swab แยงเข้าจมูก

ทางการแพทย์เค้าเรียกว่า Nasopharyngeal swab เป็นวิธีการป้ายเอาเนื้อเยื่อ บริเวณหลังโพรงจมูกไปตรวจ พูดง่ายๆก็คือ เสียบแท่ง swab เข้าไปในรูจมูกจนปลายแท่งชนกับผนังโพรงจมูกด้านใน คาแช่ไว้แป๊บนึง เพื่อซึมซับสารคัดหลั่งแล้วหมุนเล็กน้อย 2-3 ครั้ง เพื่อเก็บเนื้อเยื่อจากนั้นก็เอาแท่ง swab ออกจากจมูก ใส่แท่งไปในหลอดเก็บ

ที่ต้องให้ชนจนสุดผนังก็เพราะเชื้อมันจะอยู่ตรงนั้น มันปูเสื่อนั่งรอนอนรอเราอยู่ เรามีหน้าที่หายใจลึกๆ แล้วหายใจออกจนสุด จากนั้นกลั้นหายใจพร้อมหลับตา เกร็งคอไว้ ห้ามถอยหนี สั่นสู้เท่านั้น ไม่เช่นนั้นอาจจะรู้สึกเจ็บ และไม่ได้เนื้อเยื่อตัวอย่างตรงบริเวณผนังโพรงจมูกด้านใน

แน่นอนว่าเราไม่ใช่คนตายด้าน เราต้องรู้สึกแสบๆบ้าง บางคนก็น้ำตาไหล แต่ไม่ได้น้ำตาไหลเพราะเจ็บนะ มันไหลเอง ทีนี้ถ้าเราแหย่ตื้นๆหรือแหย่ไม่ถึง การตรวจครั้งนั้น อาจจะไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย เหมือนจั่วลม ตรวจออกมาแล้วอาจจะได้ผลเป็นลบ หรือแปลว่าไม่เจอเชื้อโรคทั้งๆที่ร่างกายเราติดโควิด ศัพท์เทคนิคเขาเรียกว่า “ผลลบปลอม” 

อ่านข่าวเพิ่ม  พบติดเพิ่ม 3 คนเคสเจ้าของแพกุ้ง รวมกลุ่มเสี่ยง 165 คน

ชี้หญิงเจ้าของแพกุ้ง มีผล Ct เท่ากับ 9 เชื้อมาก

นอกจากนี้หมอแล็บแพนด้า ยังกล่าวถึงกรณีหยิงวัย 67 ปีเจ้าของแพกุ้ง ในตลาดปลาที่ จ.สมุทรสาคร ติดเชื้อ COVID-19 รายล่าสุดว่า ควรรู้! ค่า Ct คืออะไรในการตรวจ COVID-19 แม่ค้าแพกุ้งตรวจโควิดแล้วผลเป็นบวก พบว่ามีค่า Ct เท่ากับ 9 แปลว่าอะไร

โดยระบุว่า เวลาตรวจหาเชื้อ COVID-19 เจะตรวจด้วยวิธีที่เรียกว่า RT-PCR วิธีนี้เป็นวิธีตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัส ไวรัสตัวนี้มันจะมีรูปร่างเป็นทรงกลม คือเปลือกของมัน ถ้าผ่าเปลือกไวรัสออกมา เราจะเจออะไรบางอย่างเป็นสายๆเส้นๆ นั่นคือ RNA หรือภาษาไทยเรียกว่า “สารพันธุกรรม” นั่นเอง เราจะตรวจหาส่วนนี้ของมัน

วิธีการ RT-PCR เป็นวิธีที่สามารถเอาสารพันธุกรรมของไวรัสมาเพิ่มปริมาณได้ คือถ้าเอาแท่ง swab ไปแตะโดนเชื้อโควิดแค่ตัวเดียว พอเอามาตรวจวิธีนี้ เราจะเพิ่มปริมาณของสารพันธุกรรมได้เป็นล้านเส้นจนสามารถตรวจจับได้

 

เวลาที่เพิ่มสารพันธุกรรม จะทำเป็นรอบๆประมาณ 40 รอบ ค่าที่ตรวจได้จะมีค่าเป็น Ct (Cycle threshold) ยิ่งผลตรวจออกมาได้ค่า Ct น้อยๆ แสดงว่ามีเชื้อไวรัสเยอะ เพราะทำแค่ไม่กี่รอบก็สามารถเพิ่มสารพันธุกรรมจนตรวจเจอได้แล้ว เช่น ยายจิ๋มเป็นโควิด ตรวจ RT-PCR ได้ค่า Ct เท่ากับ 10 แปลว่าทำไปแค่ 10 รอบก็ตรวจเจอตัวเชื้อแล้ว ต่างกับ นส.รัตนา ที่มีค่า Ct เท่ากับ 30 แสดงว่ารัตนามีเชื้อน้อยกว่า เพราะทำไป 30 รอบ กว่าจะตรวจเจอเชื้อไวรัส

จากข่าวล่าสุดหญิงอายุ 67 ตรวจเจอ COVID-19 ค่า Ct เท่ากับ 9 จึงน่าจะมีเชื้อมาก และมีโอกาสแพร่เชื้อไปยังคนในครอบครัวได้สูง 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ด่วน ! สมุทรสาคร ยืนยันเจ้าของแพกุ้งติด COVID-19

ไทม์ไลน์ "เจ้าของแพกุ้ง" ติด COVID-19

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง