เมื่อวันที่ 10 ก.พ.2566 ศ.เป็นหนึ่ง วานิชชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือ (AIT ) กล่าวว่า สำหรับไทยเองก็มีรอยเลื่อนจากแผ่นดินไหวที่มีโอกาสเกิดพลัง กว่า 10 รอยเลื่อน ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคเหนือ ฝั่งตะวันตก และภาคใต้ ขณะที่ไทย หากยังมีรอยเลื่อนที่หาไม่พบ อาจเสี่ยงเกิดแผ่นดินไหว ขนาด 6-7 ก็ได้ในอีก 100-1,000 ปี ดังนั้นโครงสร้างอาคารต้องรองรับให้ปลอดภัย
ด้าน รศ.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ผู้เชี่ยวชาญแผ่นดินไหว และหัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก ม.เกษตรศาสตร์ กล่าวว่า การแก้ปัญหาในประเทศไทย ต้องเร่งสำรวจลอยเลื่อนที่มีพลัง พร้อมกับการปรับปรุงโครงสร้างคณะอนุกรรมการแผ่นดินไหว พร้อมทำแผนที่เสี่ยงภัยให้พร้อม เพราะไทยเองยังมีอาคารเก่าที่เกิดก่อนมีกฎหมายควบคุมอาคารก่อนปี 2550 ดังนั้นการเร่งสำรวจจะลดความเสี่ยงภัยหากเกิดแผนดินไหวจากตึกถล่มได้
ขณะที่ วีระพงษ์ กังวานนวกุล ผอ.ฝ่ายวิจัยและขับเคลื่อนสังคมกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สะท้อนว่าที่ผ่านมา หลังเกิดแผ่นดินไหวในไทย นอกจากเรื่องการซ่อมแซมบ้านเรือน และการให้ความช่วยเหลือแล้ว ยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องของการเตรียมการรับมือหลายด้าน ทั้งการปรับสร้างอาคารที่แข็งแรง หรือ สร้างองค์ความรู้ให้ชุมชน ในการเตรียมรับมือเท่าที่ควร รวมถึงการออกแบบสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ เพื่อให้สามารถรับมือกับแผ่นดินไหวมากนัก