ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เหตุผล "ตลาด" แหล่งเสี่ยงติด COVID-19

สังคม
14 มี.ค. 64
19:45
2,717
Logo Thai PBS
เหตุผล "ตลาด" แหล่งเสี่ยงติด COVID-19
หลังพบตลาดบางแคเป็นคลัสเตอร์ใหม่ที่พบผู้ติดเชื้อ COVID-19 จำนวน 85 คน ก่อนหน้านี้เคยมีบทเรียนจากตลาดหลายแห่งทั้งตลาดกลางกุ้ง จ.สมุทรสาคร ตลาดพรพัฒน์ จ.ปทุมธานี สาเหตุเพราะมีการใช้แรงงานข้ามชาติเป็นลูกจ้าง พื้นที่อากาศไม่ถ่ายเท

การระบาด COVID-19 มีคลัสเตอร์ใหม่เพิ่มขึ้น หลังพบการระบาดในตลาดย่านบางแค 85 คน ในจำนวนนี้มีทั้ง คนไทย-แรงงานข้ามชาติ การแพร่ระบาดคลัสเตอร์นี้ เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการพิจารณาคลายล็อกในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ยืนยันว่า COVID-19

กรมควบคุมโรคยังไม่สรุปว่าต้นตอการแพร่ระบาดมาจากไหนแต่พื้นที่ของการแพร่ระบาดคือพื้นที่ที่มีแรงงานและประชาชนหนาแน่น คือ ตลาด ทำให้มีการตรวจเชิงรุกตลาดและศูนย์การค้าในย่านบางแค

เบื้องต้น 6 แห่ง เช่น ตลาดสิริเศรษฐนนท์ ศูนย์การค้าบางแค  ตลาดกิตติ เป็นต้น ซึ่งการระบาดรอบนี้หากพิจารณาในเชิงพื้นที่ แทบไม่ต่างจากคลัสเตอร์ตลาดกลางกุ้ง จ.สมุทรสาคร และคลัสเตอร์ตลาดพรพัฒน์ จ.ปทุมธานี ที่พบการระบาดในจุดศูนย์กลางและกระจายไปโดยรอบ

ใช้แรงงานข้ามชาติ-คนพลุกพล่าน-พื้นที่ไม่ถ่ายเท

ปัจจัยหนึ่งคือการเคลื่อนย้ายของแรงงานที่ต้องใช้มาตรการเชิงรุกในการตรวจเชื้อและควบคุม โดยเฉพาะตัวเลขผู้ติดเชื้อคนไทย-แรงงานข้ามชาติ แบบครึ่งต่อครึ่ง พื้นที่เขตบางแคเป็นพื้นที่ฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯ เป็นย่านที่มีแรงงานข้ามชาติขึ้นทะเบียนมากที่สุดในกรุงเทพฯ

ข้อมูลจากสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรณีแรงงานขึ้นทะเบียนถูกต้องพบว่าเฉพาะการขึ้นทะเบียนแรงงาน เขตราษฎร์บูรณะ 112 คน และเขตตะลิ่งชัน 35 คนรวมเฉพาะพื้นที่นี้มีแรงงานมากกว่าครึ่งหนึ่งในกรุงเทพฯ (363 คน) ดังนั้นมาตรการในการตรวจเชื้อเชิงรุกและการควบคุมจึงพุ่งเป้าไปที่พื้นที่ดังกล่าวเพราะย่อมมีการเคลื่อนย้ายของแรงงาน "แบบไม่เป็นทางการ" ในช่วงที่ผ่านมา

แต่ข้อมูลชุดนี้ไม่ใช่การเสนอข้อมูลเพื่อให้เกิดอคติต่อแรงงานข้ามชาติ เพียงแต่ชี้ให้เห็นถึงพื้นที่เป้าหมาย ที่ประชาชนควรเพิ่มความระมัดระวัง เพราะปัจจัยที่ช่วยควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดคือการควบคุมพื้นที่ เช่น การปิดตลาดจะช่วยได้ในระยะแรกเท่านั้น แต่ในระยะยาวจะต้องทำควบคู่กับการตรวจเชื้อเชิงรุกเพื่อควบคุมการระบาด หรือกรณีพื้นที่ที่มีโรงงานจำนวนมากเหมาจะใช้ Bubble and Seal

ยกเคสเปรียบเทียบกรณีที่เห็นได้ชัดอย่างตลาดพรพัฒน์ จ.ปทุมธานี ด้าน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เคยให้ข้อมูลเมื่อวันที่14 ก.พ.2564 ที่วิเคราะห์ปัจจัยการระบาดในตลาด ข้อมูลจากทีมสืบสวนโรคระบุว่า สาเหตุการระบาดในตลาดพรพัฒน์มาจากสาเหตุหลัก ดังนี้ หลังคาเตี้ยตรงกลางไม่มีอากาศถ่ายเท เวลารับประทานอาหารไม่ใส่หน้ากากอนามัยเวลาอากาศร้อนไม่ใส่หน้ากากอนามัย-ควรเพิ่มความเข้มงวดกับกลุ่มแม่ค้าที่ย้ายตลาดเมื่อตลาดปิด

 

ดังนั้นถ้าจะแก้ไขต้องควบคุมปัจจัยภายใน–ภายนอก ปัจจัยภายใน ตลาดไม่มีมาตรการป้องกันเคร่งครัดเช่น แผงขายแออัด ไม่มีระยะห่าง ไม่ใส่หน้ากากบางครั้ง ไม่มีการทำความสะอาดจุดสัมผัสอย่างสม่ำเสมอเช่น ประตูห้องน้ำ หรือใช้เครื่องมือทำความสะอาดไม่เพียงพอ ปัจจัยนอก แม่ค้าเดินทางไปซื้อของหลายแหล่ง ตลาดนัดมีการหมุนเวียนแม่ค้าหลายตลาดส่งผลให้มีการกระจายข้ามจังหวัด

ดังนั้นบทเรียนจากการควบคุมการระบาด ตย. ตลาดพรพัฒน์ จึงไม่ใช่แค่การปิดตลาด เพราะการปิดตลาดควบคุมในระยะสั้นแต่ต้องทำควบคู่กับการตรวจเชื้อเชิงรุกและการสอบสวนโรคติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิดไม่ให้กระจายวงกว้าง 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง