ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สำรวจแรงงานต่างด้าวที่ “ค้นพบ”

สังคม
25 ธ.ค. 63
22:01
2,956
Logo Thai PBS
สำรวจแรงงานต่างด้าวที่ “ค้นพบ”
แม้สถานการณ์โควิด-19 จะทำให้มีการเลิกจ้างแรงงานต่างด้าว แต่ส่วนใหญ่ยังพำนักอยู่ในไทยเพื่อหางานทำ ขณะที่ยังมีผู้หลบหนีเข้าเมืองอยู่

วันนี้ (25 ธ.ค.63) พล.ต.ต.กษณะ แจ่มสว่าง รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 รายงานผลการจับกุมแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองของตำรวจภูธรจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่ติดกับชายแดนเมียนมา

โดยตั้งแต่ เม.ย.-ปัจจุบัน มีการจับกุมแรงงานหลบหนีเข้าเมืองได้ 637 คน จับกุมผู้ให้ที่พักพิงหรือช่วยเหลือแรงงานหลบหนีเข้าเมือง 50 คน

วันเดียวกันนี้ ที่ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ก็มีการจับกุมแรงงานหลบหนีเข้าเมืองได้ 11 คน ขณะกำลังหอบหิ้วกระเป๋าสัมภาระ ทยอยเดินขึ้นจากเรือยนต์รับจ้างข้ามฟากของประเทศมาเลเซีย

ภาพรวมแรงงานต่างด้าว

แรงงานต่างด้าวแบ่งประเภทได้ตาม พ.ร.ก.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

  • ประเภทตลอดชีพ คือกลุ่มที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 322 ลงวันที่ 13 ธ.ค.2515
  • ประเภททั่วไป มีถิ่นที่อยู่ในไทยหรือได้รับอนุญาตให้เข้าเมืองได้ชั่วคราว แต่ไม่ใช่นักท่องเที่ยว โดยมากมีสัญชาติฟิลิปปินส์ จีน ญี่ปุ่น
  • ประเภทพิสูจน์สัญชาติ ชาวเมียนมา ลาว และกัมพูชาที่หลบหนีเข้าเมือง แต่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติและผ่อนผันให้ทำงานเป็นการชั่วคราว
  • ประเภทนำเข้าตาม MOU ชาวเมียนมา ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ที่เข้ามาทำงานตามความตกลงระหว่างรัฐบาล
  • ประเภทส่งเสริมการลงทุน เข้ามาทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนหรือกฎหมายอื่น ทำงานเป็นช่างฝีมือหรือผู้ชำนาญการ เป็นต้น
  • ประเภทชนกลุ่มน้อย คือผู้ที่ไม่ได้รับสัญชาติไทย และอยู่ระหว่างรอพิสูจน์สถานะยื่นขอใบอนุญาตทำงาน
  • ประเภทไป-กลับ หรือตามฤดูกาล ชาวเมียนมา ลาว และกัมพูชาที่เข้ามาทำงานบริเวณชายแดนแบบไป-กลับ หรือตามฤดูกาลพื้นที่ความตกลงว่าด้วยสัญจรข้ามแดน
  • ตามมติ ครม.20 ส.ค.62 นำเข้าชาวเมียนมา ลาว และกัมพูชา อนุญาตให้อยู่ในไทยได้ไม่เกิน 2 ปี และขออยู่ต่อได้ครั้งละไม่เกิน 1 ปี
  • ตามมติ ครม.4 ส.ค.63

    - บต.23 แรงงานต่างด้าวตาม MOU ที่การอนุญาตสิ้นสุดลง เช่น ออกจากนายจ้างรายเดิม แต่ยังหานายจ้างรายใหม่ไม่ได้ใน 30 วัน


    - บต.24 แรงงานต่างด้าวไป-กลับหรือตามฤดูกาล ซึ่งครบวาระจ้างงาน และสิ้นสุดการอนุญาตให้พำนักในพื้นที่ชายแดน
รูปที่ 1

รูปที่ 1

รูปที่ 1

สถิติจากสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว ณ ตุลาคม 2563 ระบุว่า แรงงานต่างด้าวทั่วราชอาณาจักรมีจำนวน 2,482,256 คน ครึ่งหนึ่งของแรงงานต่างด้าวทั้งหมดนั้นนำเข้าตามมติ ครม.20 ส.ค.62 และอีกร้อยละ 34 นำเข้าตาม MOU (รูปที่ 1)

เมื่อย้อนกลับไปในปี 2560 แรงงานประเภทหลักคือประเภทพิสูจน์สัญชาติ ซึ่งก็คือกลุ่มที่หลบหนีเข้าเมืองแล้วถูกตรวจพบแต่ได้รับการผ่อนผันให้ทำงาน ทำให้แรงงานผิดกฎหมายได้เข้าระบบอย่างถูกต้อง (รูปที่ 2)

รูปที่ 2

รูปที่ 2

รูปที่ 2

แต่ในสถานการณ์โควิด-19 มีสถานประกอบการปิดตัวด้วยสภาวะเศรษฐกิจ จึงทำให้การจ้างงานลดลงไปด้วย ทั้งนี้ช่วงดังกล่าวมีแรงงานเมียนมาเดินทางกลับประเทศบ้านเกิดค่อนข้างน้อย คาดว่าส่วนใหญ่ยังอยู่ในไทย เนื่องจากการระบาดในเมียนมาและยังต้องการหางานทำต่อ (รูปที่ 3)

รูปที่ 3

รูปที่ 3

รูปที่ 3

กรุงเทพฯ-สมุทรสาคร แหล่งงานแรงงานต่างด้าว

จังหวัดที่มีการจ้างแรงงานต่างด้าวสูงที่สุดคือ กรุงเทพฯ 585,433 คน คิดเป็นร้อยละ 24 ของแรงงานทั้งประเทศ รองลงมาคือสมุทรสาคร 233,071 คน คิดเป็นร้อยละ 9 โดยจังหวัดอื่นที่มีแรงงานมากกว่าแสนคนได้แก่สมุทรปราการ ชลบุรี ปทุมธานี และเชียงใหม่ จากแผนที่ด้านล่างจะเห็นได้ว่า จังหวัดเศรษฐกิจและจังหวัดชายแดนฝั่งที่ติดกับเมียนมาจะมีการจ้างงานมาก

และสมุทรสาคร-กรุงเทพฯ ยังมีแรงงานประเภทพิสูจน์สัญชาติมากที่สุด คือ 544 คน และ 363 คนตามลำดับ ขณะที่จังหวัดอื่นๆ ไม่ถึงร้อยคน

(เลือกดูข้อมูลแต่ละจังหวัดได้ด้านล่าง)

แรงงานต่างด้าวในสมุทรสาคร

สถานการณ์แรงงานใน จ.สมุทรสาคร มีแนวโน้มเช่นเดียวกับภาพรวม คือมีการจ้างงานชะลอตัว จากเดิมที่จำนวนแรงงานต่างด้าวประเภทพิสูจน์สัญชาติแตะหลักแสนคน ลดลงเหลือหลักร้อยคนในปีนี้ ส่วนนายจ้างลดลงไปมากเช่นกันจนเหลือเพียง 199 ราย

เมื่อคิดเป็นอัตราส่วนนายจ้างต่อแรงงานพบว่า นายจ้าง 1 รายจะมีลูกจ้าง 2-3 คน ขณะที่ปีก่อนมีลูกจ้าง 20 คน ทั้งนี้ที่อัตราส่วนในปี 2562 สูงกว่าปีก่อนๆ อาจเป็นเพราะนายจ้างที่หายไปส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายเล็ก (รูปที่ 4)

รูปที่ 4

รูปที่ 4

รูปที่ 4

กลับมาที่ปี 2563 หากดูความเป็นไปได้จากความต้องการใช้แรงงานที่สะท้อนผ่านค่าเฉลี่ยอัตราส่วนนายจ้างต่อแรงงาน ก็คาดว่าน่าจะมีแรงงานเฉลี่ย 2,448 คน ต่อนายจ้าง 199 ราย หรือค่าเฉลี่ยสูงสุด 8,696 คน ต่อจำนวนนายจ้าง 199 ราย

การประเมินเช่นนี้เป็นไปเพื่อค้นหาแรงงานที่ยังซ่อนเร้นอยู่ เพราะแรงงานส่วนต่างนี้ไม่ได้อยู่ในระบบ เป็นแรงงานที่ผิดกฎหมายและยากที่จะเข้าถึงระบบสาธารณสุข

แรงงานต่างด้าวในกรุงเทพฯ

สำหรับพื้นที่กรุงเทพฯ มีแรงงานต่างด้าวทั้งหมด 585,433 คน ในจำนวนนี้คือประเภทพิสูจน์สัญชาติ 363 คน ส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่ที่อยู่อาศัยและพื้นที่เกษตรกรรม รวมถึงบางส่วนที่เป็นพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจและพานิชยกรรมด้วย คือเขต 2 เขต 3 และเขต 5 ตามการแบ่งเขตพื้นที่ของสำนักจัดหางานกรุงเทพ (รูปที่ 5)

รูปที่ 5

รูปที่ 5

รูปที่ 5

ข้อมูลนี้แสดงถึงจุดสัมผัสและจุดเคลื่อนที่ของแรงงานต่างด้าวที่จะสามารถติดตามต่อไปได้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง