วันนี้ (21 เม.ย.2565) เวลา 18.00 น. ที่คอนเวนชั่นฮอลล์ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) จัดเวทีดีเบตใหญ่ ตั้งคำถามใน 5 ประเด็น เพื่อให้ผู้นำพรรคการเมือง 10 พรรค ร่วมกันตอบให้คนไทยได้รู้ถึงแนวคิด และแนวทางของแต่ละพรรคการเมือง ก่อนการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันที่ 14 พ.ค.นี้ โดยมี สุทธิชัย หยุ่น และ พรวดี ลาทนาดี ดำเนินรายการ ตลอดเวลา 2 ชั่วโมงครึ่ง
โดยช่วงที่สอง เป็นการตอบคำถามจากผลโหวตของประชาชน และเวทีในภูมิภาค มี 5 ประเด็นคือ
- นโยบายปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันในภาครัฐ
- นโยบายสวัสดิการสุขภาพถ้วนหน้าและเท่าเทียม
- นโยบายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และอากาศสะอาดยั่งยืน
- นโยบายแก้หนี้ แก้จน
- นโยบายเพื่อคนสูงวัย
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ไทยสร้างไทย ตอบคำถามนโยบายแก้หนี้ แก้จน : เรื่องแก้หนี้ สำคัญเพราะหนี้เราสูงมาก จึงต้องแก้หนี้ทั้งในระบบ นอกระบบ สำหรับ SME ที่เรียกว่ารหัส 26 คือ เป็นหนี้ดีมาก่อนแล้วมาเป็นหนี้เสีย จากนโยบายของรัฐช่วงโควิด จะพักหนี้ให้ รวมถึงเกษตรกร พักหนี้ 3 ปี ปลอดดอกเบี้ย 2 ปี เพื่อให้เขาได้ออกจากไอซียู
ส่วนนอกระบบไม่แจกบัตรคนจน จะให้บัตรเครดิตประชาชน เป็นบัตรที่จะอยู่ประจำตัวไปตลอดชีวิต ใช้กู้เงิน 5,000-50,000 ใช้เครดิตตัวเองค้ำประกัน ตราบที่ไม่โกง จะอยู่ในระบบนี้ไปตลอดชีวิต กู้ได้ถึง 50000 บาท ดอกเบี้ยไม่ถึง 1 % ต่อเดือน ไปล้างหนี้ไปตั้งตัว
ส่วนการแก้จนคือสร้างรายได้ จากอาหารต้องเป็นศูนย์กลางอาหารโลก เกษตรกรต้องกำหนดราคาขายได้เอง ท่องเที่ยวกระจายไปทั่วประเทศ มีนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพสูง รายได้สูง และเวอริ่งฮับ จะมาแทนเมดิคัลฮับ ที่เคยทำไว้เมื่อ 22 ปีก่อน ซึ่งจะขายซุปเปอร์ซอฟพาวเวอร์จะได้เงิน 5 ล้าน ภายใน 3-4 ปี จะขยายตลาดการค้า จาก 70 ล้านคน เป็น 3000 ล้านคน ใช้ไทยเชื่อมจีน และอินเดีย เพิ่มตลาดการค้าให้ประเทศทันที และใช้ใช้โลเคชั่นของไทย ให้กลับมาเป็นโกลบอลเกตเวลของภูมิภาคและของโลก
คุณหญิงสุดารัตน์จะผลักดันคลองไทยและศึกษาอย่างจริงจัง จะสร้างพื้นที่ให้เป็นพื้นที่การลงทุน ดึงดูดการลงทุนจากคนทั้งโลกให้มาอยู่ในไทย โดยจะศึกษาอย่างจริงจังและผลักดันจริง
วิทยา แก้วภราดัย จากรวมไทยสร้างชาติ กล่าวถึงนโยบายแก้หนี้-แก้จน ว่า หนี้มี 2 ประเภท คือ กู้หนี้เพื่อสร้างรายได้และหนี้ในระบบราชการ ซึ่งหนี้ในระบบราชการจะคิดดอกแพง ส่วนหนี้ที่มีปัญหาคือหนี้จากความจนที่พบในชนบท พรรครวมไทยสร้างชาติ จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าจากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ พรรคก้าวไกล เสนอนโยบาย 3 ท.สวัสดิการสุขภาพก้าวหน้า ระบุว่า 1.เพิ่มความเท่าเทียมในระบบ ปัจจุบันหมอ 1 คนใน กทม. รับคนไข้ 300 คน แต่หมอในบึงกาฬต้องรับถึง 3,000 คน ศูนย์ฉายมะเร็งมีแค่ 1/3 ประเทศ 22 จังหวัด ระยะทางการเดินทางไป รพ. ลำบาก
2.เพิ่มความเท่าทันในระบบ ต้องเท่าทันการป้องกันมากกว่ารักษา โดยกว่าเพิ่มวัคซีนให้มากขึ้น คัดกรอง 6 มะเร็งให้ประชาชน โดยไม่ต้องให้แพทย์สั่งให้คัดกรอง รวมถึงเท่าทันตสุขภาพจิตและสุขภาพกาย
3.ลดความทรหดของแพทย์-พยาบาล ทุกวันนี้ทำงาน 100 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรือ 14 ชั่วโมง/วัน 500-600 คนบุคคลากรทางการแพทย์ต้องย้ายไปอยู่ รพ.เอกชนเพราะทนไม่ได้ พรรคก้าวไกลเสนอ กม.ให้ทำงานไม่เกิน 60 ชั่วโมง/สัปดาห์ ทั้ง 3 ท.ใช้งบประมาณ 25,000 ล้านบาท
อนุทิน ชาญวีรกูล จากพรรคภูมิใจไทย ตอบคำถามการปราบคอร์รัปชันในระบบรัฐ ว่า รัฐธรรมนูญปัจจุบัน มีบทลงโทษกรณีทุจริตคอร์รัปชันเพียงพอแล้ว แต่ขอให้การบังคับใช้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และไม่เลือกปฏิบัติ
ช่วงอยู่ภาคเอกชน เจ็บปวดเรื่องของการถูกกีดกัน แต่พอได้มาบริหารประเทศ ทำให้ สธ.ไม่มีเรื่องนี้ ตลอด 4 ปี กีดกันไม่มีเลย ส่วน ATK เปิดกว้าง ให้ซื้อได้ในราคาไม่แพง ส่วนเรื่องคมนาคมที่บอกว่าพรรคตนเป็นคอร์รัปชัน แต่พอเรื่องถึงศาลแล้วศาลยกฟ้องหมด ถือว่าไม่มีคอร์รัปชัน แต่ประชาชนเสียโอกาสไปแล้ว ผู้ที่ร้องเรียนกลับโดน ป.ป.ช.ชี้มูล ขอให้เปิดโอกาสประชาชนมีส่วนร่วมติดตามและตรวจสอบเรื่องทุจริต
คอร์รัปชันต้องร่วมกันปราบ ผมปราบได้ในส่วนที่ทำงาน แต่ต่างหน่วยงานเรื่องน้ำเรื่องไฟ รัฐวิสาหกิจ ไม่ได้รับการตอบสนอง ตัดโอกาสคนที่ประมูลต่ำกว่าออกไป ขนาดรองนายกฯ โทรไปเองยังไม่กลัว แต่ครั้งหน้าเจอกัน เรื่องคอร์รัปชันยกให้อนุทิน
ด้าน นพ.พรหมมินทร์ เลิศสุริย์เดช จากพรรคเพื่อไทย : ถ้าเปรียบเทียบช่วงที่ผ่านมาพบว่าคอร์รัปชันเพิ่มขึ้น เพราะรัฐให้อำนาจข้าราชการมากเกินไป ซึ่งหัวไม่ส่าย หางไม่กระดิก ต้องปราบตั้งแต่ข้างบน ทำให้ระบบต่าง ๆ ของราชการโปร่งใสทุกขั้นตอน ส่วนการบังคับใช้กฎหมายอย่าเป็นเครื่องมือธุรกิจ สิ่งสำคัญ คือ ยาเสพติดและการพนัน เป็นส่วนหนึ่งที่เจ้าหน้าที่ทำมาหากิน พรรคเพื่อไทยจะใช้กฎหมายยึดทรัพย์
ส่วนนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม วราวุธ ศิลปะอาชา จากพรรคชาติไทยพัฒนา ตอบคำถามนโยบายสิ่งแวดล้อมและอากาศสะอาด ระบุว่า ในเมือง 70 % มาจากท้องถนน ทำให้พบว่าช่วงโควิด 2 ปีพบว่าอากาศดี
ระยะสั้นจะกวดขันตรวจจับควันดำ รถควันดำ ตรอ.ไหนปล่อยออกมา จะตามไปปิดตรอ. เข้มงวดสถานที่ก่อสร้าง ตรวจสภาพรถ
ระยะยาว จะส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ระบบขนส่งสาธารณะ ส่วนต่างจังหวัดภาคการเกษตร จะต้องนำเข้ามาเผาแบบระบบลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ระยะกลาง จะเสนอกฎหมาย Transboundary Haze Pollution Act ประเทศสิงคโปร์ หากลงทุนในต่างประเทศ ลาว เมียนมา ก่อผลกระทบจะลงโทษ ระยะยาว ผลักดันคาร์บอนเครดิต
เมื่อถามว่าทำไม เป็นรมต.มา 4 ปีแก้ไม่ได้ นายวราวุธ ระบุ เพราะสถานการณ์ไม่หนักหนา จากช่วงโควิด และลานิญา แต่ตอนนี้คนกลับมาใช้วิถีชีวิตแบบเดิม ปีหน้าจะหนักพอกับปีนี้ และเมื่อถามว่าถ้าเลือกตั้งกลับมาอยากมาทำงานที่ทส.หรือไม่
ไม่เกี่ยงเพราะคนที่จะตัดสินใจนั่งตรงนี้ทั้งหมด ขอให้รอการเลือกตั้งก่อน
ส่วน จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ จากพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ปัญหา PM2.5 มาจากในประเทศ และจากประเทศเพื่อนบ้าน ถ้าดูตัวเลขมาจากการเผาในที่โล่ง 25-40 % รองลงมาจราจร 20-30 โรงงาน-ก่อสร้าง 15-20 ต้องแก้ที่ต้นเหตุมลพิษ
ต้องส่งเสริมการใช้รถอีวี และพยายามดึงนักลงทุนมาในอีอีซี และระบบขนส่งมวลชนที่เชื่อมโยงกันทุกเส้นทาง ส่วนโรงงานแก้ไม่ได้ เพราะมีปัญหาไม่บังคับใช้กฎหมาย และต้องมี พ.ร.บ.อากาศสะอาด รวมทั้งการยกระดับในอาเซียนที่ต้องหารือกันให้ชัดเจน
เมื่อถามว่าจะบังคับได้หรือไม่ จุรินทร์ บอกว่า มีกฎหมายให้จัดการได้ แต่เข้าใจเกษตรกรถ้าไม่เผาก็ปลูกไม่ได้ ต้องลงไปให้ความเข้าใจเพราะจะได้ไม่คุ้มเสียและหาแรงจูงใจอื่น ๆ ให้กับเกษตรกร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากนั้นพิธีกรได้เปิดโอกาสให้ผืร่วมดีเบต ตอบคำถามในประเด็นคอร์รัปชัน ซึ่งนายจุรินทร์ กล่าวถึงการซื้อเสียงว่า สิ่งที่จะช่วยได้คือประชาชน ต้องไม่สนับสนุนนักการเมืองที่ซื้อเสียง เพราะตรงนี้คือการนับหนึ่งถ้าเข้ามามีอำนาจ คือการมาถอนทุนคืน คนที่ขาดทุนคือประชาชนได้เงิน 500-1,000 บาท แทนที่จะได้ 100 สะพาน 1,000 โรงพยาบาล โรงเรียน 20,000 แห่งจะได้ไม่ครบ
คนที่เสียหายสุดท้าย คือประชาชน และเศรษฐกิจ ถ้ามีคอร์รัปชัน การทุจริตมากต่างประเทศจะไม่มาลงทุน เพราะต้องจ่ายเงินใต้โต๊ะ และจะสูญเสียประชาธิปไตย เพราะยึดอำนาจทุกครั้งรัฐบาลก่อนมักทุจริต ประชาชนต้องจำพรรคไหนโกง พรรคไหนคอรัปชันอย่าไปเลือก