จับกระแสการเมือง : 4 ส.ค.2566 กดปุ่ม "ปิดสวิตช์ สว." เส้นทางนี้ ไม่ง่าย

การเมือง
4 ส.ค. 66
15:16
1,034
Logo Thai PBS
จับกระแสการเมือง : 4 ส.ค.2566 กดปุ่ม "ปิดสวิตช์ สว." เส้นทางนี้ ไม่ง่าย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

เหตุการณ์ป่วนสภาวันนี้ (4 ส.ค.) เมื่อ “รังสิมันต์ โรม” ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกลเสนอญัตติโหวตนายกให้โหวต “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์”เป็นนายกรัฐมนตรีซ้ำได้ ทำให้อาจารย์ใหญ่ วันมะหะมัดนอร์ มะทา ต้องใช้ดุลยพินิจ สั่งปิดประชุมส่งผลให้เกิดการเลื่อนโหวตมาตรา 272 เพื่อปิด สว.ยาวออกไปอีก

อ่านข่าว เถียงวุ่น! "วันนอร์" สั่งเลื่อนถกแก้ รธน. มาตรา 272

'ก้าวไกล' เดินหน้า กดปุ่มปิดสวิตช์ สว.

การเดินหน้าปิดสวิตช์ สว.ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้น แต่พรรคก้าวไกลได้พยายามนำเสนอตั้งแต่วันที่ 14 ก.ค.66 หลังจากเมื่อวันที่ 13 ก.ค.ที่ผ่านมา มติที่ประชุมรัฐสภาโหวตนายกฯคนที่ 30 โดยนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกฯ พรรคก้าวไกล ได้คะแนนไม่ถึง 376 เสียง ทำให้ไม่ได้รับการเลือกเป็นนายกฯ

อ่านข่าว รู้จัก "สมชาย แสวงการ" ส.ว.ผู้ค้าน "พิธา" นั่งนายกฯ - พร้อมฟ้องคนบูลลี่ครอบครัว 

รวมถึงในระหว่างนี้ก็มีกระบวนการเคลื่อนไหวในโลกออนไลน์ กับการเปิดเผยธุรกิจ สว.ในโลกออนไลน์ จนทำให้แฮชแท็ก #ธุรกิจสว ติดเทรนด์ทวิตเตอร์อันดับ 1 รวมถึงการประกาศจากร้านอาหารบางแห่งไม่ให้ครอบครัวของ สว.ที่ไม่โหวตให้นายพิธา เป็นนายกฯเข้าใช้บริการ จนนายสมชาย แสวงการ หนึ่งใน สว.ที่ประกาศชัดเจนและไม่โหวตให้นายพิธา เป็นนายกฯ ขู่ที่จะฟ้องดำเนินคดีผู้ที่คุกคามครอบครัว สว.อย่างถึงที่สุด

อ่านข่าว "เสรี" ฟ้อง 2 เกรียนคีย์บอร์ด พรุ่งนี้ - "พรเพชร" ปัดตอบ ส.ว. ถูกล่าแม่มด 

ถกไม่จบ 'ปิดสวิตช์ สว.'

ล่าสุดสายวันนี้ (4ส.ค) หลังเปิดประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาแก้ไข ม.272 พบว่า มีสมาชิกรัฐสภาลงชื่อเข้าร่วมประชุมเพียงแค่ 275 คน คือ สส. 241 คน และ สว. 34 คนหมายความว่า ยังไม่สามารถเปิดการประชุมรัฐสภาได้ เนื่องจากจำนวนสมาชิกรัฐสภายังไม่ถึง 374 คน หรือกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดที่มีอยู่ในตอนนี้ 757 คน

อ่านข่าว ก้าวไกลยื่นแก้ ม.272 ปิดสวิตช์ ส.ว. ย้ำเสนอ "พิธา" รอบ 2 

เวลาล่วงมากว่า 1 ชม.จนสมาชิกครบองค์ประชุมเกิน 376 เสียง ซึ่งส่วนใหญ่เป็น สส.กว่า 330 เสียง ขณะที่ สว.มีจำนวน 62 เสียง แต่เมื่อนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เปิดการประชุม นายรังสิมันต์ โรม สส.พรรคก้าวไกล ได้เสนอญัตติด่วนให้ทบทวนมติเสนอชื่อนายกฯของรัฐสภาเมื่อวันที่ 19 ก.ค.ที่เป็นปัญหาว่าชื่อของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สามารถเสนอซ้ำได้หรือไม่ จนนำไปสู่การถกเถียงกัน เนื่องจากบาง สส.และ สว.บางส่วนต้องการรอผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 16 ส.ค.นี้

เป็นเหตุให้ เมื่อเวลา 11.27 น.ประธานสภาฯได้สั่งเลื่อนการประชุม แก้ไข ม.272 ออกไป จึงทำให้ยังไม่ได้พิจารณา "ปิดสวิตช์" ได้

ถกแก้ รธน.ม.272 แท้งรวด 6 ครั้ง 

อย่างไรก็ตาม ในการเสนอแก้ไข ม.272 โดยพรรคก้าวไกล ไม่ใช่ครั้งแรก หากแต่การเสนอแก้ไข ม.272 โดยพรรคการเมืองและภาคประชาชนทั้ง 6 ครั้ง ก่อนหน้านี้ต่างก็ไม่เป็นผลสำเร็จ โดยครั้งที่ 1 เสนอโดยพรรคร่วมฝ่ายค้านเสนอ โดยได้เสียงสนับสนุนจาก สว.จำนวน 56 เสียง

อ่านข่าว "ชัยธวัช" ย้ำ 8 พรรคจับมือแน่น พท. ไม่ขัดข้องแก้ ม.272 

ครั้งที่ 2 เสนอโดยภาคประชาชน คือ ilaw ซึ่งก็ได้เสียงสนับสนุนจาก สว.จำนวน 3 เสียง, ครั้งที่ 3 พรรคร่วมฝ่ายค้านเสนอ ในปี 2564 โดยครั้งนั้นได้เสียงสนับสนุนจาก สว.จำนวน 15 เสียง และ ครั้งที่ 4 พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคภูมิใจไทย (พรรคร่วมรัฐบาล ในขณะนั้น) ร่วมกันเสนอ ซึ่งก็ได้เสียงสนับสนุนจาก สว.จำนวน 21 เสียง

อ่านข่าว ที่ใครบอกว่าจะ "ปิดสวิตช์ ส.ว." ทำได้จริงหรือ? 

ครั้งที่ 5 นายพริษฐ์ วัชรสินธุ เสนอในนามกลุ่ม Resolution ได้เสียงสนับสนุนจาก สว.จำนวน 3 เสียง และครั้งที่ 6 เสนอโดยนายสมชัย ศรีสุทธิยากร เสนอโดยภาคประชาชน ได้เสียงสนับสนุนจาก ส.ว.จำนวน 23 เสียง

จนล่าสุดในวันนี้ ถือเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม.272 หรือ ปิดสวิตช์ สว.ครั้งที่ 7 ซึ่งก็ยังไม่สำเร็จและได้ถูกเลื่อนการพิจารณาออกไปอีกครั้ง

'อนุทิน' ชี้ ปิดสวิตช์ สว.ทุกฝ่ายต้องร่วมกัน

ขณะที่ในมุมของ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ที่กล่าวถึงการแก้ไข ม.272 ว่า เสนอญัตติว่ามาตรานี้จะจบลงไปเองเพราะกว่าการจะแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเสร็จสิ้น ก็ใกล้ถึงวันที่ สว.หมดอำนาจในการโหวตเลือกนายกฯ หรือในช่วงอีก 10 เดือนข้างหน้าหรือในปี 67

แต่ก็ยังเป็นการยาก เพราะการแก้ไขดังกล่าวต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ทั้งรัฐบาล ฝ่ายค้าน และภาคประชาชน โดยเฉพาะการมี สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ซึ่งเป็นตัวแทนที่ผ่านการเลือกภาคประชาชนจึงจะดีที่สุด

อย่างไรก็ตาม ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญในอนาคตหาก พรรคเพื่อไทย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดตั้งรัฐบาลสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ ก็อาจจะมีความหวังตามที่นายภูมิธรรม เวชยชัย รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ที่เปิดเผยถึงภารกิจแรกในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยหลังจากประชุม คณะรัฐมนตรีครั้งแรก จะออกมติจัดตั้ง ส.ส.ร.เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้สำเร็จต่อไป

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

รัฐสภาถก ปิดสวิตช์ สว. รัฐธรรมนูญ มาตรา 272 คืออะไร ทำไมต้องแก้    

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง