วันนี้ (20 พ.ค.2566) สัตวแพทย์หญิง ราชาวดี จันทรา นายสัตวแพทย์ปฏิบัติการ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันตก กล่าวว่า การอนุรักษ์วาฬบรูด้าในทะเลอ่าวไทยมีแนวโน้มดีขึ้น ต่อปีมีอัตราเกิดใหม่ 5 ตัว มากกว่าการพบซากปีละ 2 ตัว ซี่งการสำรวจครั้งนี้พบ คู่แม่ลูก ชื่อ แม่กันยา กับ เจ้ามาลี ด้วย ซึ่ง แม่กันยาสำรวจพบตั้งแต่ปี 2553 ออกลูกมาแล้วหลายตัว
13 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการสำรวจประชากรวาฬบรูด้า โดยใช้ Photo-ID พบวาฬบรูด้ามากกว่า 100 ตัว โดยตั้งชื่อได้ 92 ตัว มีแม่พันธุ์ทั้งหมด 22 ตัว ให้ลูกมากกว่า 60 ตัว ซึ่งถิ่นอาศัยและแหล่งกำเนิดลูกคือพื้นที่อ่าวรูปตัว ก. ตอนบน ยังมีแหล่งอาหารคือปลาขนาดเล็กที่สมบูรณ์ แต่พื้นที่ดังกล่าวมีการใช้ประโยชน์ร่วมกันกับมนุษย์ คือ ประมง และ เส้นทางเดินเรือพาณิชย์
หลายครั้งที่นักวิจัยพบวาฬบรูด้า มีแผลเป็นหรือแผลที่บาดเจ็บเชือก หรือเสียชีวิตจากการถูกเรือชน หรือ เจ็บป่วยจากการกินขยะพลาสติก นอกจากการตายด้วยโรคติดต่อของตระกูลสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งยากที่จะหลีกเลี่ยง เมื่อพื้นที่อาศัยทับซ้อนกัน
อ่านข่าวอื่นๆ
3 วาฬบรูด้า โผล่อวดโฉมเล่นน้ำ-หาอาหาร เขตอุทยานฯ หมู่เกาะอ่างทอง
รู้จัก “วาฬอำแพง” อายุ 3,380 ปี ฟอสซิลวาฬตัวแรก