"ไซยาไนด์ มัลลิกา" ผู้ตั้งตนเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมดับทุกข์
เค.ดี.เคมปามมะ เธอเกิดในครอบครัวชนชั้นกลาง แต่งงานกับช่างตัดเสื้อ และรับจ้างเป็นแม่บ้านทำความสะอาด หลังจากแต่งงาน เธอก่อตั้งกองทุนรวบรวมเงินบริจาค แต่นำเงินทั้งหมดมาใช้ส่วนตัว ทำให้สามีไล่เธอ ออกจากบ้านในปี 2541 และนี่คือจุดเริ่มต้นของ "ไซยาไนด์ มัลลิกา"
ในช่วงปี 2542-2550 เคมปามมะ วางยาพิษสังหารผู้หญิง 6 คน ซึ่ง 5 คนหลังเกิดเหตุในเวลาเพียง 3 เดือน ทำให้เธอถูกสื่อตั้งฉายาให้ว่า "ไซยาไนด์ มัลลิกา" ฆาตกรต่อเนื่องหญิงคนแรกของอินเดีย ด้วยสังคมชายเป็นใหญ่ ข่าวเรื่องฆาตกรที่เป็นเพศหญิง และก่อเหตุต่อเนื่อง จึงสร้างความตกตะลึงให้กับสังคมและเจ้าหน้าที่ตำรวจในอินเดียเป็นอย่างมาก
ตรวจพบ "สารไซยาไนด์" คอนโซลรถ "แอม"
สื่อของอินเดียในขณะนั้น รายงานว่าพฤติการณ์ของ เคมปามมะ จะสังเกตผู้หญิงที่เดินทางมาวัด สวดภาวนาให้พ้นทุกข์ในเรื่องต่างๆ เธอจะเข้าไปตีสนิท โกหกว่าจะทำให้พวกเขาพ้นทุกข์ ด้วยพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ เมื่อเสร็จสิ้นพิธีแล้ว เธอจะยื่นแก้วน้ำผสมไซยาไนด์ให้ดื่มจนพวกเขาเสียชีวิต แล้วจึงค่อยชิงทรัพย์ไป
ผู้เสียชีวิตรายแรกเกิดขึ้นในปี 2542 จากนั้น เคมปามมะ ทิ้งช่วงไปนานหลายปี แล้วจึงก่อเหตุซ้ำอีกครั้งในปี 2550 ซึ่งครั้งนั้น เธอใช้เวลาเพียงแค่ 3 เดือนสังหารผู้หญิงไป 5 คน เคมปามมะถูกจับกุมในปีถัดมา ถูกตัดสินประหารชีวิตในปี 2555 แต่ได้รับการลดโทษเป็นจำคุกตลอดชีวิตที่เรือนจำ
สำหรับ ฉายา "มัลลิกา" นั้น มาจากชื่อผู้เสียชีวิตคนสุดท้ายที่เธอยื่นน้ำดื่มผสมไซยาไนด์ ด้วยคำหลอกลวงว่าจะทำให้เขาพ้นทุกข์
"แม่ม่ายดำ" คาเคฮิ วางยาหวังเงินประกัน
"จิซาโกะ คาเคฮิ" หญิงญี่ปุ่นวัย 76 ปี ให้การรับสารภาพต่อศาล ถึงเหตุฆาตกรรมอดีตสามี 3 คน ที่ทำให้เธอได้รับเงินประกันจากการจากไปของชายเหล่านั้นร่วม 1,000 ล้านเยน หรือราว 250 ล้านบาท
"ไม่เคยได้เงินใช้เลย" คือมูลเหตุที่ทำให้ คาเคฮิ ผสมไซยาไนด์ที่ซื้อต่อจากเพื่อนลงในอาหารแล้วให้อดีตสามีทั้ง 3 กิน
แพทย์ชันสูตรศพ พบร่องรอยของไซยาไนด์ตกค้างในร่างกายของอดีตสามีคนล่าสุด จึงขยายผลย้อนกลับไปดูอดีตสามีอีกทั้ง 2 คนของเธอ ก็พบว่าพวกเขาถูกวางยาพิษด้วยไซยาไนด์เช่นกัน ตำรวจจับกุมเธอในปี 2557 และตั้งข้อกล่าวหา "วางแผนฆาตกรรม" มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 3 คนในเวลา 6 ปี
แจ้งข้อหาเพิ่ม "แอมไซยาไนด์" คดีสารวัตรปู พบโยงอีก 2 ยอดพุ่ง 13 คน
แม้ คาเคฮิ ปฏิเสธส่วนเกี่ยวพันกับเรื่องดังกล่าว และกล่าวว่า "มันคือเรื่องของโชคชะตา ถ้าใครคิดว่าฉันคือฆาตกร ขอยอมกัดลิ้นตัวเองตายดีกว่า" ส่วนทนายของเธอก็ยืนยันว่าลูกความของเธอ "เป็นโรคอัลไซเมอร์ จำอะไรไม่ได้"
แต่ศาลตัดสินให้เธอรับโทษประหารชีวิต แม้เธอทำเรื่องอุทธรณ์โทษประหารฯ แต่ศาลสูงสุดก็ยกคำร้องของเธอในกลางปี 2564 ทำให้ตอนนี้ คาเคฮิ แม่ม่ายดำ ต้องติดใยแมงมุมตัวเองรอโทษประหารฯ ภายในเรือนจำของญี่ปุ่น
"แม่ม่ายดำ" ฉายาที่สื่อตั้งให้ คาเคฮิ เหมือนกับแมงมุมแม่ม่ายดำที่สังหารคู่ของมันหลังผสมพันธุ์
ที่มา : BBC