ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

24 ปีบนเส้นทางอนุรักษ์ "ภานุเดช เกิดมะลิ" ปธ.มูลนิธิสืบนาคะเสถียรคนใหม่

สิ่งแวดล้อม
30 ส.ค. 66
12:45
1,411
Logo Thai PBS
24 ปีบนเส้นทางอนุรักษ์ "ภานุเดช เกิดมะลิ" ปธ.มูลนิธิสืบนาคะเสถียรคนใหม่
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"ภานุเดช เกิดมะลิ" GEN 4 นั่งประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ก้าวข้ามสู่การเปลี่ยนผ่าน 33 ปีการจากไปของสืบ นาคะเสถียร ชี้โจทย์หินเดินหน้าปกป้องป่าพ้นเขื่อน ฟื้นฟูประชากรควายป่า-พญาแร้ง ฝากการบ้าน ทส.ต้องกล้าเปลี่ยนอย่าบริหารแบบใช้บารมี

1 ก.ย.นี้ เป็นวันครบรอบ 33 ปีการจากไปของสืบ นาคะเสถียร อดีตหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เจ้าของวลี "ขอพูดในนามของสัตว์ป่า เพราะพวกเขาพูดเพื่อตัวเองไม่ได้"

เจตนารมณ์ของ สืบ นาคะเสถียร ที่พลิกบทบาทจากข้าราชการ สู่นักอนุรักษ์ และส่งเสียงเรียกร้องแทนสัตว์ป่า กับหลายโครงการที่ทำลายสิ่งแวดล้อมเมื่อราว 30 ปี ก่อนถูกสานต่อส่งผ่านมารุ่นต่อรุ่นในนามของ "มูลนิธิสืบนาคะเสถียร" 

ไทยพีบีเอสออนไลน์ พูดคุยกับ ภานุเดช เกิดมะลิ หรือบอย ผู้รับไม้ต่อ GEN 4 สานต่อหน้าที่ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร คนล่าสุด

ลงพื้นที่เดินป่า เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ชื่นชอบ

ลงพื้นที่เดินป่า เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ชื่นชอบ

ลงพื้นที่เดินป่า เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ชื่นชอบ

นักเดินป่า-นักกิจกรรมจุดเริ่มต้นสายกรีน

นิยามห้วยขาแข้ง ในมุมมองของผม ยังมองว่าคือบ้านของสัตว์ป่า ยังคงเป็นแบบนี้อยู่ แม้จะผ่านมา 33 ปี นับจากที่ก้าวมาทำงานที่นี่

ภานุเดช ไม่ได้เรียนจบสายสิ่งแวดล้อม หรือวนศาสตร์โดยตรง แต่จบปริญญาตรี ที่คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียว เมื่อปี 2538 ชีวิตไม่พลิกผัน แต่เพราะความสนใจส่วนตัว ชอบเดินป่า ชอบธรรมชาติ ออกค่ายและไปทำงานเชิงพื้นที่ตั้งแต่ยังเรียน

หลังเรียนจบปริญญาตรี ก้าวมาทำงานแห่งแรกที่ "ตาวิเศษ" อยู่ 2 ปี จากนั้นได้เริ่มเข้ามาเป็นอาสาสมัครทำงานภาคสนามกับมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ด้วยการเข้ามาช่วยในเรื่องการอบรมเจ้าหน้าที่ กิจกรรมฝึกอบรมเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี ต้องเข้าออกป่าห้วยขาแข้งคราวละ 15 วัน ทำแบบนี้อยู่ 2 ปี

ลงพื้นที่ทำงานภาคสนามกับทีม

ลงพื้นที่ทำงานภาคสนามกับทีม

ลงพื้นที่ทำงานภาคสนามกับทีม

กระทั่งทางมูลนิธิสืบฯ เปิดรับเจ้าหน้าที่จึงสมัครและได้บรรจุเป็นเจ้าหน้าที่มูลนิธิสืบนาคะเสถียรในปี 2542 ในช่วงที่นายวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ เป็นเลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร แต่เนื้องานยังคงเน้นทำงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผ่านโครงการจัดการผืนป่าตะวันตก (JOMPA) มาเป็นเจ้าหน้าที่ประสานงานของกรมป่าไม้ มาอยู่ 5 ปี จากนั้นปี 2552 ขยับมาเป็นผู้จัดการโครงการพื้นที่คุ้มครอง 

กระทั่งปี 2556 อาจารย์ศศิน เฉลิมลาภ อดีตประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ภานุเดช ได้มีโอกาสมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมเดินป่าแม่วงก์ เพื่อคัดค้านเขื่อนแม่วงก์และมีการเปลี่ยนผ่านตำแหน่งครั้งสำคัญ โดยปี 2558 ได้รับคัดเลือกจากกรรมการฯ มอบหมายให้เป็นเลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร

ล่าสุดเมื่อสัปดาห์ก่อน ภานุเดช ได้รับมอบหมายเป็นประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร คนที่ 4 นับตั้งแต่การก่อตั้งมูลนิธิมา 33 ปี ซึ่งมีอาจารย์รตยา รตยา จันทรเทียร อาจารย์สุรพล สุดารา และอาจารย์ศศิน เป็นผู้บุกเบิกการทำงานแทนพี่สืบ 

อ่านข่าว 1 ก.ย.วัน "สืบ นาคะเสถียร" ร่วมรำลึกการเสียสละชีวิตเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ

ร่วมเสวนางานด้านสัตว์ป่า

ร่วมเสวนางานด้านสัตว์ป่า

ร่วมเสวนางานด้านสัตว์ป่า

อนาคตก้าวสู่ปีที่ 34 เขื่อน-ฟื้นฟูสัตว์ป่า

ภานุเดช บอกว่า โอกาสในการรับตำแหน่งในปี 2566 ช่วงแรกที่ต้องเร่งทำคือการจัดตั้งกรรมการชุดใหม่ที่หมดวาระทำงาน และระหว่างนี้ งานการขับเคลื่อนงานที่ให้ความสำคัญมากๆ คือโครงการเขื่อนในหลายพื้นที่ มีความพยายามปัดฝุ่นในหลายพื้นที่ทั้งเขื่อนแม่วงก์ จ.นครสวรรค์ เขื่อนวังโตนด เขื่อนรอบป่าเขาใหญ่ ที่ต้องเฝ้าระวังอย่างมาก

เนื้องานที่ให้ความสำคัญในระยะหลัง เน้นการฟื้นฟูสัตว์ป่าหายากใกล้สูญพันธุ์ เช่น กวางผา เสือปลา พญาแร้ง เป็นงานวิชาการที่ร่วมกับหลายหน่วยงาน และจะเพิ่มในปีนี้คือควายป่าฝูงสุดท้าย 40 ที่ห้วยขาแข้ง

ภานุเดช บอกอีกว่า อีกภารกิจหนึ่งคือการกลับมาทำงานในผืนป่าตะวันตกให้มากขึ้น ที่ผ่านมามีหลายงานที่มูลนิธิสืบฯ ขยับตัวออกไปขับเคลื่อนทั้ง พ.ร.บ.ป่าไม้ อุทยาน ทำให้ตัวงานหลักของมูลนิธิสืบฯที่ขับเคลื่อนมาหลายสิบปี เน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วมกับผืนป่าตะวันตกลดบทบาทลง

ภารกิจที่ควรกลับไปทำงานในพื้นที่ป่าตะวันตก และกลุ่มป่ามรดกโลก เพื่อพัฒนางานเชิงรุก และมีหลายโครงการที่ต้องการผลักดันให้ รูปธรรมที่ต้องผลักดันต่อ 
พญาแร้ง หนึ่งในสัตว์ป่าที่มูลนิธิสืบฯ มีแผนฟื้นฟู

พญาแร้ง หนึ่งในสัตว์ป่าที่มูลนิธิสืบฯ มีแผนฟื้นฟู

พญาแร้ง หนึ่งในสัตว์ป่าที่มูลนิธิสืบฯ มีแผนฟื้นฟู

ความประทับใจทำงานกับมูลนิธิสืบ 

เมื่อถามว่าทำงานมากว่า 20 ปีอะไรที่รู้สึกประทับใจ ประธานมูลนิธิสืบฯ คนใหม่ บอกว่า ความประทับใจ คือการได้เข้ามาร่วมงาน ตั้งแต่ยุคบุกเบิกของมูลนิธิสืบฯ ได้มีโอกาสได้เข้าป่า เดินป่าได้ทำงานกับผู้พิทักษป่า ทำให้รู้พื้นฐานการอนุรักษ์ และมื่อทำงานเชิงรุกกับสถานการณ์ที่คุกคามผืนป่า เช่น การคัดค้านเขื่อนหลายแห่ง ทำให้เห็นการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าแต่ละชุมชน เรียกว่าสามารถประยุกต์การเรียนสังคมสงเคราะห์มาใช้

งานที่ประทับใจคือ ทำงานมีส่วนร่วม ทำงานกับชุมชน ชาวบ้าน เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า นอนในป่า จนสามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งในป่าตะวันตกให้คลี่คลายลง เรียกว่าชีวิตคุ้มค่าที่ได้ทำงานนี้

"สืบ" ไม่ใช่แค่เป็นไอดอล

ตอนนั้นผมยังเป็นนักเรียน ม.ปลายอยู่ สิ่งที่นำจากคุณสืบ มาปรับใช้ คือตัวเรา เพราะเป็นคนที่ไม่ค่อยชอบโดดเด่น มุ่งทำงานมากกว่า และอีกอย่างคือเรื่องความตั้งใจ ทำอะไรจะทุ่มเทและทำมาตลอด

ภานุเดช ย้ำว่า สำหรับช่วง 33 ปีที่คุณสืบจากไป กำลังเปลี่ยนผ่าน เด็กรุ่นใหม่ที่ไม่ได้มีพื้นเพ และร่วมสมัยกับคุณสืบ รับรู้เรื่องของสืบจากสื่อ และศึกษาหรือรู้จักมูลนิธิสืบฯ มากกว่าตัวคุณสืบ

จากนี้จะก้าวข้ามให้พูดถึงสืบฯ ในมิติเดิมเป็นเรื่องยาก แต่การทำให้มูลนิธิสืบให้เป็นองค์กรที่สานต่อเจตนารมณ์ แบบที่เรียกเวลานึกถึงป่าไม้ สัตว์ป่าให้นึกถึงมูลนิธิสืบฯ เป็นภาพจำตัวองค์กร ต้องพัฒนาตัวเองให้เป็นองค์กรหลัก

ไม่ถึงขั้นรีแบรนด์มูลนิธิสืบฯ เราเคยรีแบรนด์มาแล้วเมื่อ 10 ปี แต่อาจจะปรับตัวตนให้ทันสมัย เพราะต้องทำงานกับคนรุ่นใหม่ ต้องเรียนรู้ ตัวต้องพัฒนา
ทำเนียบประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียรคนที่ 1-3

ทำเนียบประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียรคนที่ 1-3

ทำเนียบประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียรคนที่ 1-3

ฝากการบ้าน รมว.ทส.คนใหม่

ประธานมูลนิธิสืบฯ คนใหม่ ยอมรับว่าห่วงการจัดสรรผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งรมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) คนใหม่ เดิมเคยมีแผนจะนำข้อมูลไปพูดคุยกัน เพราะมีโจทย์ 2-3 เรื่องที่อยากฝากถึงรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม ทั้งเรื่องการบริหารงานของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ตั้งแต่ยุคอธิบดีคนก่อนที่มีปัญหาความไม่โปร่งใส และอยากให้จัดสรรตำแหน่งสอดคล้องกับคนและงาน  

สถานการณ์สิ่งแวดล้อม ไม่สามารถแก้ด้วยวิธีเดิม ต้องมองอะไรใหม่ เป็นคนที่กล้าตัดสินใจ กล้าเปลี่ยนแปลงในการทำงาน ถ้าเอาคนรุ่นเก่ามาแก้ปัญหาแบบเก่า ก็ทำงานไม่ได้ทั้งเนื้องาน และเชิงนโยาย

คนที่มาเป็นรัฐมนตรี น่าจะเชื่อมต่อสถานการณ์โลกมาสู่ประเทศไทย และคนที่มองเชิงรุกได้ ดังนั้นห่วงว่าเป็นคนรุ่นเก่าเดิม พูดน้อย ใช้บารมี อาจไม่ได้แล้ว อยากให้มีได้รีแบนด์ตัวองค์กร และมียุทธศาสตร์การทำงาน ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลง เพราะถ้าสิ่งแวดล้อมดี คุณภาพชีวิตดีคนในประเทศก็จะดี 

ถ้ามาขอให้ตั้งใจมาทำงาน อย่ามาเอาผลประโยชน์ กลัวว่าหากเป็นไปตามชื่อ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ จะสานต่องานของพี่ ผลักดันโครงการเขื่อน ส่วนตัวมองว่ามันเชยแล้ว ถ้าเอาโครงการเก่า 20-30 ปีมาปัดฝุ่นผลักดัน และเป็นโจทย์ใหญ่ที่มูลนิธิสืบฯ เฝ้าระวัง และเตรียมทำงข้อมูลวิชาการตั้งรับ

ทั้งนี้ ภานุเดช บอกว่า ถ้าดูจากโปรเจ็กต์น้ำ และเขื่อนมีทั่วประเทศ แต่ยังมีข้อดี ที่คนในพื้นที่เริ่มลุกขึ้นมาต่อสู้ เช่น คลองมะเดื่อที่ป่าเขาใหญ่ คนในพื้นที่ต่อสู้ด้วย แต่ถ้ารัฐบาลยังเดินหน้าจะผลักดัน ยอมรับว่ากังวล อีกทั้งยังได้ข่าวมีความพยายามที่จะผลักดันกระทรวงน้ำขึ้นมาอีกครั้ง

ถ้าโจทย์กระทรวงน้ำมา รัฐบาลอาจใช้เป็นธง เพื่อผลักดันโครงการเมกะโปรเจ็กต์ให้เกิดขึ้นได้

อ่านข่าว

“พญาแร้ง" ฮันนีมูนกลางป่าห้วยขาแข้ง รอลุ้นลูกตัวแรก 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง