วันนี้ (16 ก.ค.2564) พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษก ศบค.กล่าวว่า ที่ประชุม ศบค.พิจารณาแนวทางการฉีดวัคซีนสลับชนิด มีข้อสรุปว่า
สามารถใช้วัคซีนสลับชนิด โดยใช้ซิโนแวค เป็นเข็มที่ 1 และกระตุ้นเข็มที่ 2 ด้วยวัคซีนแอสตราเซเนกา โดยยืนยันว่า มติในที่ประชุมสามารถใช้สูตรผสมได้
ส่วนการฉีดวัคซีนบูสเตอร์ เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้กับบุคลากรทางการแพทย์ หลังจากก่อนหน้านี้ได้รับวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม โดยที่ประชุมศบค.มีมติอนุญาตให้ฉีดกระตุ้นด้วยแอสตราเซเนกา หรือวัคซีนเทคโนโลยี mRNA ที่สามารถนำมาใช้ในการฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้
นอกจากนี้ยังได้นำเสนอผลการตรวจหาเชื้อ COVID-19 ซึ่งได้ระดมการตรวจแบบเชิงรุก ให้ประชาชนวอล์กอินเข้ามาตรวจหาเชื้อวันละ 70,000-80,000 คน ยังไม่เพียงพอ
ดังนั้นจึงต้องใช้ชุด Antigen Test Kit มาตรวจหาเชื้อเพิ่มเติม ให้ประชาชนเข้าถึงการตรวจ เป็นการค้นหาผู้ติดเชื้อและเข้าระบบการรักษา
แต่ นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่า ในส่วนของ Antigen Test Kit เป็นการตรวจเข้าถึงง่าย ราคาไม่แพง แต่ยังห่วงเรื่องความแม่นยำ
เช่น หากไม่ติดเชื้อ แต่ผลออกมาว่าติดเชื้อได้ หรือเมื่อมาตรวจซ้ำไม่พบเชื้อ แต่ทางกลับกันหากติดเชื้อแต่มีผลคลาดเคลื่อน เพราะอาจจะยังรับเชื้อมาไม่เพียงพอจึงไม่พบเชื้อ
การให้เข้าถึง Antigen Test Kit แม้จะไม่เท่ากับการตรวจแบบ RT-PCR แต่ถ้าตรวจพบว่าเป็นผู้ติดเชื้อ ให้ติดต่อสถานพยาบาลใกล้บ้าน ไม่ต้องไปที่โรงพยาบาลใหญ่ๆ จะมีการดูแลประเมินในระดับกลุ่มสีเขียว เขียวอ่อน หรือเขียวเข้ม จะให้การดูแลให้แยกกักที่บ้านหรือ Home Isolation
แต่ถ้าติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อน จะมีการสถานที่แยกกักในชุมชน ซึ่งถ้าตรวจเจอในชุมชนแบบกลุ่มก้อน จะทำให้คนกลุ่มนี้ลดการแพร่ระบาด และช่วยสงวนเตียงในโรงพยาบาลที่มีระดับสีเหลือง สีแดงให้มีเตียงในการดูแล
กำชับผลลบแต่ไป พท.เสี่ยงให้ตรวจซ้ำ 3-5 วันอีกรอบ
นอกจากนี้ที่ประชุมหารือว่า ถ้าผลบวกต้องเข้าระบบการดูแลรักษา และถ้าเป็นกลุ่มที่สัมผัสเสี่ยงกับผู้ติดเชื้อ และมีประวัติในพื้นที่เสี่ยง แม้ผลตรวจจะลบ แต่ต้องตรวจซ้ำในวันที่ 3 หรือวันที่ 5 เพราะชุดตรวจอาจจะยังไม่มีความไวพอ ให้สำรวจอาการตัวเอง และต้องเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด
ขณะเดียวกันชุดตรวจยังถือเป็นอุปกรณ์การแพทย์ ให้ไปตรวจที่สถานพยาบาล และร้านขายยาที่มีเภสัชกร และไม่อนุญาตให้ขายในร้านสะดวกซื้อ รวมทั้งห้ามซื้อในระบบออนไลน์ เพราะอาจจะแปลผลผิด อนุญาตให้โรงงานที่มีคน 50 คน สามารถใช้ Antigen Test Kit ในการตรวจคัดกรองได้
นอกจากนี้ พญ.อภิสมัย ระบุอีกว่า นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข รายงานต่อที่ประชุมว่าการอนุญาตให้วางขาย Antigen Test Kit ในร้านขายยา เพื่อให้เภสัชกรที่ดูแลให้คำแนะนำได้
ส่วนกรณีโรงงานสถานประกอบการที่มีพนักงาน 50-100 คน จะใช้ชุดตรวจไปตรวจหาเชื้อได้หรือไม่ ทาง รมว.แรงงาน ขอให้รายงานว่า ในสถานประกอบการที่มีบุคลากรเกิน 50 คน จะมีสถานพยาบาลกำกับแล้ว ให้หาชุดตรวจไปใช้ได้
กักตัวที่บ้าน-ไม่ถูกทอดทิ้ง
สำหรับผู้ทีกักตัวที่บ้าน หรือ Home Isolation ยืนยันว่า จะไม่ถูกทอดทิ้ง ผู้ป่วยที่เข้าระบบนี้จะได้รับอุปกรณ์ ตรวจวัดอุณหภูมิ ตรวจวัดออกซิเจน และการโทรศัพท์ และเทเลเมดิซีน ประเมินสอบถามอาการจากบุคลากรทางการแพทย์ มีอาหารและยา เช่น ฟ้าทะลายโจร ฟาวิพิราเวียร์ เรียกว่าผู้ป่วยได้รับการดูแลตามมาตรฐาน
ขณะเดียวกันก็จะประเมินการตัดหาเตียงด้วย และในเงื่อนไขสำคัญคือ ไม่มีจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนเทอราปี ซึ่งเป็นเหตุผลทำให้ผู้ป่วยเลือกแยกกักในบ้านได้อย่างปลอดภัย
นอกจากนี้ยังย้ำว่าการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังต้องมีการประเมินอย่างถี่ถ้วนและว่าสามารถอยู่ได้ตามมาตรฐาน ส่วนระบบในโรงงงานใดที่พบการติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อน และแยกกักในชุมชนได้เอง
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
"สินมั่นคง" ยกเลิกประกันโควิดเจอจ่ายจบ พร้อมคืนเบี้ยประกันภัย
ติดเชื้อ COVID-19 สูงสุด 9,692 คน เสียชีวิต 67 คน