ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ผู้เอาประกันภัย COVID-19 ร้อง บ.ประกัน "เจอแต่ไม่จ่าย"

เศรษฐกิจ
7 ก.ย. 64
10:53
1,090
Logo Thai PBS
ผู้เอาประกันภัย COVID-19 ร้อง บ.ประกัน "เจอแต่ไม่จ่าย"
เจออีกบริษัทประกันภัย "ติดโควิดแต่จ่ายช้า" ผู้เอาประกันภัย COVID-19 เจอจ่ายจบ นัดรวมตัวร้องขอเจอผู้บริหาร ทวงถามความชัดเจนเมื่อไหรจะจ่ายค้าสินไหม อ้างตรวจสอบเอกสารกับโรงพยาบาล

เกิดเหตุผู้เอาประกันภัยเดินทางมาร้องที่หน้าบริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน)  เพื่อทวงถามความชัดเจนการจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 ประเภท "เจอจ่ายจบ" ล่าช้านาน 1-2 เดือน พร้อมกับชูป้ายว่า บริษัทประกันภัยเพิกเฉยต่อคำสั่งของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

ระหว่างการร้องเรียนเกิดเหตุวุ่นวายเล็กน้อย เนื่องจากผู้ประเอากันพยายามเข้าภายในอาคารเพื่อตะโกนเรียกให้ผู้บริหารลงมาชี้แจงในการจ่ายค่าสินไหมที่ล่าช้า

น.ส.พรศรี โพธิ์ทอง ผู้เอาประกันภัย COVID-19 เปิดเผยว่า ติดเชื้อโรค COVID-19 ตั้งแต่วันที่ 22 ก.ค.2564 และได้ดำเนินการส่งเอกสาร กรรมธรรม์ ใบรับรองแพทย์ ที่ระบุการติดเชื้อฉบับจริงให้กับบริษัท ตามเงื่อนไข แต่ยังไม่รับการติดต่อจากบริษัท ซึ่งเกินกำหนดการจ่ายค่าสินค่าสินไหม 15 วัน มีเพียง SMS ที่แจ้งสถานะอยู่ระหว่างตรวจสอบจากโรงพยาบาล แม้ว่าจะมีใบรับรองแพทย์ชัดเจน ยอมรับว่า การจ่ายเงินล่าช้ากระทบต่อความเชื่อมั่นอย่างมาก และไม่มั่นใจว่าจะได้รับเงินประกันเมื่อใด

เช่นเดียวกับนายบุญธรรม เยรัมย์ ผู้เอาประกันภัย ยอมรับว่า ได้ทำประกันภัย COVID-19 เจอจ่ายจบ และเงินชดเชยรายวันวันละ 1,000 บาท เมื่อติดโรค COVID-19 ได้พยามติดต่อเจ้าหน้าที่บริษัทประกัน แต่ไม่สามารถติดต่อได้ จนเวลาล่วงเลยมานาน 1-2 เดือนแล้ว จึงรวมกลุ่มกันเดินทางมาเรียกร้องความชัดเจน

ช่วงที่ผ่านมา คปภ.ได้ออกคำสั่งมาตรการเร่งด่วนซึ่งมีช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยตามที่ร้องเรียนมายัง คปภ.โดยจะเข้าตรวจสอบข้อมูลบริษัทในเชิงลึก เพื่อติดตามสภาพปัญหาและกำชับการดำเนินการ มาตรการออกคำสั่งซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.2564

นอกจากนี้ ยังได้ออกคำสั่งตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเพิ่มอีก 4 ชุด เพื่อช่วยกลั่นกรองและพิจารณาเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย กรณีที่มีปัญหาข้อโต้แย้ง และจะหารือร่วมกับผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงสาธารณสุข แพทยสภา สมาคมโรงพยาบาลเอกชน สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สภาองค์กรผู้บริโภค สมาคมประกันชีวิตไทย และสมาคมประกันวินาศภัยไทย ภายในวันที่ 15 ก.ย.2564 เพื่อให้เกิดความชัดเจนและใช้เป็นแนวทางปฏิบัติให้ตรงกันต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง