ฟันเลี่ยมทอง กำไลหยก ต่างหู และแหวน สมบัติจากหลายร่างที่ถูกขุดขึ้นมาจากสุสานปากน้ำ จ.สมุทรปราการ เมื่อหลายปีก่อน ได้ถูกนำไปเก็บไว้ที่สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย เพื่อรอทำพิธีรวมในเดือน พ.ค. 2568 นี้ สิ่งของดังกล่าว อาจเป็นของมีค่าชิ้นสุดท้ายของเหล่า “อากง อาม่า” ที่เหลือทิ้งไว้ให้ลูกหลานระลึกถึงเป็นครั้งสุดท้าย
สำหรับชุดที่ขุดเจอร่างและฟันเลี่ยมทอง เป็นของสุสานปากน้ำ ที่ขึ้นอยู่กับสมาคมแต้จิ๋วที่ จ.สมุทรปราการ เมื่อ 2-3 ปีแล้ว และเป็นหลุมสุดท้ายที่ถูกฝังมานานไม่ต่ำกว่า 65-70 ปี พื้นที่ตรงนี้ ถูกทิ้งร้างมานานมาก จนหญ้าขึ้นปกคลุม ไม่มีคนเข้าไปไหว้และทำความสะอาด ซึ่งอาจไม่ได้เกิดจากลูกหลานทอดทิ้งไม่เข้าไปดูแล

ภาพโดย: วสันต์ วณิชชากร
ภาพโดย: วสันต์ วณิชชากร
แต่สาเหตุเกิดจากการขาดรุ่นในการสานต่อ กล่าวคือ คนรุ่นลูก ไม่ได้พารุ่นหลานไปทำพิธี จึงไม่มีใครทราบร่างของ อากง อาม่า อยู่เก็บไว้ในสถานที่ดังกล่าว ร่างที่พบคาดว่า เป็นของชาวจีนรุ่นแรกๆ ที่อพยพเข้ามาอยู่ในเมืองไทย
และคาดว่าเป็นกลุ่มที่มีฐานะปานกลาง เช่น บ้านอยู่กรุงเทพ แต่ฮวงซุ้ย อากง อามา อยู่ที่ จ. ชลบุรี สระบุรี พัทยา เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา ..คนเหล่านี้มาเตรียมซื้อที่เพื่อฝังตัวเอง และให้ พ่อ-แม่ ต่างจากกลุ่มร่างที่ถูกเก็บไว้ที่ป่าช้าวัดดอน ซึ่งเป็นผู้มีฐานะและมีเงินมากพอที่จะซื้อที่ดินเป็นล็อก ๆ สำหรับตัวเอง
ในปี 2568 นี้ มูลนิธิสว่างศรัทธาธรรมสถานฉะเชิงเทรา ได้จัดพิธีมหากุศล “ล้างป่าช้า” โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงเดือนมี.ค-เม.ย. ที่ผ่านมา และในวันพรุ่งนี้ ( 5 เม.ย.2568) จะเป็นวันสุดท้ายของพิธีปิดป่าช้าของที่นี่

ภาพโดย : วสันต์ วณิชชากร
ภาพโดย : วสันต์ วณิชชากร
หลังจากมีพิธีขุดหาศพที่ จ.สระแก้ว จ.ปราจีนบุรี เมื่อวันที่ 29-30 มี.ค.โดยได้ ทำการขุดศพไร้ญาติที่ถูกฝังไว้นานกว่า 30 ปี ได้ถึง 126 ร่าง เพื่อนำมาทำพิธีเรียกวิญญาณและนำโครงกระดูกทั้งหมดไปทำพิธีรวมกันที่ศาลาแปดเซียน และจัดให้มีการสวดอภิธรรมทุกวัน
สำหรับที่ จ.ฉะเชิงเทรา ได้มีพิธีล้างป่าช้าล่าสุด เมื่อ 12 ปีที่แล้ว ส่วนที่จ.สระแก้ว ได้จัดให้มีพิธีดังกล่าวมานานกว่า 60 ปีแล้ว และจัดขึ้นอีกครั้งที่มูลนิธิโรจน์สมบูรณ์ที่ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา ภายใน 3-4 ปีข้างหน้า เนื่องจากเคยจัดไปครั้งล่าสุดเมื่อ 38 ปีที่แล้ว

ภาพโดย : วสันต์ วณิชชากร
ภาพโดย : วสันต์ วณิชชากร
“การจัดพิธีล้างป่าช้า ไม่ว่าจะเป็นของมูลนิธิไหน หรือ องค์กรใด ไม่ต่างกัน สุสานสมัยก่อนจะมีการนำร่างไปฝังดิน มีป้าย ฝังรวมกันนาน ๆ มี ญาติมาดูแล กราบไหว้บ้าง ไม่มีมาก นาน ๆ เข้าก็มีจำนวนมาก รวมร่างได้เยอะ ๆ ถึงจะขุดขึ้นมาทำพิธี ไม่รู้ใครอยู่ตรงไหน ต้องให้เซียนซือ มาทำพิธีจิ้มลงที่ดิน เพราะไม่มีตำแหน่ง ไม่มีไม้ปัก เพื่อหาร่างที่ถูกฝังอยู่ ทุกครั้งก็มักจะเจอ และก็ไม่สามารถอธิบายได้ว่า ทำไมถึงพบ บางที สิ่งที่มองไม่เห็น ก็ไม่ได้หมายความว่า ไม่มีอยู่จริง” อาสาสมัครคนหนึ่ง ประจำมูลนิธิสว่างศรัทธาธรรมสถาน จ.ฉะเชิงเทรา ให้ข้อมูล

ภาพโดย:วสันต์ วณิชชากร
ภาพโดย:วสันต์ วณิชชากร
สำหรับพิธีการล้างป่าช้า ถือว่าเป็นงานการกุศล ที่ประชาชนให้ความสำคัญและมักเข้าร่วมพิธีจำนวนมาก ถือเป็นงานบุญ ให้กับมีร่างไร้ญาติ หรือ บางคนมีญาติ แต่เขาอาจขาดทุนทรัพย์ในการจัดงานศพ อย่างไรก็ตาม หลังจากเสร็จสิ้นพิธีแล้ว อัฐิทั้งหมดจะเอาไปฝังไว้ในสุสานรวมของมูลนิธิฯ เพื่อเวลามีพิธี เช้งเม้ง ลูกหลานก็จะได้ไปทำพิธีไหว้บรรพบุรุษ

ภาพโดย : วสันต์ วณิชชากร
ภาพโดย : วสันต์ วณิชชากร
“ในกรณีที่ร่างถูกขุดขึ้นมาแล้วมีญาติมาติดต่อ เพื่อขอนำร่างมาเผา ลอยอังคารเอง ก็มี หรือบารายขอก็ย้ายร่างไปฝังไปสุสานอื่น ก็ได้ขึ้นอยู่กับความสะดวกของเขา ...ส่วน ฟันทอง กำไลหยกโบราณ แหวน ที่พบจากร่างที่ขุดจากสุสานปากน้ำ คงขึ้นอยู่กับเซียนซือ จะตัดสินใจอย่างไร คือ อาจจะเผาไปกับร่าง หรือเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ที่สมาคมแต้จิ๋วเพื่อเก็บไว้ให้คนรุ่นหลังได้ดูเป็นอนุสรณ์
ขอขอบคุณภาพจาก : วสันต์ วณิชชากร
โททนต์เสน่งคง สำคัญหมาย ในกายมี
นรชาติวางวาย มลายสิ้น ทั้งอินทรีย์
สถิตย์ทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ ในโลกา