ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"พลายโค้ก" ช้างป่าต่อสู้บาดเจ็บ อาการดีขึ้น-เดินกลับป่าแล้ว

สิ่งแวดล้อม
12 ม.ค. 65
14:56
913
Logo Thai PBS
"พลายโค้ก" ช้างป่าต่อสู้บาดเจ็บ อาการดีขึ้น-เดินกลับป่าแล้ว
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สัตวแพทย์และเจ้าหน้าที่ เข้าช่วยเหลือ-ให้ยารักษา "พลายโค้ก" ช้างป่าบาดเจ็บในพื้นที่ อ.เขาชะเมา ระยอง พบบาดแผลถูกงาแทงจากการต่อสู้กันเองของช้างป่า ล่าสุดอาการดีขึ้น และเดินเข้าไปในพื้นที่ป่าแล้ว

วันนี้ (12 ม.ค.2565) น.ส.สุนิตา วิงวอน นายสัตวแพทย์ปฏิบัติการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 เปิดเผยความคืบหน้ากรณีช้างป่าชื่อ "โค้ก" ได้รับบาดเจ็บในพื้นที่ อ.เขาชะเมา จ.ระยอง ว่า ล่าสุดเจ้าหน้าที่แจ้งว่าได้เฝ้าช้างป่าตัวดังกล่าวจนถึงประมาณ 24.00 น. ซึ่งช้างได้ขยับเข้าไปในพื้นป่าแล้ว ลักษณะการเดินดีขึ้น ไม่มีอาการเดินลากขา

กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

 

ก่อนหน้านี้ วันที่ 11 ม.ค.ที่ผ่านมา ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า ส่งทีมสัตวแพทย์สังเกตอาการและประเมินอาการบาดเจ็บของช้างป่าในพื้นที่บริเวณหมู่ที่ 5 ต.ห้วยทับมอญ อ.เขาชะเมา จ.ระยอง ตามที่ได้รับการประสานจากหัวหน้าชุดเคลื่อนที่เร็วเฝ้าระวังและผลักดันช้างป่าฯ ที่ 6

สัตวแพทย์พร้อมทีมเจ้าหน้าที่ได้เข้าพื้นที่ตามที่แจ้ง เมื่อเวลา 11.30 น. ของวานนี้ พบว่าช้างป่าดังกล่าวนอนหลับอยู่ในคูน้ำเล็ก ๆ และด้วยพื้นที่โดยรอบเป็นป่าทึบ ไม่สามารถสังเกตเห็นบาดแผลได้ชัดเจน ประกอบกับกังวลว่าจะเกิดอันตรายต่อคน จึงไม่ตัดสินใจดำเนินการในขณะนั้น 

ต่อมาเวลา 15.10 น. หัวหน้าชุดเคลื่อนที่เร็วเฝ้าระวังและผลักดันช้างป่าฯ ที่ 6 ได้เดินทางมาถึง ณ จุดช้างดังกล่าวอยู่ จึงได้ร่วมดำเนินการเข้าไปสังเกตอาการ และบาดแผลช้าง กระทั่งเวลา 17.00 น. ทีมสัตวแพทย์และเจ้าหน้าที่ ขสป.อ่างฤๅไน พร้อมด้วยนายพิทักษ์ ยิ่งยง หน.ขสป.เขาเขียว-เขาชมพู่ ร่วมกันประเมินสถานการณ์ พบว่า บาดแผลยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นบาดแผลแบบใด และเนื่องจากไม่สามารถเข้าถึงตัวช้างป่าได้ระยะใกล้ เกรงว่าจะเกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน จึงได้ทำการยิงลูกดอกยาซึมเพื่อควบคุมช้างป่า และเข้าประเมินบาดแผลได้ในระยะใกล้

กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

บาดเจ็บจากการต่อสู้กันเองของช้างป่า

จากการนำเครื่องตรวจโลหะสแกนบริเวณปากแผล และตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายช้าง ผลตรวจไม่พบสัญญาณการแจ้งเตือนโลหะ ซึ่งบาดแผลที่บริเวณต้นขาหน้าข้างขวา ลักษณะเป็นแผลเปิดขอบแผลไม่เรียบ ความยาว 15 ซม. ไม่ลึกถึงกระดูก ไม่ใช่บาดแผลจากกระสุนปืน แต่เป็นแผลจากการสู้กันระหว่างช้างป่า (งาแทง)

สัตวแพทย์จึงได้ทำการล้างแผล ให้ยาลดอักเสบ และยาแก้ฤทธิ์ยาซึม พร้อมเฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิดจนช้างฟื้นจากฤทธิ์ยาซึมดีแล้ว ใช้เวลาในการดำเนินการรักษาประมาณ 1.30 ชม. ทั้งนี้ได้มอบหมายให้หัวหน้าหน่วยพิทักษ์ป่าสีรมัน พร้อมเจ้าหน้าที่ติดตามอาการช้างป่าตัวดังกล่าวและเฝ้าระวังช้างป่าตัวอื่นไม่ให้เข้ามาทำร้าย

กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง