ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

แนวรบตะวันตก “เมียนมา-กลุ่มชาติพันธุ์” รอวันเปลี่ยนผ่าน

ต่างประเทศ
13 ก.ค. 66
14:33
1,684
Logo Thai PBS
แนวรบตะวันตก “เมียนมา-กลุ่มชาติพันธุ์” รอวันเปลี่ยนผ่าน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

การสู้รบระหว่างทหารเมียนมาและกลุ่มชาติพันธ์ุยังมีการปะทะกันอย่างต่อเนื่อง แม้เหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นมาหลายทศวรรษแล้วก็ตาม มีการประเมินว่ากองกำลังชาติพันธุ์ในพื้นที่ของเมียนมามีถึง 20 ชาติพันธุ์ หากกำหนดเฉพาะพื้นที่ 4 ภูมิภาค ภาคเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันออกเฉียงใต้,และตะวันตก พบรัฐคะเรนนี มีกองกำลังติดอาวุธมากกว่ากลุ่มอื่นๆ

หรือแบ่งตามกลุ่มชาติพันธุ์ที่เคลื่อนไหวการเมืองและการทหาร นอกจากคะเรนีแล้ว ยังมีกลุ่มกะเหรี่ยง กะรียา กะฉิ่น มอญ ฉาน และอื่นๆ หากแบ่งตามแสนยานุภาพทางการทหารพบกองทัพรวมแห่งรัฐว้า (United Wa State Army) หรือ UWSA มีกองกำลังทหารติดอา วุธ ถึง 20,000 คน มากกว่ากลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆที่มีกองกำลังและความเข้มแข็งลดหลั่นกันตามลำดับ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มองค์กรแนวร่วมแห่งชาติชิน(CNF) สภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน(RCSS/SSA)เหนือใต้ และสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง(KNU)

ส่องความเคลื่อนไหวกลุ่มผู้นำชาติพันธุ์

เมื่อเร็วๆนี้ รายการ “ทันโลกกับไทยพีบีเอส” สัมภาษณ์ ดร.ดุลยภาค ปรีชารัชช รองผู้อำนวยการสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ดร.ศิรดา เขมานิฏฐาไท อาจารย์คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ดร.ดุลยภาค กล่าวว่า กลุ่มชาติพันธุ์ในเมียนมาที่มีอิทธิ พลทางการเมืองการทหารและมีการต่อสู้มายาวนาน คือ สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (Karen National Union) หรือ กะเหรี่ยง KNU และกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (Karen National Liberation Army ) หรือ KNLA กลุ่มของคะยา ยางแดงคะเรนนี ซึ่งมีกลุ่มหลักคือ KNPP และกองกำลังกะเหรี่ยงคะยา (Karenni Army:KA)  

แต่หลังเกิดเหตุการณ์รัฐประหารโดยพลเอกอาวุโส มิน ออง หล่าย ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาพบกลุ่มเยาวชนหนุ่มสาวชาวพม่าที่ไม่สนับสนุนเผด็จการ ได้รวมตัวก่อตั้งกองกำลังพิทักษ์ประชาชน ( PDF) และที่น่าสนใจ คือ มีเยาวชนบางส่วนเข้าไปแทรกซึมอยู่ในรัฐกระเหรี่ยง

โดยเฉพาะกลุ่มคะยาที่เคลื่อนไหวอยู่บริเวณชายแดนไทย แยกย่อยเป็นกลุ่มกองกำลังแห่งชาติคะเรนนี ( KNDF)ซึ่งผูกพันกับรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (NUG )หรือรัฐบาลเงา และค่ายฝึกกองกำลังพิทักษ์ประชาชน (PDF) จะร่วมปฏิบัติการกับกลุ่มกองทัพแห่งชาติกะเหรี่ยงแดง( KNPP )หรือคะเรนี ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวค่อนข้างมีความซับซ้อน

ดร.ดุลยภาค อธิบายต่อว่า ขณะเดียวกันการเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์คะยาก็มีหลายกลุ่มอำนาจที่เคลื่อนไหวทางการเมืองมายาวนาน โดยวัตถุประสงค์ต้องการเเยกตัวเป็นรัฐเอกราชออกจากสหภาพเมียนมา แต่ด้วยข้อจำ กัดหลายประการทำให้ไม่สามารถทำได้ ดังนั้นอุดม การณ์ที่กลุ่ม KNPP รับได้ในขณะนี้ คือ การเป็นสห พันธรัฐในเมียนมา

ดร.ดุลยภาค กล่าวอีกว่า จากประวัติพบว่าผู้นำที่ผ่านมาของคะเรนี (KNPP) มีหลายคนที่เป็นองค์กรปีกทางการเมืองและปกครองด้านการทหาร เช่น นายพลบีทู แม้จะมีกลุ่ม KNDF มาเคลื่อนไหวหลังเกิดรัฐประหารในปี 2021 เข้าไปแทรกตัวอยู่กับรัฐคะยา กะเหรี่ยงหรือรัฐฉาน แต่ไม่มีจุดยุทธศาสตร์สำคัญ จึงยังต้องอาศัยความช่วยเหลือจากกลุ่มนายพลบีทู เป็นหลัก

ข้อเสนอกลุ่มชาติพันธุ์ปกครองตัวเอง

ในขณะที่ดร.ศิรดา ให้ความเห็นว่า แนวคิดสหพันธรัฐ (Federalism)ที่เสนอโดยรัฐบาลเงา(NUG) เกิดขึ้นตั้งแต่มีประเทศพม่า แม้จะถูกมองว่าเป็นแนวคิดอุดมคติ และเป็นไปไม่ได้ จากการปกครองภายใต้รัฐบาลทหาร ที่พยายามปกครองระบบรวมศูนย์ หรือทำให้ทุกรัฐเป็นพม่า และถูกห้ามไม่ให้พูดถึงแนวคิดนี้ในที่สาธารณะ

จนกระทั่งเกิดการปฎิรูปการเมือง ทำให้มีการพูดถึงรูปแบบการปกครองสหพันธรัฐมากขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถนำไปสู่แนวทางอย่างเป็นทางการได้

ดร.ศิรดา บอกว่า หลังเหตุการณ์รัฐประหาร มีการหยิบ ยกแนวคิดนี้ขึ้นมาอีกครั้งโดย NUG ซึ่งวิธียืนยันว่าแนวคิดดังกล่าวเกิดขึ้นจริงได้ โดยการปกครองพื้นที่ตนเองด้วยใช้ระบบสหพันธรัฐประชาธิปไตย แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลสามารถควบคุมพื้นที่ได้

แต่สุดท้ายแล้ว ทุกกองกำลังมีแนวคิดเป็นของตัวเอง ระหว่างนี้จึงเป็นช่วงการเจรจาเพื่อหาข้อตกลง ว่าสุดท้ายแล้วรูปแบบการเมืองพม่าในอนาคตจะเดินไปในทิศทางไหน

เมียนมายุคเปลี่ยนผ่านส่งผลชายแดนไทย

ดร.ดุลยภาค อธิบายอีกว่า การเมืองของเมียนมาในระยะเปลี่ยนผ่าน ก่อนเกิดรัฐประหารจะมีสภาพคล้ายกับกึ่งสหพันธรัฐ ซึ่งจะมีรัฐบาลและรัฐสภาประจำอยู่ที่เมืองเอกของรัฐกะยา(ลอยกอ) ส่วนผู้นำทางการบริหารจะถูกผลักดันมาจากศูนย์อำนาจที่เนปิดอร์อีกที ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลของนายพลเต็ง เส่ง หรือรัฐบาลที่นำโดย NLD หรือ อองซานซูจี

ดังนั้นหากมีการสู้รบระหว่าง เมียนมาและกลุ่มชาติพันธุ์รัฐกะเหรี่ยงและรัฐกะยา ซึ่งมีกองกำลังติดอาวุธด้วยกันทั้งคู่จะส่งผลกระทบต่อชายแดนไทยและเมียนมา ขณะที่รัฐกะเหรี่ยง KNU ก็มีปีกของกองพลต่างๆ ต่อสู้โจมตีกับทหารเมียนมา และมีกลุ่ม PDF แทรกซึมเข้าไปมีทั้งความร่วมมือและขัดแย้งในบางประเด็น

หลังเหตุรัฐประหารในเมียนมา ดร.ดุลยภาค บอกว่า ตอบไม่ได้ว่ามีกองกำลังติดอาวุธเหลือกี่กลุ่ม แต่KNU จะมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่พร้อมจะเจรจากับรัฐบาลทหาร และกลุ่มหัวรุนแรงไม่เลือกที่จะเจรจานำโดย พล.อ.บอจ่อแฮ ผู้นำทางทหาร KNLA กองพล 5 ที่เคลื่อนไหวกับอยู่ชายแดนไทยด้านป่าสาละวิน จ.แม่ฮ่องสอน ส่วนกลุ่ม KNPP หรือนายพลบีทู ไม่มีอิทธิพลมากนัก เพราะมีกองกำลังขนาดเล็ก

เตือนความมั่นคงไทยเตรียมพร้อมรับมือ

แม้การสู้ระบบระหว่างรัฐบาลเมียนมาและกลุ่มชาติพันธุ์ ในหลายพื้นที่ทำให้กำลังพลของทั้ง 2 ฝ่ายสูญเสียไปไม่น้อย ทำให้พม่าต้องเลือกเปิดแนวรบเฉพาะด้านตะวันตกและตะวันออก แต่ปิดแนวรบทางภาคเหนือ และภาคกลางบางส่วนเอาไว้ รวมทั้งภาคเหนือ เพื่อเตรียมพร้อมกำลังพล การส่งกำลังบำรุง เส้นทางลำเลียงยุทธปัจจัย ขณะที่ค่ายทหารตามจุดยุทธศาสตร์ยังคงเเข็งเรงอยู่

รศ.ดร.ดุลยภาค กล่าวว่า รัฐบาลเมียนมาในยุค นายพลตาน ฉ่วย ซึ่งย้ายเมืองหลวงจากย่างกุ้งไปที่เนปิดอว์ มีการวางโครงข่ายอุโมงค์ใต้ดินเอาไว้ สำหรับเก็บรถถัง อาวุธสงคราม และใช้เป็นที่หลบภัยสำหรับทหาร หากมีการรบภายในประเทศ หรือถ้ามีโจมตีมาจากต่างประเทศก็สามารถรับศึกทางใต้ดินได้ รวมไปถึงการใช้เครื่องมือดักฟังการเคลื่อนไหวของศัตรูผ่านใต้ดิน ซึ่งวิทยาการนี้มีมานานมากกว่า10ปีแล้ว

หน่วยงานด้านความมั่นคงของไทย จะต้อง เตรียมพร้อมกรณีหากเกิดการปะทะระหว่างกองกำลังกะเหรี่ยงและกลุ่มคะยา รวมทั้งต้องจับตาดูความเคลื่อนไหวของกลุ่มชาติ พันธุ์อื่นในเขตรัฐฉาน รัฐมอญ และเขตตะนาวศรีด้วย

ดร.ดุลยภาค กล่าวว่า สำหรับไทยจะต้องคงความสัม พันธ์ระหว่างกรุงเทพและเนปิดอว์ไว้ โดยเฉพาะปัญหาข้อพิพาทแนวเขตแดน ยาเสพติด และการละเมิดอธิป ไตยในกรณีที่มีการสู้รบและส่งผลกระทบต่อไทย

ไทยกำลังจะมีรัฐบาลใหม่ หากเป็นรัฐบาลร่วมระหว่างพรรคก้าวไกลและเพื่อไทย ก็อาจส่งผลให้กลุ่มรัฐบาลเงา หรือรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (NUG) มีเสียงดังขึ้น สามารถเรียกร้องประชาธิปไตยมากขึ้น

ขณะเดียวกันพม่าก็ยังคงมีรัฐบาลรักษาการชุดเดิมอยู่ ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-พม่า ในช่วงนั้นก็คงต้องมีการใช้การทูตแบบเงียบ(Quiet Diplomacy)

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง