ไทยพีบีเอส รวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ ประเทศไทย สำนักงบประมาณและการเงิน ตร. และ กองสรรพาวุธ สำนักส่งกำลังบำรุง (สกบ.) ตร. พบว่า ทั้งงบประมาณและจำนวนอาวุธที่จัดซื้อ ช่วงปีงบประมาณ 2558-2564 มีแนวโน้มสูงขึ้น
ทั้งนี้ เนื่องจากยังไม่สิ้นสุดปีงบประมาณ 2564 จึงพบข้อมูลการจัดซื้ออาวุธเพียง 3 โครงการ อย่างไรก็ตามใน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 ระบุว่า ตร.ได้รับจัดสรรงบซื้ออาวุธทั้งหมด 26,450 รายการ วงเงินรวมกันกว่า 1,222 ล้านบาท
รวม 7 ปีอาวุธที่มีจำนวนมากที่สุดคือ ปืนลูกซอง ปืนพก ปืนเล็กยาว และอาวุธที่ได้งบประมาณมากที่สุดคือ ปืนเล็กยาว ปืนลูกซอง ปืนกลมือ ตามลำดับ ซึ่งสามารถดูตัวเลขได้จากภาพด้านล่างนี้
ตร.ใช้งบประมาณจัดซื้ออาวุธสูงมากในปี 2560, 2562, 2563 คิดเป็นร้อยละ 89 ของตลอด 7 ปี โดยเฉพาะปี 2562-2563 ที่คิดเป็นร้อยละ 59
ประเภทอาวุธที่ซื้อเป็นจำนวนมากของแต่ละปี
- ปี 2560 ปืนเล็กยาว 6,000 กระบอก
- ปี 2561 ปืนพก 4,550 กระบอก
- ปี 2562 ปืนลูกซอง 12,508 กระบอก
- ปี 2563 ปืนพก 6,960 กระบอก, ปืนช็อตไฟฟ้า 2,755 กระบอก, ปืนลูกซอง 2,462 กระบอก, ปืนกลมือ 1,740 กระบอก
ขณะที่อาวุธที่จัดซื้อบ่อยที่สุดคือ ปืนลูกซอง ปืนกลมือ ปืนเล็กสั้น ปืนซุ่มยิง และปืนพก ตามลำดับ
สำหรับหน่วยงานใน ตร.ที่ซื้ออาวุธมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 91 คือ กองสรรพาวุธ สำนักงานส่งกำลังบำรุง เป็นหน่วยงานหลักด้านยุทโธปกรณ์ของ ตร.
รองลงมาคือศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า ซึ่งเป็นศูนย์อำนวยการและควบคุมสั่งการตำรวจที่ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้
- กองสรรพาวุธ สกบ. จัดซื้อทุกปี
- ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า จัดซื้อ 3 ปี
-ปี 2562 ปืนกลมือ
-ปี 2563 ปืนกลมือ ปืนพก เครื่องยิงลูกระเบิด
-ปี 2564 เครื่องยิงลูกระเบิด - กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด จัดซื้อ 2 ปี
-ปี 2558 ปืนเล็กสั้น
-ปี 2559 ปืนเล็กสั้น ปืนพก - กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจนครบาล จัดซื้อปีเดียว
-ปี 2560 ปืนกลมือ ปืนยิงตาข่าย - ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ซึ่งยุบ ศชต.รวมกับ ภ.9 เมื่อปี 2560) จัดซื้อ 2 ปี
-ปี 2558 ปืนลูกซอง
-ปี 2560 ปืนซุ่มยิง - ฝ่ายอำนวยการ กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ บช.ตชด. จัดซื้อปีเดียว
-ปี 2560 ปืนซุ่มยิง ปืนลูกซอง เครื่องยิงลูกระเบิด
เอกชนผู้ชนะประกวดราคา
ตลอด 7 ปีมีเอกชน 21 บริษัทที่ชนะการประกวดราคาจัดซื้ออาวุธรวมมูลค่า 2,313 ล้านบาท
4 บริษัทรวมมูลค่างานมากที่สุดได้แก่
- Israel Weapon Industries (IWI) Ltd. 506 ล้านบาท
- บจก.ฟิกซ์เทค 402 ล้านบาท
- บจก.จี.เอ.เอ.เอ็นเตอร์ไพรส์ (ไทยแลนด์) 348 ล้านบาท
- บจก.รอยัล ดีเฟนส์ 301 ล้านบาท
โดย Israel Weapon Industries (IWI) Ltd. ได้งาน 1 ครั้ง ส่วนบริษัทที่ชนะการประกวดราคามากที่สุดคือ บจก.จี.เอ.เอ.เอ็นเตอร์ไพรส์ (ไทยแลนด์) และบจก.กาญจส์ คอร์ปอเรชั่น ได้รับงาน 4 ปี