กรณีตำรวจจับนางสรารัตน์ หรือแอม ในคดีวางยาไซยาไนด์ ซึ่งเบื้องต้นพบมีผู้เสียชีวิต และพบผู้เสียหายเข้ายื่นร้องทุกข์ในลักษณะเดียวกันอย่างน้อย 10 ครอบครัวแล้ว
ถ้าผู้ต้องหารายนี้เป็นฆาตรกรต่อเนื่องจริง จะเป็นฆาตรกรต่อเนื่องหญิงคนแรกในประเทศที่ถูกจับกุมดำเนินคดี แต่ในต่างประเทศ พบเหตุฆาตกรรมต่อเนื่อง ที่มีฆาตรกรเป็นผู้หญิงในหลายคดี และมีการศึกษาที่ชี้ว่า แรงจูงใจในการก่อเหตุแตกต่างจากฆาตรกรต่อเนื่องชาย โดยมุ่งในเรื่องเงินเป็นหลัก
งานวิจัยนี้ เป็นการประมวลสรุปผลงานวิจัยชื่อ ความแตกต่างทางเพศของฆาตกรต่อเนื่อง ตีพิมพ์ปี 2019 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ซึ่งพบว่ามีทฤษฎีนักล่า และผู้เก็บเกี่ยวในการเปรียบเทียบฆาตกรต่อเนื่องหญิงและชาย และพบความแตกต่างกันมากในแง่ของแรงจูงใจในการฆ่า
อาจารย์เทียบเคียงว่า กรณีของบ้านเรา มีฆาตกรต่อเนื่องชาย อย่าง บุญเพ็ง หีบเหล็ก หรือ สมคิด พุ่มพวง ที่พฤติการณ์ส่วนใหญ่ มีแรงจูงใจเรื่องเพศ แต่ในกรณีฆาตกรต่อเนื่องหญิง บ้านเรายังไม่มี แต่มีเคสในญี่ปุ่น เป็นคุณยายอายุ 70 ปี เคยมีประวัติสามีหรือคู่เดตมีอันเป็นไปเกือบสิบราย ได้ฉายาแม่หม้ายดำแห่งโตเกียว เนื่องจากมีการทำประกันวงเงินสูงให้สามี ก่อนที่เขาจะเสียชีวิต และเธอได้รับเงินประกัน
หมายความว่า ฆาตกรต่อเนื่องเพศชาย ส่วนใหญ่มองตัวเองเป็นนักล่า พฤติการณ์ก่อเหตุ มีการกระทำทางเพศเพื่อแสวงสุข และแสดงอำนาจโดยการใช้กำลังที่เหนือกว่าสังหารด้วยความรุนแรง เหยื่อที่มุ่งเป้ามักไม่ใช่คนใกล้ชิด หรือคนในครอบครัว
อ่านข่าวเพิ่ม ตร.กองปราบฯ จับ "ผู้ต้องหา" คดีวางยาเท้าแชร์เสียชีวิต จ.ราชบุรี
รายงานวิจัยพบฆาตรกรต่อเนื่องหญิงหวังในทรัพย์
แต่กรณีฆาตรกรหญิง อธิบายด้วยฐานะผู้เก็บเกี่ยว โดยเฉพาะทรัพย์สิน โดยมากจะพบว่า เหยื่อมักเป็นคนใกล้ตัว คนใกล้ชิด หรือกระทั่งคนรักที่รู้จักกันดี และมักจะฆ่าคนที่สู้ไม่ได้มากกว่าฆาตรกรชาย เช่น ผู้ป่วย หรือเด็ก แต่จะไม่ใช้ความรุนแรงในการฆ่า และเลือกใช้การวางยาพิษมากกว่า โดยแรงจูงใจจากผลประโยชน์ต่างๆ ไม่ว่าจะ มรดก เงินประกัน ทรัพย์สิน เป็นต้น
โดยฆาตรกรชาย 85% ฆ่าคนแปลกหน้า ส่วนฆาตรกรหญิง 58% ฆ่าญาติหรือมีความสัมพันธ์ในครอบครัว
นอกจากนี้ FBI พบว่า ฆาตกรต่อเนื่องหญิงนั้น พบได้ยากกว่าฆาตกรต่อเนื่องชาย ซึ่งพบได้เพียงหนึ่งในหกของฆาตกรต่อเนื่องชาย ในขณะที่เราจะพบฆาตกรต่อเนื่องเพียงร้อยละหนึ่งของจำนวนฆาตกรทั้งหมด
อ่านข่าวเพิ่ม อาการ-วิธีการรักษาเมื่อโดนวางยา ไซยาไนด์?
นักอาชญาวิทยา ชี้เข้าข่ายฆาตกรต่อเนื่อง
ขณะที่ในมุมของนักอาชญาวิทยา รศ.พ.ต.ท.กฤษณพงค์ พูตระกูล ผู้เชี่ยวชาญอาชญาวิทยา วิเคราะห์ถึงพฤติกรรมของผู้ก่อเหตุว่า จากการติดตามพบว่าหลายเคสของผู้เสียชีวิตที่เป็นข่าว มีความเชื่อมโยงกัน แต่ต้องดูการสืบสวนสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐานของตำรวจ เพื่อผลชันสูตรศพของผู้เสียชีวิตรายก่อนหน้านี้เพื่อหาความเชื่อมโยงกัน
การบ่งชี้ทางการแพทย์ จะเชื่อมกับที่ผู้ต้องหาวางยาและทำผิดได้หรือไม่ ตำรวจต้องสอบปากคำ หมอที่เชี่ยวชาญจากการวางยาไซยาไนด์ในคดีก่อนหน้านี้หากจะดำเนินคดีต้องขึ้นกับพยานหลักฐาน
อ่านข่าวเพิ่ม “บิ๊กโจ๊ก” เผยรอดหวุดหวิด 1 คนเหตุวางยาไซยาไนด์ เป็นพยานสำคัญ
เมื่อถามว่าผู้ต้องหาเข้าข่ายในลักษณะฆาตกรรมต่อเนื่องหรือไม่ รศ.พ.ต.ท. กฤษณพงค์ กล่าวว่า นิยามฆาตรกรต่อเนื่อง คือผู้ก่อเหตุคนเดียวกัน มีเหยื่อตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป และวัตุประสงค์ต่อชีวิต พบว่าถ้าเป็นเคสผู้ชาย จะทำต่อเหยื่อด้วยความรุนแรง แต่ถ้าเป็นผู้หญิงจะน้อยกว่า เช่นการวางยา
ส่วนเรื่องเรื่องเงิน จะเป็นแรงจูงใจได้หรือไม่ มองว่าการประสงค์ต่อทรัพย์มีมูลเหตุในการฆาตรกกรรมได้ ส่วนที่พบพฤติการณ์ เช่น ทำบุญ หรือสามารถจัดงานวันเกิดหลังการตายได้ โดยไม่รู้สึกผิด ในเชิงพฤติกรรม การที่ทำรายเหยื่อต้องสร้างความสัมพันธ์ และถ้ามีการวางยาจริง ก็จะทำให้เหยื่อไว้วางใจ ถ้าเป็นแบบนี้จริงก็ยอมรับว่าจิตใจโหดเหี้ยมมาก
จากเคสผู้ก่อเหตุจะเริ่มจากรายที่ 1 รายที่ 2 รายที่ 3 มีความเป็นไปได้ เพราะในหลายคดีที่ผู้ก่อเหตุจะก่อเหตไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถูกจับได้ ส่วนอาการทางจิตจะมีผลยกเว้นทางคดีได้หรือไม่ คนละเคสกัน จิตฟั่นเฟือน ถ้าไม่รู้สึกผิดชอบชั่วดี จิตแพทย์จะประเมินอาการ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ภัยใกล้ตัว! "ไซยาไนด์" แค่ปลายเล็บก็ตายได้
เปิด 8 ชื่อคาดถูกหญิงฆาตกรรม-จ่อเรียกสอบสามียศ "พ.ต.ท."
หาม "แอม" ส่ง รพ.กลางดึก ขอฝากขังคดีวางยาไซยาไนด์
พิษจากนิยายก้องโลก "ไซยาไนด์" ปลิดชีพ "โรมิโอ"