2550
วันที่ 7 มี.ค.2550 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) มีหนังสือบอกเลิกสัญญา แจ้งให้บริษัทไอทีวี จำกัด ชำระหนี้กว่าแสนล้านบาท และส่งมอบทรัพย์สิน ตามมติ ครม. ทำให้ ITV หยุดดำเนินกิจการ
วันที่ 28 มี.ค.2550 ITV โต้แย้งว่า การบอกเลิกสัญญา ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
วันที่ 8 พ.ค.2550 ITV จึงยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลาง (คดีหมายเลขดำ ที่ 910/50) เรียกค่าเสียหาย 119,252 ล้านบาท
วันที่ 9 พ.ค.2550 ITV ยื่นข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ (ข้อพิพาทหมายเลขดำ ที่46/50) ให้คณะอนุญาโตตุลาการมีคำวินิจฉัยชี้ขาด ว่า สปน.ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คดีนี้ ITV เรียกค่าเสียหายจาก สปน. 21,814 ล้านบาท
วันที่ 30 พ.ค.2550 คดีหมายเลขดำ ที่ 910/50 ITV ฟ้องสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี แต่ศาลปกครองกลาง ไม่รับคำฟ้อง เนื่องจากเกินกว่าอายุความ 10 ปี
วันที่ 11 ก.ค.2550 ITV ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด คดีที่ศาลปกครองกลาง ไม่รับฟ้อง (คดีหมายเลขดำ 910/50)
วันที่ 29 ต.ค.2550 ITV ยื่นคำร้องขอให้ศาลปกครองกลาง คุ้มครองชั่วคราว ฉุกเฉิน เพื่อไม่ให้ พ.ร.บ.สื่อสาธารณะฯ มีผลใช้บังคับก่อนมีคำพิพากษาในคดีของ ITV เนื่องจาก ครม. อนุมัติหลักการร่าง พ.ร.บ.สื่อสาธารณะ 24 เม.ย. 50 และเสนอสภานิติบัญญัติฯ 31 ต.ค.2550
วันที่ 30 ต.ค.2550 ศาลปกครองกลาง สั่งไม่รับคำร้องขอคุ้มครองฉุกเฉิน
วันที่ 14 พ.ย.2550 ศาลปกครองสูงสุด ยืนยันตามศาลปกครองกลาง ไม่รับพิจารณาคำอุทธรณ์ในคดีที่ ITV ฟ้องสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) แต่ข้อพิพาท ค่าปรับ ให้ใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการ
2551
วันที่ 15 ม.ค.2551 ประกาศใช้ พ.ร.บ.สื่อสาธารณะฯ ทำให้หลังจากนี้ ข้อพิพาท หรือ คดี ITV กับ สปน. ทั้งเรื่องเรียกร้องค่าเสียหาย และการขอให้กลับเข้าดำเนินการสถานีโทรทัศน์ฯ ไม่มีผลต่อไปได้แล้ว เพราะมีบทเฉพาะกาลตามกฎหมายฉบับนี้ ให้ทรัพย์สิน ภาระผูกพันของบริษัท ตกเป็นของรัฐ สปน. แต่คดีฟ้องร้องกับ สปน. และข้อเรียกร้องค่าเสียหายอื่น ๆ ยังคงมีผลทางกฎหมาย แต่ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของคณะอนุโตตุลาการ
วันที่ 2 เม.ย.2551 คณะกรรมการของบริษัท ITV มีมติให้บริษัท มีเดีย คอนเน็คซ์ จำกัด ลดทุนจดทะเบียน 3 ใน 4 ของทุน ( จากทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท ลดไป 37.5 ล้าน จึงเหลือ 12.50 ล้าน เป็นการลดจำนวน หุ้น จากเดิม 5,000,000 หุ้น คงเหลือ 1,250,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท)
วันที่ 30 ต.ค.2551 สปน.ยื่นคำร้องเลขที่ ค 9/51 ขอคุ้มครองชั่วคราวต่อศาลปกครองกลาง ขอให้ศาลปกครองกลาง สั่งห้ามไม่ให้ ITV เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินบนโฉนดที่ดินที่ 25168 อ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา และโฉนดที่ดิน 29554 ที่ อ.เพ็ญ จ.อุดรธานี ก่อนข้อพิพาทจะถึงที่สุด
วันที่ 3 ก.ย.2551 คณะกรรมการของบริษัท ITV มีมติให้เลิกกิจการบริษัท มีเดีย คอนเน็คซ์ จำกัดวันที่ 25 พ.ย.2551 บริษัท ITV ได้คัดค้านต่อศาลปกครอง กรณี สปน.ขอให้ศาลคุ้มครองระงับทำนิติกรรมที่ดิน
วันที่ 25 ธ.ค.2551 ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้าม ITV ทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดิน แต่ ITV ยื่นอุทธรณ์
2552
วันที่ 29 มิ.ย.2552 ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งยืนตามศาลปกครองกลาง
วันที่ 4 มิ.ย.2552 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถอนชื่อหลักทรัพย์ ITV ออกจากกระดานซื้อขาย แต่ ITV ยังคงมีสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียน
2558
วันที่ 1 พ.ค.-15 ก.ย.2558 คณะอนุญาโตตุลาการ พิจารณาสืบพยานบริษัท ITV และ พยาน สปน.
2559
วันที่ 1 ก.พ.2559 ITV ได้รับคำชี้ขาดจากสถาบันอนุญาโตตุลาการ ลงวันที่ 14 ม.ค.2559 ระบุว่าการบอกเลิกสัญญาของ สปน. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ สปน.ชดใช้ความเสียหายให้แก่บริษัทจำนวน 2,890,345,205 บาท
แต่ในเวลาเดียวกัน เมื่อศาลปกครองสูงสุดเคยมีพิพากษาให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ที่ให้ปรับลดค่าตอบแทนตามสัญญา ฯ ระหว่าง ITV กับ สปน. เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2549 บริษัทจึงต้องชำระค่าตอบแทน จำนวน 2,886,712,328 บาท ให้แก่ สปน. ITV และ สปน. ต่างมีหน้าที่ต้องชำระหนี้เท่ากัน จึงไม่มีหนี้สินต่อกัน
วันที่ 29 เม.ย.2559 สปน.ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดคณะอนุญาโตตุลาการ ต่อศาลปกครองกลาง ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งรับคำร้องเป็นคดีหมายเลขดำที่ 620/59
2563
วันที่ 17 ธ.ค.2563 ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษา (คดีหมายเลขดำที่ 620/59) ยกคำร้องของ สปน.
2564
วันที่ 15 ม.ค.2564 สปน. ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลปกครองกลางต่อศาลปกครองสูงสุด เป็นคดีหมายเลขดำ ที่ อ.54/64 ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด
2566
- เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ยื่นร้องว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ถือหุ้น ITV ซึ่งเป็นหุ้นสื่อ ถือว่าผิด พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ.2560
- มีการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ITV และมีการเปิดหลักฐานว่า รายงานการประชุมและการตอบคำถามของประธานที่ประชุมฯ เรื่องสถานะของ ITV ไม่ตรงกัน
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
อาณาจักรแสนล้าน "สารัชถ์ รัตนาวะดี" นายทุนพลังงาน "GULF"