ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เส้นทางลอบค้า "ปลาปิรันยา" เตือนครอบครองให้ทำลายทิ้ง

สิ่งแวดล้อม
27 ก.ย. 65
11:12
3,031
Logo Thai PBS
เส้นทางลอบค้า "ปลาปิรันยา" เตือนครอบครองให้ทำลายทิ้ง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมประมง เร่งขยายผลผู้ลอบค้าและครอบครองปลาปิรันยา พบกลุ่มนิยมสัตว์แปลกดุร้ายยอมจ่ายเงินซื้อปลาราคา 5,000-10,000 บาท พบเส้นทางเข้าไทยนำพ่อแม่พันธุ์มาเพาะก่อนปล่อยขายออนไลน์ เฉพาะปีนี้จับได้ 2 คดี เตือนครอบครองให้ทำลายทิ้งทันที ห้ามปล่อยลงแหล่งน้ำสุดอันตราย

ปลาปิรันยาแดง 6 ตัว เป็นของกลางในคดีที่กรมประมง ร่วมกับตำรวจ ปทส.ล่อซื้อจากการขายในออนไลน์ จากชายอายุ 21 ปี เมื่อวันที่ 19 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยนำมาดูแลที่อควาเรียมของกรมประมง

นายอานันต์ อัลมาตร์ ผอ.กองตรวจสอบเรือประมงสินค้าสัตว์น้ำ กรมประมง ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ว่า จากการตรวจสอบ ชายอายุ 21 ปี ที่ลอบค้าปลาปิรันยา อ้างว่ามีการขายมาแล้ว 1 ปี ไม่ยอมให้การซัดทอดไปยังบุคคลอื่น และไม่บอกว่าขายไปให้ใครบ้าง แต่พนักงานสอบสวนกำลังขยายผลไปยังกลุ่มผู้ซื้อ และติดตามการลักลอบขายในออนไลน์

รายนี้นับเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี หลังจากเมื่อปี 2561 เคยจับผู้ลอบค้าปิรันยาได้ 4 คดี ของกลางเป็นปลาปิรันยาถึง 21 ตัว

เส้นทางลอบค้าปิรันยา 

นายอานันต์ กล่าวอีกว่า ผู้นิยมเลี้ยงปลาปิรันยา เป็นกลุ่มเฉพาะที่นิยมเลี้ยงสัตว์แปลก ตามความเชื่อ เสริมดวง และคิดว่ามีความท้าทาย

อีกทั้งปลาปิรันยาราคาค่อนข้างแพง อายุ 4-5 เดือน หรือขนาดเท่าฝ่ามือ ตัวละ 5,000-10,000 บาท ขึ้นกับสี ขนาด และความสวยงาม และความพึงพอใจของคนซื้อการที่หายาก หาไม่ได้ง่าย เป็นความภูมิใจ แต่ไม่มองอันตราย เพราะถ้าหลุดในแหล่งน้ำแค่ตัวเดียวก็อันตรายมาก

เส้นทางการครอบครองปลาปิรันยา ต้องลักลอบเข้ามาอย่างเดียว มาทั้งสนามบินจากประเทศต้นกำเนิด โดยจะนำปลาขนาดเล็ก เป็นพ่อแม่พันธุ์เข้ามา 

 

ส่วนอีกเส้นทาง อาจส่งมาทางประเทศเพื่อนบ้าน และลอบเข้ามาทางช่องทางธรรมชาติ หลังมาจากประเทศต้นทางแล้ว ก็มาส่งต่อจากประเทศเพื่อนบ้านที่ชายแดนติดประเทศไทย ซึ่งแม้จะมีมาตรการควบคุมในช่องทางสนามบิน แต่ก็อาจจะหลุดรอดการเอ็กซเรย์ และการขอสุ่มตรวจได้ 

อ่านข่าวเพิ่ม จับหนุ่มลอบค้า "ปลาปิรันยา" ยึดของกลาง 6 ตัว

ห้ามเลี้ยงเด็ดขาดสุดอันตราย 

นายอานันต์ กล่าวว่า สำหรับปลาปิรันยา ทุกสายพันธุ์ กรมประมงประกาศห้ามครอบครองทั้งตัวปลา ไข่และน้ำเชื้อ ภายใต้ พ.ร.บ.ประมง พ.ศ.2559 และเคยมีการประกาศให้ผู้ที่ครอบครองนำมาส่งคืน และสิ้นสุดแล้วตั้งแต่ 31 ส.ค.2559 แต่ในรอบ 5-6 ปี ยังคงมีการจับผู้ลักลอบค้าได้หลายคดี

ถ้ามาจากลุ่มน้ำแอมะซอน จากโอริโนโก อาเจนตินาร์ จะมีความนิยมสูง และถือเป็นของแท้ ที่มีคนอยากครอบครอง โดยเฉพาะปิรันยา แดง เพราะจะมีเกล็ดแวววาว หายาก หาไม่ได้ เป็นความภูมิใจ แต่ไม่มองถึงอันตราย

 

นายอานันต์ กล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วง เพราะเป็นปลาดุร้าย อันตราย ถ้าโตเต็มที่ขนาดตัวยาว 33 ซม.และน้ำหนัก 3 กิโลกรัม อดทนสูงอยู่บนบกได้นาน 2 ชั่วโมง อยู่ในน้ำที่อุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส กินเนื้อเป็นอาหาร อยู่เป็นฝูง โจมตีเหยื่อ และฉีกกินเนื้อได้เหวอหวะ กินสัตว์น้ำได้ทุกชนิด มีอายุได้นานถึง 10 ปี และสามารถอาศัยในแหล่งน้ำธรรมชาติ

ปิรันยามีพฤติกรรมดุร้าย การจู่โจมเหยื่อเป็นฝูง ถ้าหลุดในแหล่งน้ำในไทยจะอันตรายมาก ขยายพันธุ์ได้ เป็นปลาที่กินเนื้้อทุกอย่าง ระบบนิเวศจะเสียหายมาก

 

ดังนั้นขอเตือนว่า ถ้าใครครอบครองปลาปิรันยา ขอให้ทำลายทิ้งอย่างเดียว ถ้ายังครอบครองจะมีความผิดโทษสูงสุดจำคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท และหากพบว่า แอบปล่อยลงแหล่งน้ำสาธารณะ โทษจะเพิ่มเป็นจำคุก 2 ปีปรับไม่เกิน 2 ล้านบาท

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง