ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รู้ยัง? ระนองมี "ภูเขาไฟใต้ทะเล" ห่างไทย 700 กม.

ภัยพิบัติ
31 ม.ค. 65
16:00
4,762
Logo Thai PBS
รู้ยัง? ระนองมี "ภูเขาไฟใต้ทะเล" ห่างไทย 700 กม.
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมอุตุนิยมวิทยา ยืนยันไทยก็มีภูเขาไฟใต้ทะเลห่างจาก จ.ระนอง 700 กิโลเมตร ซึ่งใกล้กับจุดที่เฝ้าระวังแผ่นดินไหวและสึนามิมุดตัวระหว่างแผ่นเปลือกโลกอินเดียออสเตรเลียและแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย กรมทรัพยากรธรณี ชี้มีจริง ส่วนบนบกดับสนิทแล้วที่ปราสาทพนมรุ้ง

กรณีเกิดภูเขาใต้ทะเลระเบิดที่ประเทศตองกา เมื่อวันที่ 15 ม.ค.ที่ผ่านมาส่งผลให้เกิดคลื่นสึนามิ จนในมหาสมุทรแปซิฟิกหลายประเทศ หลายประเทศออกคำเตือนสึนามิสูง 1.2 เมตรซัดเข้าหาชายฝั่ง โดยหลายประเทศรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือน เช่น ฟิจิ และวานูอาตู

วันนี้ (31 ม.ค.2565) เฟซบุ๊ก Anti-Fake News Center Thailand ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย ยืนยันกรณีที่กระแสข่าวว่า พบภูเขาไฟใต้ทะเลห่างจาก จ.ระนอง 700 กิโลเมตร เป็นจุดเฝ้าระวังแผ่นดินไหวและสึนามิ

โดยทางเพจศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย ระบุว่า ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง พบภูเขาไฟใต้ทะเลห่างจาก จ.ระนอง 700 กิโลเมตร เป็นจุดเฝ้าระวังแผ่นดินไหวและสึนามิ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลจริง

พบภูเขาไฟใต้ทะเลห่างจาก จ.ระนอง 700 กิโลเมตร เป็นจุดเฝ้าระวังแผ่นดินไหวและสึนามิแนวมุดตัวระหว่างแผ่นเปลือกโลกอินเดียออสเตรเลียกับแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย เป็นบริเวณที่มีเหตุการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้นเป็นประจำและมีภูเขาไฟกระจายอยู่ตามแนวมุดตัวนี้อยู่แล้ว ตามแนวหมู่เกาะอันดามันนิโคบาร์ และหมู่เกาะสุมาตรา ซึ่งอยู่ห่างออกไปจากแนวชายฝั่งตะวันตกของประเทศไทยไปประมาณ 600-700 กิโลเมตร

ส่วนสาเหตุการเกิดสึนามิที่สามารถสร้างความเสียหายได้ส่วนใหญ่เกิดจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่มีการยกมวลน้ำเป็นบริเวณกว้างมากกินพื้นที่หลายร้อยกิโลเมตร ซึ่งต่างจากการระเบิดของภูเขาไฟที่เป็นจุดเดียว และพื้นที่การยกตัวของมวลน้ำไม่มาก

อย่างไรก็ตาม ทั้งเหตุการณ์แผ่นดินไหว และภูเขาไฟระเบิด ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่จะทำให้เกิดสึนามิในบริเวณฝั่งอันดามัน กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถแจ้งเตือนการเกิดสึนามิไปสู่ประชาชนได้อย่างรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ 

นายสุวิทย์ โควสุวรรณ ผอ.ส่วนวิจัยรอยเลื่อนมีพลัง กรมทรัพยากรธรณี ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ว่า ภูเขาไฟใกล้ จ.ระนองมีจริง แต่ไม่ได้มีความเสี่ยงแบบกรณีของภูเขาไฟใต้ทะเลตองกา ที่เป็นภูเขาไฟใต้น้ำยอดปล่องทะลเหนือทะเล 150 เมตร ส่วนภูเขาไฟที่ใกล้จ.ระนอง ชื่อบาเร็น Barren Volcano  ซึ่งอยู่บนเกาะนิโคบาร์อันดามัน เป็นเกาะขนาดใหญ่มีภูเขาไฟอยู่บนเกาะที่ผ่านมามีการปะทุแต่ไม่มีเคยมีลาวาลงทะเล และอยู่บนเกาะ

ภูเขาไฟบาเร็น Barren Volcano อยู่ในมหาสมุทรอินเดีย เป็นภูเขาไฟที่ใกล้ไทยมากที่สุด ประวัติเคยปะทุ แต่ไม่อันตรายเท่าตองกา ส่วนปล่องภูเขาไฟบนบกในไทย มีที่จ.บุรีรัมย์์ ดับสนิทไปแบ้ว 1 ล้านปีเป็นที่ตั้งปราสาทพนมรุ้ง เป็นภูเขาที่ดับสนิทแล้ว 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไขคำตอบ! Hunga-Tonga ภูเขาไฟใต้น้ำระเบิดสึนามิสะเทือนโลก

ภาพถ่ายดาวเทียมวินาที "ภูเขาไฟใต้น้ำระเบิด" สินามิถล่ม

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง