ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"Cyber Bullying" แค่ปลายนิ้วชีวิตก็เปลี่ยนได้

ไลฟ์สไตล์
13 มิ.ย. 66
19:37
4,667
Logo Thai PBS
"Cyber Bullying" แค่ปลายนิ้วชีวิตก็เปลี่ยนได้
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ทุกศุกร์ที่ 3 ของเดือนมิ.ย. ถูกกำหนดเป็นวันหยุดการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลกร่วมรณรงค์การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ โดยติดแฮชแท็ก #StopCyberbullyingDay

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2556 มูลนิธิ CyberSmile ถือเอาวันศุกร์ที่ 3 ของเดือนมิ.ย. เป็นวันหยุดการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ "Stop Cyber Bullying Day" ซึ่งตรงกับวันที่ 21 มิ.ย.ในปีนั้นเป็นวันแรก แต่สำหรับปี 2566 ตรงกับวันที่ 16 มิ.ย.

จุดเริ่มต้นวันหยุดการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์

ครูในสหราชอาณาจักรกว่าร้อยละ 92 เคยถูกถ้อยคำทำร้ายจิตใจและการสร้างความเกลียดชังทางอินเตอร์เน็ต จึงรวมตัวกันเสนอข้อร้องเรียนผ่านรัฐสภา ให้ลงมติ "วันหยุดการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์" ขึ้นมาเพื่อป้องกันการกลั่นแกล้งทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามที่ทำลายคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยของเด็กและคนหนุ่มสาว และต้องการสร้างความปลอดภัยให้กับทุกคนในอนาคต

การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์

การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์

การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์

พอถึง วันหยุดการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ ชาวเน็ตทั่วโลกจะร่วมกันรณรงค์โดยติดแฮชแท็ก #StopCyberbullyingDay 

กรมสุขภาพจิตแบ่งการกลั่นแกล้งออกเป็น 4 ประเภท

  1. ทางร่างกาย เช่น ชกต่อย ตบตีด้วยอารมณ์
  2. ทางสังคม หรือ ด้านอารมณ์ เช่น การกดดัน แบ่งแยก
  3. ทางวาจา เช่น การดูถูก นินทา พูดจาเสียดสี
  4. ทางไซเบอร์ (Cyberbullying) หรือการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ หลอกลวง โพสต์ข้อความโจมตี คุกคามทางเพศ
การกลั่นแกล้งทางวาจา ร่างกาย

การกลั่นแกล้งทางวาจา ร่างกาย

การกลั่นแกล้งทางวาจา ร่างกาย

ความหมายของ การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ (Cyber Bullying)

การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ โดยใช้เทคโนโลยี ผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาพ เสียง ข้อความผ่านทางแพลตฟอร์มทางอินเตอร์เน็ตหลายรูปแบบ รวมถึงการโพสต์รูป วิดีโอ ของเหยื่อลงโซเชียล เพื่อให้เหยื่อเกิดความอับอาย หรือการหลอกลวงโดยปลอมตัวเป็นบุคคลอื่น 

กรมสุขภาพจิต แนะนำการป้องกันการใช้สื่อออนไลน์ในทางที่ผิดสำหรับผู้ที่ใช้สื่อออนไลน์

  • เขียนข้อความหรือตอบข้อความต่างๆ ด้วยความระมัดระวัง
  • ใช้เวลาในการไตร่ตรองข้อความที่ตนเองจะเขียน เสนอความเห็นต่างอย่างสร้างสรรค์
  • ให้โอกาสผู้อื่นได้อธิบายเสนอความคิดเห็น เปิดใจยอมรับมุมมองของผู้อื่นที่มีต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
  • หากมีสิ่งใดที่เห็นต่าง ก็ไม่ควรนำไปใช้กับบุคคลอื่น
  • หลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำหรือการวิจารณ์อย่างรุนแรงเพื่อโจมตีบุคคลอื่น โดยขาดข้อมูลที่สนับสนุนอย่างรอบด้าน
  • หยุดส่งต่อข้อความที่รุนแรงเหล่านั้นออกไปโดยไม่มีขอบเขต
หากทุกคนสามารถช่วยสนับสนุนให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์เชิงบวกได้อย่างกว้างขวางแล้ว จะช่วยลดการระรานกันทางไซเบอร์ไปได้

การจัดการกับการถูกระรานทางไซเบอร์ 

  1. อย่าตอบสนองข้อความกลั่นแกล้ง ไม่ว่าข้อความนั้นจะรุนแรงต่อเราขนาดไหน ก็อย่าเขียนตอบโต้ เพราะจะทำให้สถานการณ์แย่ลง และนั่นเป็นสิ่งที่ผู้ระรานต้องการให้เกิดขึ้น
  2. ไม่เอาคืน การแก้แค้นหรือตอบโต้ด้วยวิธีเดียวกันจะทำให้ไม่ต่างจากคนที่กลั่นแกล้งเรา อาจทำให้เรากระทำความผิดและเป็นจำเลยสังคมแทน
  3. เก็บหลักฐาน บันทึกภาพและข้อความที่ทำร้ายคุณ เพื่อรายงานต่อผู้ปกครองหรือผู้บังคับใช้กฎหมาย
  4. รายงานความรุนแรง ส่งข้อมูลรายงาน (report) ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับทางโซเชียลมีเดีย
  5. ตัดช่องทางการติดต่อ โดยลบ แบน บล็อก ทุกช่องทางการเชื่อมต่อกับคนที่มาระราน ระมัดระวังการติดต่อกับคนกลุ่มนี้ในอนาคต 
ลบ บล็อก ผู้กระทำผิด

ลบ บล็อก ผู้กระทำผิด

ลบ บล็อก ผู้กระทำผิด

การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ หรือไซเบอร์บูลลี่ ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ก็เป็นภัยใกล้ตัวและส่งผลกระทบมากกว่าที่คาดคิดและเกินความสามารถในการรับผิดชอบจากผู้กระทำได้ ก่อนพิมพ์ โพสต์ แชร์ ข้อมูลใดๆ ลงบนสื่อออนไลน์ พึงระลึกไว้ว่าข้อมูลเหล่านั้นจะอยู่ในโลกโซเชียลตราบนานเท่านาน จนกว่าคำว่า "อินเตอร์เน็ต" จะหมดจากโลกไป

ที่มา : กรมสุขภาพจิต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง