ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เช็ก 3 อาการ ภาวะ "หมดไฟในการทำงาน"

สังคม
5 พ.ค. 65
07:51
2,021
Logo Thai PBS
เช็ก 3 อาการ ภาวะ "หมดไฟในการทำงาน"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมสุขภาพจิต เผย 3 อาการ ภาวะหมดไฟในการทำงาน สูญเสียพลังงาน ขาดแรงจูงใจทำงาน ปฏิสัมพันธ์แย่ลง แนะวิธีรับมือเบื้องต้นให้แบ่งย่อยงาน มองบวก กระฉับกระเฉง ท้าทายความคิด

วันที่ 4 พ.ค.2565 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงภาวะหมดไฟในการทำงาน (burnout syndrome) ว่า ไม่ใช่โรคซึมเศร้า แต่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจที่เกิดจากความเครียดเรื้อรังในการทำงาน

3 อาการหลัก

  • รู้สึกสูญเสียพลังงาน มีภาวะอ่อนเพลียเวลาทำงาน
  • มีความรู้สึกต่อต้านและมองตนเองในทางลบ ขาดแรงจูงใจในการทำงาน
  • มีปฏิสัมพันธ์ในการทำงานที่แย่ลง

 

คนทำงานอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหมดไฟหากรู้สึกว่า ภาระงานหนัก ต้องทำในเวลาเร่งรีบ, ขาดอำนาจในการตัดสินใจ และมีปัญหาการเรียงลำดับความสำคัญของงาน, ไม่ได้รับการตอบแทน หรือรางวัลที่เพียงพอต่อสิ่งที่ได้ทุ่มเทไป, รู้สึกไร้ตัวตนในที่ทำงาน หรือไม่เป็นส่วนหนึ่งของทีม, ไม่ได้รับความยุติธรรม ขาดความเชื่อใจ, ระบบบริหารในที่ทำงานที่ขัดต่อคุณค่าและจุดมุ่งหมายในชีวิตของตนเอง หากคนทำงานเริ่มมีอาการเศร้า หดหู่ เบื่อหน่ายสิ่งรอบตัว รู้สึกทุกข์ทรมานกับการใช้ชีวิต หรือมีความคิดไม่อยากมีชีวิตอยู่ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ

 

หากไม่ได้จัดการภาวะ BURNOUT จะมีผลด้านจิตใจ สูญเสียแรงจูงใจ หมดหวัง ส่งผลให้มีอาการของภาวะซึมเศร้าและนอนไม่หลับได้, ผลด้านร่างกาย อาจพบอาการเหนื่อนล้าเรื้อรัง ปวดเมื่อย ปวดศีรษะ และผลต่อการทำงาน อาจขาดงานบ่อย ประสิทธิภาพการทำงานลดลง อาจคิดเรื่องลาออกในที่สุด

6 วิธีรับมือภาวะ "BURNOUT"

  • พยายามแบ่งย่อยงาน หากงานที่ต้องทำยากและลำบากที่จะเริ่มต้น ให้ลองแบ่งย่อยเป็นส่วน ๆ ที่ง่ายกว่า และให้เครดิตตัวเองในการทำให้เสร็จ
  • ให้ตัวเองรู้สึกบวกบ้าง ใช้เวลาว่างเพื่อคิดเรื่องดี ๆ ในชีวิต พยายามเขียนสิ่งที่รู้สึกขอบคุณอย่างน้อย 3 อย่างในแต่ละวัน
  • ท้าทายความคิด เริ่มโดยมีสติสำรวจความคิดทางลบที่เกิดขึ้นต่องานที่ทำอยู่ ตรวจสอบความเป็นไปได้ของความคิดเชิงลบ เชื่อมั่นว่าตัวเองสามารถทำได้ หรือทำได้เต็มที่แล้ว และปรับความคิดให้เป็นบวกมากขึ้น
  • กระฉับกระเฉงให้มากขึ้น ความกระตือรือร้นสามารถช่วยเผาผลาญพลังงานลบในสมองได้ แม้จะไม่ทำให้ความเครียดหายไปทันที แต่ทำให้เครียดน้อยลงได้
  • วางแผนล่วงหน้า จัดการกิจกรรมตึงเครียดที่กำลังจะเกิดขึ้น เช่น รายการสิ่งที่ต้องทำ การเดินทาง และสิ่งที่ต้องใช้งาน
  • คุยกับใครสักคน เช่น เพื่อนที่ไว้ใจได้ สมาชิกในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน หรือติดต่อสายด่วนสุขภาพจิต 1323

อย่างไรก็ตาม หากคนทำงานเริ่มมีอาการเศร้า หดหู่ เบื่อหน่ายสิ่งรอบตัว รู้สึกทุกข์ทรมานกับการใช้ชีวิต หรือมีความคิดไม่อยากมีชีวิตอยู่ ควรสงสัยว่าอาจเป็นโรคซึมเศร้า แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ

 

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง