วันนี้ (2 พ.ค.64) พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผช.โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 (ศบค.) กล่าวถึงสถานการณฺผู้ติดเชื้อ COVID-19 ว่า ขณะนี้สถานการณ์โลกมีผู้ติดเชื้อสะสม 152 ล้านคน และยอดติดเชื้อใหม่รายวัน 795,819 คน เสียชีวิตสะสม 3,206,451 คน โดยไทยอยู่ลำดับที่ 102 ของโลกเริ่มขยับขึ้นจากเมื่อวานนี้ (1 พ.ค.) อันดับ 103 ของโลก และอินเดียสถานการณ์ยังน่าห่วง ยอดติดเชื้อ 392,562 คน
สำหรับประเทศไทย ยอดติดเชื้อเพิ่ม 1,940 คน เสียชีวิต 21 คน โดยยังคงพบว่า 10 จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่ม แบ่งเป็น กทม.539 คน เริ่มลดลงมาอยู่สีเขียวแต่ก็ยังถือว่ามากอยู่ ส่วนนนทุบรี 276 คน สมุทรปราการ 145 คน ชลบุรี 89 คน ปทุมธานี 62 คน เชียงใหม่ 55 คน สมุทรสาคร 52 คน สุราษฎร์ธานี 48 คน ระยอง 45 คนและฉะเชิงเทรา 37 คน
แผนที่ประเทศไทย พบว่าสีขาวเริ่มมี 11 จังหวัดที่ไม่พบผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่มแล้ว ส่วนสีเขียวที่มีผู้ติดเชื้อ 1-10 คนมี 32 จังหวัด สวนสีเหลือง ผู้ติดเชื้อ 11-50 คน จำนวน 27 จังหวัด สีส้ม ผู้ติดเชื้อ 51-100 คนจำนวน 4 จังหวัด และสีแดง ผู้ติดเชือมากกว่า 100 คนจำนวน 3 จังหวัด
เปิดคลัสเตอร์จุดเสี่ยงภาคกลาง
พญ.อภิสมัย กล่าวว่า สำหรับการติดเชื้อที่ยังกระจุกตัวในเขตกทม.และปริมณฑล ซึ่งข้อมูลจากกรมควบคุมโรคพบว่าในคลัสเตอร์ภาคกลาง หากแยกรายจังหวัด จะพบข้อมูลดังนี้
- นนทบุรี มาจากสถานดูแลผู้สูงอายุ โรงแรมจัดประชุม ออฟฟิส สถานบันเทิง
- นครปฐม มาจาก สถานบันเทิง สถานศึกษา ออฟฟิส
- สมุทรสาคร โรงงาน ชุมชนรอบโรงงาน ตลาด สถานบันเทิง ร้านอาหาร
- สมุทรปราการ สถานศึกษา ร้านเกม สถานที่ออกกำลังกาย ออฟฟิส ตลาด
- สระบุรี ออฟฟิส ร้านอาหาร ร้านนวด ตลาด
- พระนครศรีอยุธยา ตลาด ออฟิศ สถานบันเทิง
- ปทุมธานี สถานบันเทิง ตลาด ออฟฟิส สถานที่จัดงานประเพณี ร้านอาหาร
โดยภาพที่เกิดขึ้นก่อนนี้ให้เน้นย้ำว่าการออกจากบ้านการออกนอกบ้านเป็นจุดเสี่ยงในติดเชื้อ COVID-19 แต่ตอนนี้ศบค.เป็นห่วงแม้ว่าจะอยู่ในในครอบครัว ที่อาจจะมีบุคคลหลายวัย ทั้งผู้สูงอายุ เด็กเล้ก ผู้ป่วยติดเตียง คนหนุ่มสาวที่เดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงมีโอกาสติดกันได้
คำแนะนำนำคืออาจจะแยกในการใช้พื้นที่ให้ชัดเจนระหว่างคนสูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง เพื่อป้องกันแพร่เชื้อจากผู้ที่ยังเดินทาง และพยายามไม่ให้ทำกิจกรรมร่วมกันในบ้าน แม้แต่นั่งรถคันเดียวกันเพื่อลดตัวเลขผู้ติดเชื้อที่ติดจากครอบครัว
นอกจากนี้จากการคุยในวงศบค.ชุดเล็กอยากเห็นยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลง โดยหนึ่งในมาตรการคือการสวมหน้ากากอนามัยออกจากบ้าน ซึ่งจากข้อมูลที่กล้อวงจรปิดวันนี้ (2 พ.ค.)พบว่า 99.37% ใส่หน้ากากอนามัย และ 0.45% ใส่ไม่ถูกวิธี และอีก 18% ไม่ใส่
บริหารจัดการเตียง
นอกจากนี้ ผช.โฆษก ศบค.ระบุว่า ที่ประชุมศบค.ชุดเล็กรายงานข้อมูลการใช้เตียงผู้ป่วยระหว่างวันที่ 4-30 เม.ย.นี้จากข้อมูลระบบต่างๆ และการติดตามผู้ป่วยเข้าระบบ พบว่าสีแดงผู้ป่วยอาการหนัก สีเหลืองกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงและเขียว กลุ่มแข็งแรงอาการเล็กน้อย ซึ่งช่วงแรกๆ การจัดการเตียงหลายวัน โดยจากวันที่ 6 เม.ย. เดิมสีเขียวมีค่าเฉลี่ยรอเตียง 10 วัน จากนั้นช่วง 11 เม.ย.สีแดงอัตรารอเตียงลดลงมาเหลือ 7 วัน และ 14 เม.ย.สีเหลืองจากอัตรารอเตียงลดลงมาเรื่อยๆ
3 กลุ่มมีการบรรจบกันแล้วทั้งผู้ป่วยกลุ่มเขียว เหลือง แดงเมื่อ 29 เม.ย.พบอัตรารอเตียงเหลือแค่ 1-2 วันหรือ 48 ชม.
ขณะที่กรมควบคุมโรค รายงานเข้าที่ประชุมศบค.ชุดเล็ก การประสานจัดหาเตียงผ่าน 1668 พบว่าเมื่อ 30 เม.ย.มีผู้รอเตียงทั้งหมด 245 คนแบ่งเป็นแอดมิดแล้ว 112 คน แต่หลังเวลา 22.00 น.มีการประสานขอเตียงอีก 76คน รอประสานเตียง 133 คน และทำให้วันที่ 1 พ.ค. มีผู้ที่ประสานขอเตียงที่ตกหล่นมา 162 คน และส่งเข้าแอดมิดได้ 19 คนและเหลือผู้รอประสานเตียงอีก 143 คน และแบ่งประเภทผู้ป่วยเขียว 96 คนเหลือง 41 คนและสีแดง 6 คน
ขณะที่ศูนย์แรกรับ-ส่งต่อนิมิบุตร กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 1 พ.ค.มีผู้ป่วยที่รอเตียง 68 คน แบ่งเป็นจากคอลเซนเตอร์ 62 คน และ Walk-in 6 คน และตอนนี้ส่งต่อรักษาแล้ว กรมการแพทย์ 17 คน สป. 4 คน กทม.10 คน เอกชน 23 คน และอื่นๆ 2 คน อยู่ระหว่างดำเนินการ จากนิมิบุตร 5 คนจากระบบ 1668 จำนวน 6 คน และรพ.ตำรวจ 1 คน
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ตายโควิดอีก 21 คน ป่วยรายวันเพิ่ม 1,940 คนอาการหนักเฉียดพัน
คนไทยแห่จองฉีดวัคซีนผ่าน "หมอพร้อม" 430,588 คน