ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ไต่สวนมูลฟ้องนัดแรก! คดีปิดปาก NGO แบนสารเคมี

Logo Thai PBS
ไต่สวนมูลฟ้องนัดแรก! คดีปิดปาก NGO แบนสารเคมี
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
พร้อมสู้คดีปิดปาก "วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ" ผอ.มูลนิธิไบโอไทย พร้อมกลุ่มเครือข่าย Thai-PAN เดินทางมาศาลอาญา นัดไต่สวนมูลฟ้องนัดแรก คดีหมิ่นประมาท และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ปมออกมาเคลื่อนไหวแบน 3 สารเคมีอันตราย

วันนี้ (1 พ.ย.2564) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม( EnLAW ) พร้อมกลุ่มเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) ภาคีเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อม ร่วมให้กำลังใจ นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ นักปกป้องสิทธิมนุษยชนด้านสิ่งแวดล้อม และเลขาธิการมูลนิธิชีววิถี (BioThai) ถูกสมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย ฟ้องในคดีหมิ่นประมาท และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ในการออกมาเคลื่อนไหวแบน 3 สารเคมีอันตราย โดยวันนี้ ศาลอาญา รัชดาภิเษก นัดไต่สวนมูลฟ้องนัดแรก

สำหรับกิจกรรมครั้งนี้ ยังมีการเพื่อฟังคำแถลงคัดค้านการใช้กฎหมายฟ้องปิดปาก การเปิดโปงพิษภัยร้ายแรงของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ถูกแบนได้แก่พาราควอต สารพิษที่ 60 ประเทศยกเลิกการใช้แล้ว คลอร์ไพริฟอส สารพิษทำลายสมองเด็กและทารกซึ่งอียูและสหรัฐประกาศแบนเป็นทางการเมื่อเร็วๆนี้ รวมทั้งการจำกัดการใช้ไกลโฟเซต สารก่อมะเร็งที่บริษัทผลิต และจำหน่ายต้องใช้เงินไกล่เกลี่ยคดีกว่าสามแสนล้านบาทแก่ผู้ฟ้องคดีในสหรัฐฯ

ไทยพีบีเอสออนไลน์ สัมภาษณ์ตัวแทน มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) ระบุว่าการฟ้องร้องครั้งนี้ มีการแต่งตั้งทนาย 2 คน จากมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยในการฟ้องร้องคดีครั้งนี้ให้กับ นายวิฑูรย์  โดยวันนี้ศาลอาญาฯ นัดไต่สวนมูลฟ้องนัดแรก ซึ่งนายวิฑูรย์ ไม่ได้มีสีหน้าเคร่งเครียด พร้อมต่อสู่ในขั้นศาล โดยจะเอาความจริงมาต่อสู้  

อ่านข่าวเพิ่ม ทนายความมั่นใจสู้ได้ "ฟ้องปิดปาก" นักสิ่งแวดล้อม กรณีสารเคมีเกษตร

 

2 ข้อหาฟ้องวิฑูรย์-นักกฎหมายชี้คดีฟ้องปิดปาก

สำหรับคดีดังกล่าว นางจรรยา มณีโชติ ในฐานะนายกสมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย ได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลบางเขน เพื่อให้ดำเนินคดีกับนายวิฑูรย์ ฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาและกระทำความผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และได้นำคดีมาฟ้องต่อศาลอาญา เมื่อวันที่ 17 มี.ค.2564 เป็นคดีหมายเลขดำ อ.642/2564 ซึ่งศาลอาญามีกำหนดนัดได่สวนมูลฟ้อง 1 พ.ย.นี้

กลุ่มทนายความด้านสิทธิมนุษยชนเห็นว่า การฟ้องร้องครั้งนี้ ไม่ใช่การต่อสู้ในข้อหาหมิ่นประมาท หรือ
ดวามผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทั่วไป แต่เป็นการต่อสู้กับการการฟ้องปิดปาก (Strategic Lawsuit Against PublicParticipation:SLAPP) หรือการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อต่อต้านการมีส่วนร่วมของสาธารณชน

มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม จึงเข้าเป็นทีมสนับสนุนการใช้สิทธิในการต่อสู้คดีดังกล่าว เพราะก่อนหน้านี้มีนักปกป้องสิทธิมนุษยชนถูกฟ้องปิดปากในคดีลักษณะเดียวกันอีกเป็นจำนวนมาก ถึงเวลาแล้วที่นักปกป้องสิทธิมนุษยชน

โดยเฉพาะข้อกล่าวหาว่านำความเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ จากกรณีเพจ BIOTHAI ของมูลนิธิชีววิถี ซึ่งวิฑูรย์ เป็น ผอ.มูลนิธิ นำข้อความเผยแพร่ของผู้ฟ้องคดีเกี่ยวกับความเป็นพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมาเผยแพร่ โดยเพจ BIOTHAI นำภาพและข้อความ (ซึ่งได้เบลอชื่อของผู้ฟ้องคดีแล้ว) ที่อาจสร้างความเข้าใจผิดต่อสาธารณะมาขีดฆ่า

พร้อมให้ข้อมูลที่ถูกต้องว่า ความเป็นอันตรายของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชนั้นไม่ได้มีเพียงการระบุสีของฉลากว่ามีความเป็นพิษเฉียบพลันเท่านั้น แต่ความเป็นอันตรายยังมีความเป็นพิษเรื้อรัง เช่น การก่อมะเร็ง มีผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ และผลกระทบต่อระบบประสาท เป็นต้น

โดยในการต่อสู้คดีทีมทนายความได้นำเอกสารหลักฐานจากกรมวิชาการเกษตร และองค์การอนามัยโลก (WHO) มายืนยันต่อศาลและสาธารณะว่าข้อมูลของผู้ฟ้องคดีไม่ถูกต้อง มูลนิธิชีววิถี จำเป็นต้องชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อให้ประชาชนรับทราบ เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเข้าใจผิดซึ่งจะเกิดอันตรายต่อเกษตรกรและประชาชนหากได้รับสัมผัสสารอันตรายดังกล่าว

อ่านข่าวเพิ่ม ใครบ้างที่เคยถูก “ฟ้องปิดปาก”

ซึ่งวิฑูรย์ ได้ชี้ให้เห็นว่า การเสนอให้ยกเลิก และจำกัดการใช้ 3 สารพิษ ได้รับการสนับสนุนจากแทบทุกฝ่าย เช่น ผู้ตรวจการแผ่นดิน แพทยสภา สภาเภสัชกรรม สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ 2 คณะ สภาเกษตรกรแห่งชาติ องค์กรต่อต้านคอรัปชั่น 

นอกจากนี้ สภาผู้แทนราษฎรยังมีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบด้วยเสียง 423 ต่อ 0 ต่อข้อเสนอของกรรมาธิการวิสามัญศึกษาการใช้สารเคมีทางการเกษตร ให้มีการยกเลิกการใช้สารพิษดังกล่าวทั้ง 3 ชนิด จนในที่สุดคณะกรรมการวัตถุอันตรายได้มีมติให้มีการยกเลิกพาราควอต และคลอร์ไพริฟอส และจำกัดการใช้ไกลโฟเซต โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.2563 เหตุผลการแบนไม่มีแรงจูงใจใดๆนอกจากความต้องการระบบเกษตรกรรมและอาหารที่ปลอดภัย

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง