หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ที่มีภารกิจในการบริหารการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ โดยใช้ทุนวิจัยและการจัดการเป็นเครื่องมือ โดยมีการทำแพลตฟอร์ม ขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ตั้งแต่ปี 2563 โดยเอาบริบทพื้นที่เป็นตัวตั้ง เพื่อนำไปสู่การขจัดความจนลดความเหลื่อมล้ำ
ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการ บพท.
ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กล่าวว่า บพท.ได้มีการจัดทำระบบค้นหาและสอบทานข้อมูลครัวเรือนยากจนในระดับพื้นที่ (PPPConnext) ข้อมูล ณ วันที่ 13 มิ.ย.2566 พบข้อมูลครัวเรือนที่มีความยากจน 231,021 ครัวเรือน รวม 1,039,584 คน
ระบบค้นหาและสอบทานข้อมูลครัวเรือนยากจน
ขณะที่ฐานข้อมูลจาก ฐานข้อมูลระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform) หรือ TPMAP ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธ.ค.2564 ระบุจำนวนคนจนมีจำนวน 336,239 คน ใน 20 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ ประกอบด้วย กาฬสินธุ์ ชัยนาท ปัตตานี มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยโสธร ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ นครราชสีมา เลย ร้อยเอ็ด ลำปาง พิษณุโลก พัทลุง ยะลา นราธิวาส อุบลราชธานี
แพลตฟอร์มขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำระดับจังหวัด
กาฬสินธุ์ไม่ทิ้งใครไว้ช้างหลัง
สำหรับ จ.กาฬสินธุ์ เป็น 1 ในจังหวัดนำร่อง โดย บพท. ได้ร่วมมือกับทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ตลอดจนภาคีเครือข่ายภาคราชการเอกชน ประชาสังคม และประชาชนในพื้นที่ ขับเคลื่อน "การแก้ปัญหาความยากจนด้วยงานวิจัยเชิงพื้นที่แบบร่วมมือด้วยนวัตกรรมและการขับเคลื่อนระบบข้อมูลในจังหวัดกาฬสินธุ์" รวมถึงจัดตั้งโครงการคนกาฬสินธุ์ไม่ทิ้งใครไว้ช้างหลัง เพื่อนำนโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจนความเหลื่อมล้ำมาสู่การปฏิบัติ
กลไกกระบวนการความร่วมมือกันของภาคีเครือข่ายหลายภาคส่วนที่มีเป้าหมายมุ่งแก้ปัญหาความยากจนลดความเหลื่อมล้ำให้คนกาพสินธุ์ เริ่มจากการค้นหาสอบทานข้อมูลคนจนและครัวเรือนยากจน ด้วยการบูรณาการระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนระดับพื้นที่ (PPPConnex) ของ จ.กาฬสินธุ์
หมุดหมายที่สำคัญคือขจัดความยากจนและยกระดับฐานราก และสิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกคือการหากลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนจนจริงๆ อยู่ที่ไหน ในระดับพื้นที่ จนด้วยสาเหตุอะไร
และเขามีทุนอะไรบ้าง จะช่วยเหลือเขาอย่างไร
กระบวนการสอบทานข้อมูลเพื่อชี้เป้าคนจนที่แม่นยำ จ.กาฬสินธุ์
จากการทำงานร่วมกันของ บพท. และมหาลัยวิทยาลัยกาฬสินธุ์พบว่ามีคนยากจนที่ตกหล่นจากระบบข้อมูลของรัฐทำให้ยังไม่สามารถข้าถึงระบบสวัสดิการความช่วยเหลือจากนโยบายของภาครัฐ จากฐานข้อมูล TPMAP, Kalasin Happiness Model มีมากถึง 11,875 ครัวเรือน หรือ 51,034 คน
จากข้อมูลที่ได้เรานำเข้าสู่ระบบส่งต่อความช่วยเหลือ ด้วยการเชื่อมโยงเข้าสู่สวัสดิการภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมไปสู่การช่วยเหลือ
สหัสขันธ์ - นามน 2 อำเภอนำร่อง
ผู้อำนวยการ บพท. กล่าวว่า ความร่วมมือนี้นอกจากมีการจัดทำระบบสืบค้นสอบทานข้อมูลคนจนที่มีความแม่นยำแล้ว ยังมีการพัฒนาสร้างโมเดลแก้จน (Operating Model ระดับพื้นที่ ที่เหมาะสมสอดคล้องกับศักยภาพของคนจนในกลุ่มเป้าหมายและสภาพแวดล้อมในพื้นที่ เพื่อพัฒนาและอาชีพสร้างรายได้ให้คนจน โดยดำเนินการในพื้นที่นำร่อง 2 อำเภอที่มีการสอบทานข้อมูลคนจนโดยละเอียด จนเราพบมีกลุ่มเป้าหมายถึง 958 ครัวเรือน ได้แก่
1. อ.สหัสขันธ์ คือ เราทำโครงการเห็ดฟางเงินล้านแก้จน เป็นการแก้ไขปัญหาความยากจนผ่านแนวคิด BCG Model เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ร่วมกับเครือข่ายความร่วมมือกับบริษัทเอกชน อาทิ บริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน) และภาครัฐ ประชาชนในพื้นที่
2. อ.นามน เราทำโครงการปลูกผักแก้จน ที่มุ่งเน้นการปลูกผักแบบแปลงรวม (ประชาร่วมแรงขายแบ่งกัน) มีห้างหุ้นส่วนจำกัดผักสดนามน เข้ามาเป็นกลไกเชื่อมโยงกับเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชนระดับอำเภอและชุมชน ภายใต้แนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม โดยมีศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร จ.กาฬสินธุ์ สนับสนุนการตรวจรับรองมาตรฐาน ซึ่งทั้ง 2 โครงการ สามารถช่วยเหลือครัวเรือนยากจน ให้มีรายได้ที่ดี และมีงานมีอาชีพ ลดความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้และอาชีพได้อย่างตรงจุด
แนวคิดระบบการดำรงชีพอย่างยั่งยืน
วิเคราะห์ทุน 5 มิติ
ดร.กิตติ กล่าวถึงจุดเด่นของ จ.กาพสินธุ์คือ การพัฒนาระบบข้อมูล มีการพัฒนากลไกในการทำงานของระบบ การทำฐานข้อมูลครัวเรือนยากจนระดับท้องถิ่นโดยมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ให้ครอบคลุมทุกประเด็นที่เกี่ยวข้อง การ วิเคราะห์ทุนทั้ง 5 มิติ ประกอบด้วย
- ทุนมนุษย์
- ทุนกายภาพ
- ทุนธรรมซาติ
- ทุนเศรษฐกิจ
- ทุนสังคม
รวมทั้งการวิเคราะห์ระดับครัวเรือนยากจน และการพัฒนา Application บูรณาข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด พัฒนาและยกระดับระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนระดับพื้นที่ KHM V.2 ให้เป็นระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนกลางของจังหวัด ที่ใช้ร่วมกันในหน่วยงานระดับจังหวัด ระดับอำเภอ จำนวน 18 อำเภอ และองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นในพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 15 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน 2 อำเภอนำร่อง เพื่อบริหารข้อมูลความยากจนเชิงพื้นที่แบบร่วมมืออย่างครบวงจร
กระบวนการสอบทานข้อมูลเพื่อชี้เป้าคนจนที่แม่นยำ
เป้าหมายเพื่อขจัดความยากจนแบบตรงจุด
ดร.กิตติ ระบุว่า กลไกที่สำคัญและมีบทบาทในการพัฒนาเชิงพื้นที่ของ จ.กาฬสินธุ์ คือ ศูนย์ปฏิบัติการคนกาฬสินธุ์ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (Kalasin Happiness Model) ซึ่งถือว่าเป็นกลไกเชิงนโยบายที่ใช้ในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนร่วมกันของจังหวัด มีการบูรณาการการทำงานในการช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย โดยเชื่อมโยง ตั้งแต่ระดับพื้นที่ ชุมชน ระดับท้องถิ่น ระดับอำเภอ นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานตามภารกิจ อปท.ชุมชน เอกชน และ สถาบันทางศาสนา รวมถึงองค์กรภาคประชาสังคมในรูปแบบต่างๆ นำไปสู่การแก้ไขปัญหาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตรงจุด
กระบวนการสอบทานข้อมูลเพื่อชี้เป้าคนจนที่แม่นยำ (ต่อ)
กาฬสินธุ์ 1 ในจังหวัดต้นแบบ
สำหรับ จ.กาฬสินธุ์ เป็น 1 ใน 7 จังหวัดต้นแบบพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากสร้างโอกาสทางสังคม โดยนำผลงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรมมาใช้ประโยชน์ในการเชื่อมโยงกลไกภาคีพัฒนาพื้นที่เพื่อพัฒนาศักยภาพ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สร้างโอกาสทางสังคม และยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่โดยเชื่อมโยงตั้งแต่ระดับพื้นที่/ชุมชน ระดับท้องถิ่น ระดับอำเภอ
นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานตามภารกิจ อปท.ชุมชน เอกชน และสถาบันทางศาสนา รวมถึงองค์กรภาคประชาสังคมในรูปแบบต่างๆ นำไปสู่การแก้ไขปัญหาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตรงจุด
นอกจาก จ.กาฬสินธุ์ แล้วยังมีอีก 6 จังหวัดตันแบบพื้นที่ทาง บพท. ร่วมมือวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อขจัดความยากจน และสร้างโอกาสทางสังคมประกอบด้วย จ.ลำปาง พัทลุง ปัตตานี ยะลา มุกดาหาร ร้อยเอ็ด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
พลิกฟื้นพื้นที่รกร้าง สู่โรงเรียนปลูกผักแก้จน
ม.กาฬสินธุ์ สถาบันการศึกษารับใช้ชุมชน เร่งบูรณาการแก้ภัยแล้ง