หลังเปิดใช้งานอุโมงค์ทางเชื่อมป่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่-อุทยานแห่งชาติทับลาน ตั้งแต่พ.ศ.2562 พบสัตว์ป่าใช้ประโยชน์เดินข้ามหากินทั้งทางลอดใต้สะพาน และบนอุโมงค์จำนวนมาก เช่น ช้าง กระทิง หมูป่า เก้ง กวาง ชะมดเช็ด และเม่น รวมทั้งสัตว์กินเนื้อ เช่น หมาใน หมาจิ้งจอก แมวดาว และเสือลายเมฆ
ทั้ง 2 โครงการ คือ สะพานเชื่อมป่า เรียกว่า Under Pass และอุโมงค์ลอดป่า เรียก Over Pass อยู่ในช่วง กม. 41-57 ของถนนทางหลวงหมายเลข 304 กบินทร์บุรี-ปักธงชัย
เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติทับลานพาสำรวจรอยตีนสัตว์ป่า
นายประวัติศาสตร์ จันทร์เทพ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติทับลาน บอกว่า นักวิจัยและเจ้าหน้าที่อุทยานฯ เก็บสถิติต่อเนื่องทุก 3 เดือน ด้วยกล้องดักถ่ายสัตว์ป่า พบสัตว์ป่าวนเวียนข้ามไปมาหลายชนิดมากกว่า 100 ตัวต่อรอบการเก็บข้อมูล
ทำให้มีความหวังเรื่องการย้ายถิ่น ขยายพื้นที่หากินของเสือโคร่งจากป่าทับลาน-ปางสีดา ที่มีกว่า 30 ตัว ไปยังป่าเขาใหญ่บ้าง ซึ่งไม่พบรายงานเสือโคร่งหากินในป่าเขาใหญ่มาแล้วกว่า 20 ปี
อ่านข่าว สำรวจ "รอยเสือโคร่ง" ป่ามรดกโลกทับลาน ก่อนผุดอ่างคลองวังมืด
อุโมงค์เชื่อมป่ามรดกโลกทับลาน-เขาใหญ่
โดยรอยตีนเสือโคร่งล่าสุด จากข้อมูลของทีมวิจัยจากทับลาน ร่วมกับ WCS พบอยู่บริเวณคลองวังมืด อช.ทับลาน เมื่อปี 2564 ห่างจากทางเชื่อมป่าเขาใหญ่-ทับลาน ประมาณ 2 กม. อนาคตจึงเป็นไปได้สูงที่เสือโคร่งจะขยายพื้นที่ข้ามไปยังเขาใหญ่
พบรอยตีนเสือโคร่งขนาดอุ้งตีนกว้าง 9 ซม. ยาว 12 ซม และกว้าง 12 ซม.อยู่ห่างจากทางเชื่อมผืนป่าประมาณ 1 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากบริเวณที่ทำการศึกษาอ่างเก็บน้ำคลองวังมืด 2 กิโลเมตร
พบรอยตีนสัตว์ป่าจำนวนมากเข้ามาหากินบนอุโมงค์เชื่อมป่า
ระหว่างการเฝ้ารอการข้ามถิ่นหากินของเสือโคร่ง อุทยานแห่งชาติทับลาน กำลังเสนอแผนโครงการสร้างรั้วบังคับเส้นทางเดินของสัตว์ป่า หรือ Guide fence ที่ปิดกั้นเส้นทางสัตว์ป่าออกนอกเส้นทาง หรือเดินข้ามถนนจนเกิดอุบัติเหตุถูกรถชนตายอย่างที่ผ่านมา
อ่านข่าว
24 ปีบนเส้นทางอนุรักษ์ "ภานุเดช เกิดมะลิ" ปธ.มูลนิธิสืบนาคะเสถียรคนใหม่
1 ก.ย. "วันสืบ นาคะเสถียร" ร่วมรำลึกการเสียสละชีวิตเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ