พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษวันพ่อ อาจรวมถึง
การขอพระราชทานอภัยโทษจากกรรมการบริหารสภาทนายความ ชี้แจงว่ามี 2 ลักษณะด้วยกัน คือการขอพระราชทานอภัยโทษเฉพาะบุคคล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และ การขอพระราชทานอภัยโทษหมู่ โดยคณะรัฐมนตรีออกเป็นพระราชกฤษฎีกา
การออกเป็นพระราชกฤษฎีกาในอดีตเทียบเคียงแล้วเห็นหลักการณ์ที่สอดคล้องกัน คือ การอภัยโทษให้ผู้ที่มีตัวอยู่ในการควบคุม,ผู้ที่ถูกกังขัง,ผู้ที่กำลังให้บริการสังคม,ผู้ที่ถูกคุมประพฤติ,ผู้พิการทุพลภาพหรือเป็นโรคร้ายแรง,หญิงมีครรภ์,เด็กและนักโทษชั้นเยี่ยม แต่กรรมการบริหารสภาทนายความ ยอมรับว่า มีข้อยกเว้นเช่นกัน
นายวันชัย สอนศิริ ยอมรับว่า คดีทุจริตซื้อที่ดินรัชดาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้าหลักเกณฑ์ในอดีต และ หากร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับใหม่ที่คาดการณ์ว่าจะออกมาในเดือนธันวาคมนี้ใกล้เคียงกับอดีตจะทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณได้รับพระราชทานอภัยโทษไปด้วย
ในอดีตพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ มาตรา 4 ระบุว่า ผู้ซึ่งจะได้รับพระราชทานอภัยโทษจะต้องมีตัวอยู่ในการควบคุมของทางราชการจนถึงวันที่มีผลบังคับใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนั้น ๆ นั่นอาจหมายถึงโอกาสพิเศษของประเทศเนื่องด้วยวันพ่อของแผ่นดินในเดือนธันวาคมนี้ และอาจหมายถึงวันที่ใกล้เคียงกับการเดินทางกลับเข้าประเทศเพื่อรับโทษของ พ.ต.ท.ทักษิณ เช่นกัน