วันนี้ (17 ม.ค.2564) น.ส.กุลยา ตันติเตมิท ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ตามที่ได้ปรากฏว่ามีการเผยแพร่ แอปพลิเคชันลงทะเบียนเราชนะตามสื่อต่างๆ กระทรวงการคลัง ยืนยันว่า แอปพลิเคชันดังกล่าว ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับโครงการเราชนะของรัฐบาล และกระทรวงการคลังแต่อย่างใด ดังนั้นเพื่อมิให้เกิดความสับสน และความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโครงการเราชนะของรัฐบาล จึงขอให้ประชาชนระมัด ระวังในการอ่าน ส่ง หรือแชร์ข้อมูลต่างๆ ที่มิได้ถูกเผยแพร่อย่างเป็นทางการจากกระทรวงการคลัง
นอกจากนี้ กระทรวงการคลัง ขอเตือนผู้ที่มีพฤติกรรมแอบอ้างโดยมีเจตนาหลอกลวงหรือทำให้ประชา ชนเข้าใจผิด ขอให้หยุดการกระทำดังกล่าวโดยหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง จะมีการตรวจสอบอย่างเข้มงวด และหากพบว่ามีการกระทำความผิดจะดำเนินการตามกฎหมายทันที
ทั้งนี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) จะพิจารณาโครงการเราชนะในที่ 19 ม.ค.นี้ และจะมีการแถลงข้อมูลที่เป็นทางการอย่างชัดเจน โดยสามารถติดตามสืบค้นข้อมูลข่าวสารและความคืบหน้าที่ถูกต้องเกี่ยวกับโครงการเราชนะ ได้จากแถลงข่าวกระทรวงการคลัง ในเว็บไซต์ www.mof.go.th หรือในเฟซบุ๊ก สถานีข่าวกระทรวงการคลัง หรือสอบถามที่สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร.02 273 9020 ต่อ 3558, 3569 ,3566 ,3557
ใครไม่ได้สิทธิเราชนะบ้าง
ก่อนหน้านี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กำชับให้มีนโยบายเยียวยารายได้ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ COVID-19 โดยคำนึงถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดและแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งมอบหมายให้กระทรวงการคลัง พิจารณาวงเงินช่วยเหลือที่เหมาะสม แรงงานนอกระบบ อาชีพอิสระ เกษตรกร จำนวน 3,500 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 2 เดือน โดยให้นำเสนอในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีภายในสัปดาห์หน้า
ขณะที่มีการรายงานว่า โครงการ "เราชนะ" เบื้องต้น 4 กลุ่มที่จะไม่ได้เข้าโครงการนี้ คือ 1.ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงานรัฐวิสาหกิจ 2.ผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี 3.ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 และ4.ผู้ที่มีรายได้สูง
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
เช็กเกณฑ์เบื้องต้น "เราชนะ" แจก 3,500 บาท 2 เดือน
เช็ก! 3 กลุ่มอาชีพ ส่อถูกตัดสิทธิ "เราชนะ" เงินเยียวยา 3,500 บาท