ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

อนาคต ร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาด อาจจะไม่ทันรัฐบาลสมัยนี้?

สิ่งแวดล้อม
29 พ.ย. 65
09:59
427
Logo Thai PBS
อนาคต ร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาด อาจจะไม่ทันรัฐบาลสมัยนี้?
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อม จับตาดู ร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาด ของเครือข่ายอากาศสะอาด จะผ่านการพิจารณาทันอายุรัฐบาลนี้หรือไม่

หลังจาก นพ.กฤตไท ธนสมบัติกุล วัย 28 ปี อาจารย์ประจำศูนย์ระบาดวิทยาคลินิกและสถิติศาสตร์คลินิก ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เจ้าของเพจ "สู้ดิวะ" ได้บอกเล่าเรื่องราวว่าตัวเองตรวจเจอ "มะเร็งปอด" ระยะสุดท้าย ทั้งที่ออกกำลังกายเป็นประจำ กินอาหารคลีน ไม่สูบบุหรี่ ทำให้ผู้คนในโลกออนไลน์ส่งกำลังใจให้กับคุณหมออย่างล้นหลาม ขณะที่บางส่วนก็ตั้งข้อสังเกตว่า เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอาการ หรือ ฝุ่น PM 2.5 หรือไม่? และทำให้ร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาด ได้รับการพูดถึงอีกครั้ง

ก่อนหน้านี้ รศ.คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อม และผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายอากาศสะอาด ประเทศไทย เปิดเผยว่า ร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาด มีทั้งหมด 5 ฉบับ แต่ตอนนี้ถูกปัดตกไปแล้ว 2 ฉบับ เหลือเพียงร่างฯ ของพรรคเพื่อไทย, ร่างฯ ของ ส.ส พรรคพลังประชารัฐ และร่างฯ ของเครือข่ายอากาศสะอาด

รศ.คนึงนิจ กล่าวว่า สำหรับ ร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาด ของเครือข่ายอากาศสะอาด หลังจากยื่นเสนอต่อรัฐสภาไปเมื่อเดือน ม.ค.2565 ขณะนี้ ร่างฯ อยู่ระหว่างการพิจารณารับรองของนายกรัฐมนตรี ซึ่งยังตอบไม่ได้ว่าจะผ่านการพิจารณาทันอายุรัฐบาลนี้หรือไม่ เนื่องจากกฎหมายไม่ได้กำหนดกรอบระยะเวลาการพิจารณาของนายกรัฐมนตรี

หากมีการยุบสภา หรือรัฐบาลหมดวาระ ต้องรอให้นายกรัฐมนตรีของรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาพิจารณา ว่าจะรับรองหรือไม่รับรองต่อไป แต่หากทำได้เร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดี

สำหรับ ร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาด ของเครือข่ายฯ มีทั้งสิ้น 124 มาตรา รวม 8 หมวด ครอบคลุมทุกมิติของแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ และสร้างหลักหลายอย่างเอาไว้ เช่น สิทธิ์ที่จะหายใจอากาศสะอาด ซึ่งก่อให้เกิดหน้าที่ของรัฐตามมา, การจัดการร่วมระหว่างรัฐและประชาชน เพราะปัจจุบันปัญหามีเยอะมาก หากปล่อยให้มีการสั่งการจากด้านบนลงมาต่อไปเรื่อย ๆ จะไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นตอ และการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์มาช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิตของภาคเอกชน ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เป็นต้น

ส่วนกรณีที่ร่างฯ ฉบับนี้อาจจะถูกปัดตกไป รศ.คนึงนิจ กล่าวว่าต้องติดตามการทำงานของรัฐบาลที่มีความพยายามทำกฎหมายด้าน climate change ที่มีพื้นที่เชื่อมต่ออากาศสะอาด และตั้งกรมเกี่ยวกับ climate change ว่าจะทำอย่างไรที่จะเชื่อมต่อเรื่องนี้ได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง