เกาะติด โหวตนายกรอบ 3 วันอังคารที่ 22 ส.ค. 66
วันนี้ (22 ส.ค.66) นายชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล กล่าวอภิปรายก่อนการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีโดยระบุว่า ในการโหวต สส.พรรคก้าวไกลไม่สามารถเห็นชอบได้ ไม่ใช่เพราะไม่รู้จักหรือไม่มีข้อมูล เชื่อว่า พี่น้องประชาชนได้รับทราบข้อมูลครบถ้วนแล้วตั้งแต่วันเลือกตั้ง และได้ใช้วิจารณญาณตั้งแต่วันเลือกตั้งแล้ว
อ่านข่าว โหวตนายกฯ รอบ 3 : "วันนอร์" ฉุน สส.ก้าวไกล กล่าวหาวางตัวไม่เป็นกลาง
สาเหตุที่ สส.พรรคก้าวไกล ไม่โหวตนั้น ไม่ใช่เรื่องคุณสมบัติ อย่างที่มีการกล่าวหากัน ตามที่มีการส่งเอกสารในวันนี้ ซึ่งเหตุผลที่ พรรคก้าวไกลไม่สามารถโหวตได้เพราะเห็นว่า การจัดตั้งรัฐบาลขณะนี้ขัดต่อเจตจำนงของประชาชนที่ได้แสดงออกไปแล้วในวันที่ 14 พ.ค.66 ว่าประชาชนส่วนใหญ่ต้องการยุติการเมืองที่สืบทอดอำนาจจาก คสช.
อ่านข่าว โหวตนายกรอบ 3 : "เสรี" รับยังคาใจคุณสมบัติ "เศรษฐา" หลัง "ชูวิทย์" แฉ
รวมถึงยังเห็นว่า การจัดตั้งขณะนี้ไม่ใช่การพยายามสลายขั้วความขัดแย้งให้ประเทศเดินหน้าต่อไป ต่อเป็นการต่อลมหายใจที่ระบอบคสช.ที่วางไว้และให้ดำเนินสืบไป
หลายคนบอกว่า การจักตั้งรัฐบาลพิเศษนี้มีเป็นความจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และจำเป็นต้องกลืนเลือดโดยมีสาระของประเทศและประชาชนเป็นตัวตั้งและอะไร คือ ราคาและต้นทุนที่สังคมไทยต้องจ่ายบ้างกับการตั้งรับาลแบบพิเศษ ซึ่งมี 3 ข้อคือ
1.ราคาที่ประชาชนต้องจ่าย คือ ความหวัง วันเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พ.ค.เคยเป็นความหวัง ที่จะช่วยให้ผ่านมรดกรัฐบาลรัญประหารได้โดยสันติ และเดินไปสู่อนาคต ไม่ใช่เดินไปสู่อดีต
2.ราคา ที่ประชาชนต้องจ่าย คือ อำนาจ ซึ่งประชาชนเคยเชื่อว่า ระบอบประชาธิปไตย คืออำนาจของประชาชน แต่เมื่อไปใช้อำนาจของตนเองในการเลือกตั้ง ปรากฎว่า การจัดตังรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง เป็นการจัดตั้งรัฐบาลแบบพิเศษที่อนุญาตให้ประชาชนออกไปใช้สิทธิได้พอเป็นพิธี แต่ไม่มีวันยอมให้อำนาจเป็นของประชาชนจริง ๆ
อ่านข่าว โหวตนายกรอบ 3 : สส.ก้าวไกล รับไม้ต่อข้อมูล "เศรษฐา" ก่อนโหวตนายกฯ
3.ความศรัทธา คือราคาที่ประชาชนต้องจ่าย ทำให้เราเสียต้นทุนทางสังคมที่สำคัญ คือ ความศรัทธาในระบบรัฐสภา และระบอบประชาธิปไตย เมื่อประชาชนหมดศรัทธาย่อมเป็นสัญญาณอันตรายต่อการเมืองของเราในอนาคต
นายชัยธวัช ยังกล่าวว่า อยากฝากความหวังดีไปยังสมาชิกรัฐสภาทุกท่านว่า หัวใจของปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา คือ การขัดแย้งระหว่างอำนาจของประชาชนที่แสดงออกจากการเลือกตั้งกับอำนาจที่ไม่ได้มาจากประชาชน
วันนี้เรายังหาทางออกจากการเมืองนี้ยังไม่ได้ และทางออกจากการเมืองนี้ไม่ใช่การสลายขั้วความขัดแย้งอย่างผิวเผินโดยการจัดตั้งรัฐบาลข้ามขั้ว แต่คือ ระบบที่จะเป็นฉันทามติใหม่ที่อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน ตราบใดที่ยังสยบยอม หรือต่อลมหายใจกับระบบประชาธิปไตยที่ตอบไมได้ว่า ประชาชนอยู่ตรงไหนในระบบนี้ เราไม่มีทางหาทางออกหรือสลายความขัดแย้งนี้ได้
ดังนั้น จึงสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดความขัดแย้งรุนแรงในอนาคต นี่คือความหวังดีที่อยากจะเรียนฝากไปยังสมาชิกทุกคนว่า เราไม่อยากเห็นอนาคตแบบนี้
อ่านข่าว "ก้าวไกล" มีมติโหวต "ไม่เห็นชอบ" ให้ " เศรษฐา" เป็นนายกฯ
นายชัยธวัช ยังกล่าวว่า สุดท้ายอยากเรียนฝากท่านประธานรัฐสภาไปยังประชาชนทุกคน ซึ่งแน่นอนทราบดีว่า ประชาชนนับล้านคนกำลังผิดหวัง กำลังโกรธ หรือคับข้องใจกับการเมืองที่เกิดขึ้น แต่อยากเรียนว่า การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาได้สะท้อนแล้วว่าสังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว แต่ยังเปลี่ยนไม่มากพอ
ดังนั้นแม้ท่านจะไม่พอใจ ผิดหวัง คับข้องใจ ขออย่าหันหลังให้การเมือง ต้องช่วยกัน คนละไม้คนละมือ เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองและเปลี่ยนแปลงมันให้ได้ ทำให้การเมืองของเราทำให้ระบอบประชาธิปไตยของเราเป็นประชาธิปไตยจริง ทำให้อำนาจสูงสุดของประเทศนี้เป็นของประชาชนจริง ๆ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
โหวตนายกรอบ 3 : "เสรี" รับยังคาใจคุณสมบัติ "เศรษฐา" หลัง "ชูวิทย์" แฉ
โหวตนายกฯ รอบ 3 : "วันนอร์" ฉุน สส.ก้าวไกล กล่าวหาวางตัวไม่เป็นกลาง
โหวตนายกรอบ 3 : สส.ก้าวไกล รับไม้ต่อข้อมูล "เศรษฐา" ก่อนโหวตนายกฯ