หลังจากเกิดคดีวางสารไซยาไนด์ เพื่อประสงค์ต่อทรัพย์ของนางสาวสารรัตน์ หรือแอม แนวทางสืบพบว่าผู้เสียชีวิตจากการถูกวางยา 13 คน จึงถูกตั้งทำถามถึงมาตรการ ต่อการควบคุมการซื้อสารไซยาไนด์ได้หรือไม่ เพราะหลังจากคดีนี้ ก็มีอีก 1-2 เหตุการณ์ที่ปรากฏเป็นข่าว พบว่ามีการซื้อสารไซยาไนด์เพื่อประสงค์ต่อชีวิต สำหรับคดี แอม ไซยาไนด์ ที่ถูกพูดถึงในช่วงนี้ เพราะได้มีการพิจารณาคดีในชั้นศาล เป็นการเสียชีวิตของ นางสาวศิริพร หรือ ก้อย และศาลได้พิเคราะห์พฤติการณ์อย่างละเอียด ก่อนจะพิพากษาประหารชีวิตจำเลยที่ 1 (แอม) ส่วนจำเลยที่ 2 และ 3 ตัดสินจำคุก 2 ปี การฆาตกรรมคนใกล้ชิด ด้วยการวางยาพิษ หรือไซยาไนด์ เข้าสู่ร่างกาย เพื่อประสงค์ต่อทรัพย์ต่อเนื่อง 8 ปี มีผู้เสียชีวิตถึง 13 คน ถือเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศ แต่ดูเหมือนมาตรการป้องกันควบคุมสารไซยาไนด์ น่าจะรัดกุมมากยิ่งขึ้น ติดตามจากรายงาน
กรณีศาลตัดสินประหารชีวิต น.ส.สรารัตน์ หรือ แอม ในคดีฆาตกรรม น.ส.ศิริพร หรือ ก้อย โดยใช้สารไซยาไนด์นั้น กรณีดังกล่าว ได้มีคำถามไปถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบว่าสามารถกำกับควบคุมได้จริงหรือไม่ เพราะแม้จะมีการถอดสินค้าจากการจำหน่ายในสื่อออนไลน์ ห้ามการโฆษณา ควบคุมการนำเข้า แต่ยังพบว่ามีหลายกรณีที่มีการใช้สารไซยาไนด์มาเกี่ยวข้อง และมีผู้เสียชีวิต
เหตุการณ์สะเทือนขวัญที่เกิดขึ้นกับชาวเวียดนามทั้ง 6 คน ในช่วงเย็นของวันที่ 16 กรกฎาคมที่ผ่านมา ผลการชันสูตรพลิกศพพบว่า ทั้งหมดเสียชีวิตด้วยภาวะขาดอากาศ จากการได้รับสารโพแทสเซียม ไซยาไนด์ เข้าสู่ร่างกาย การสืบสวนมีหลักฐานบ่งชี้ผู้ต้องสงสัย แต่ก็ยังมีหลายประเด็นที่ยังไม่ชัดเจน ทั้งความเกี่ยวข้องกันระหว่างผู้เสียชีวิตทั้งหมด ไปจนถึงการสืบสวนหาที่มาของ "ไซยาไนด์"